แม้ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ทำให้หลายครอบครัวหลายชีวิตต้องประสบปัญหาเดือดร้อนแสนสาหัส แต่ก็ยังมีเรื่องราวดีๆเกิดขึ้นในสังคมไทยอย่างต่อเนื่อง ได้เห็นถึงการช่วยเหลือแบ่งปันน้ำใจให้แก่กัน โดยเฉพาะเมื่อหลายเดือนก่อนชาวบ้านในหลายชุมชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดและภัยแล้ง ไม่มีงานไม่มีเงิน ขาดรายได้ในการดำเนินชีวิต ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน) หรือ SACICT ได้เข้าไปส่งเสริมให้ครูช่างศิลปหัตถกรรมในท้องถิ่นต่างๆ เป็นผู้นำชุมชนในการให้ชาวบ้านเหล่านั้น
ได้น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในงานด้านศิลปาชีพและงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้าน มาเป็นแสงสว่างนำทางให้ชีวิตกลับมาสดใสได้อีกครั้ง
ผ่านโครงการ “หน้ากากจากหัวใจชุมชน” ที่ขยายไปยังชุมชนต่างๆ ทั่วประเทศ และที่น่าชื่นใจคือได้รับการสนับสนุนด้วยน้ำใจอันยิ่งใหญ่จากคนไทยทั่วประเทศ ทำให้ชาวบ้านยิ้มได้เกิดกำลังใจในการสู้ชีวิตต่อไปภายใต้สถานการณ์ผลกระทบอันเลวร้ายทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน พรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ นายพรพล เอกอรรถพร ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า น่าดีใจที่โครงการ“หน้ากากจากหัวใจชุมชน” ได้รับน้ำใจที่ยิ่งใหญ่จากคนไทยช่วยสนับสนุนต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีชาวบ้านร่วมโครงการกว่า 500 ราย สามารถสร้างรายได้ให้แก่ชุมชนเพิ่มขึ้นเฉลี่ยครัวเรือนละประมาณ 8,000 บาทต่อเดือน ซึ่งจะได้ขยายชุมชนออกไปทั่วประเทศ เพื่อช่วยต่อลมหายใจให้ชุมชนได้สามารถก้าวเดินต่อไปในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ภารดี วงศ์ศรีจันทร์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2555 ภารดี วงศ์ศรีจันทร์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2555 จ.สุพรรบุรี กล่าวว่า “ปกติทำงานศิลปหัตถกรรมอยู่แล้ว เป็นงานด้นมือทำเป็นเครื่องนอน ทั้งผ้าห่ม ผ้าปูเตียง ผ้าคลุม หมอนอิงต่าง ๆ แต่เมื่อโควิดมา ทุกอย่างนิ่งไปหมดไม่มีออร์เดอร์เลยแม้แต่รายเดียว เดือดร้อนกันมากค่ะ พอ SACICT เข้ามาส่งเสริมเรื่องแนวพระราชดำริในสมเด็จพระพันปีหลวงเข้ามา ทำให้ครูเองและชาวบ้านได้เข้าใจและนำแนวทางศิลปาชีพมาทำหน้ากากทางเลือก โดยนำผ้าฝ้ายของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯมาผลิตเป็นหน้ากากพิมพ์และเขียนลายจากครามธรรมชาติ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดีมาก มียอดเข้ามาจนผลิตไม่ทัน เกิดการรวมกลุ่มกันของชาวบ้าน ขยายไปสู่ชุมชนรอบข้างมากขึ้นเพราะตอนนี้ทุกคนก็หยุดอยู่บ้านกันมาหารายได้เพิ่มตรงนี้ ทำให้ชาวบ้านยิ้มออกค่ะ” สุภาณี ภูแล่นกี่ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2556 ด้าน สุภาณี ภูแล่นกี่ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2556 จ.ขอนแก่น เล่าว่า “เราทำอาชีพทอผ้าขายผ้ามานานตั้งแต่รุ่นปู่รุ่นย่า สำหรับลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ของบ้านหัวฝาย คือ ลายหมากบก และหมากจับ ผ้าทุกผืนมีลวดลายละเอียด ประณีต สีสันสวยงาม SACICT เข้ามาส่งเสริมให้เราภาคภูมิใจในความเป็นไทยและการเป็นส่วนหนึ่งที่ของการสืบทอดงานศิลปาชีพและหัตถกรรมไทยให้อยู่คู่คนไทย ยิ่งตอนโควิดระบาด SACICT มาสนับสนุนให้เปลี่ยนรูปแบบจากการทอผ้าผืนขายมาเป็นการทำหน้ากากผ้าไหมแต้มหมี่ ซึ่งน่าดีใจมากว่าพอทำออกมาขาย ผู้บริโภคชอบมากสั่งซื้อเราจนผลิตแทบไม่ทัน ต้องขอบคุณคนไทยที่ไม่ทิ้งกัน ช่วยให้ชาวบ้านเดือดร้อนมีรายได้เลี้ยงชีพในยามลำบาก ต้องขอบคุณมากๆค่ะ” ธนินทร์ธร รักษาวงศ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2556 ขณะที่ ธนินทร์ธร รักษาวงศ์ ครูช่างศิลปหัตถกรรมปี 2556 จ.กระบี่ กล่าวว่า “ภาคใต้เองก็ได้รับผลกระทบจากโควิดรุนแรง กระบี่ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวแต่หลายเดือนที่ผ่านมาไม่มีนักท่องเที่ยวเลย เศรษฐกิจท้องถิ่นหยุดชะงักหมด ชาวบ้านลำบากไม่มีงานทำไม่มีรายได้ แต่ภายใต้ความเดือดร้อนนี้เองที่ทั้งตัวครูเองและชาวบ้านได้เห็นความหวังเมื่อ SACICT ได้นำแนวทางศิลปาชีพและหัตถกรรมท้องถิ่นมาให้เราได้ทำงาน เปลี่ยนจากการทำผ้าบาติกขายนักท่องเที่ยว มาเป็นการทำหน้ากากทางเลือก โดยใช้ภูมิปัญญาการทำผ้าบาติกลวดลายและสีสันจากธรรมชาติมาออกแบบ ซึ่งกลุ่มเป้าหมายของเรากลายเป็นคนไทยจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศที่ได้เข้ามาช่วยซื้อช่วยสนับสนุน ครูน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ขณะเดียวกันก็ซาบซึ้งในน้ำใจคนไทยทุกคนค่ะ ทั้งนี้ขอเชิญชวนคนไทยร่วมแบ่งปันความรู้สึกดีๆ ด้วยการสั่งซื้อหน้ากากแห่งความสุขนี้ได้ที่ แอพลิเคชั่น SACICT Shop ทั้งระบบ IOS และ Android หรือโทร. 1289