“เกษตรกรอีสานล้านนา” ผันเปลี่ยนเป็นหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” วันนี้ (1 มิถุนายน 2563) ณ อาคารเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ศูนย์การเรียนรู้เมืองสมุนไพรฟาร์มสุขใจ ชุมชนพรสวรรค์ ในเขตเทศบาลตำบลหนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี นายดิชฐ์พิเชษ สุวรรณโพธิ์ ประธานโครงการฟาร์มสุขใจ บริษัท ฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (มหาชน) ,นางสาวนงนุช บัวใหญ่ CEO บริษัท ฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด (มหาชน) , ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย ,ดร.องอาจ วิเศษ ประธานเครือข่ายภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย ,นายศักดิ์ชาย พรหมโท ประธานผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย (ผรท.) ,นายสมชัย แสงทอง ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นภาคเหนือ, นางนิตยา นาโล ประธานเครือข่ายหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นภาคอีสาน และ นางธนภัทร พันธวาส ประธานเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งประเทศไทย พร้อมคณะผู้บริหาร ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชน และ ประชาชน ร่วมประชุมหารือการปรับเปลี่ยน "หมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย" ขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ผอ.มหาวิชชาลัยภูมิปัญญาชุมชนท้องถิ่นไทย ในฐานะ ประธานหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย เปิดเผยว่า ประธานและแกนนำแต่ละจังหวัดของประเทศไทย ต้องการเปลี่ยนกลุ่มและองค์กรประชาชนมาเป็น "หมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท้องถิ่นไทย" เพื่อขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จาก “ร.9 ถึง ร.10 สู่ผองไทยทั่วแหล่งหล้า สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” เพื่อต้องการส่งเสริมความรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชนส่งเสริมและพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากให้มีความมั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยสนับสนุนให้มีการจัดทำและใช้ประโยชน์จากข้อมูลสารสนเทศ ศึกษาวิเคราะห์ วิจัย จัดทำยุทธศาสตร์ชุมชน ตลอดจนการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน ได้กำหนดหน้าที่ ประการหนึ่งในการพัฒนาระบบและกลไกในการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ การจัดการความรู้ การอาชีพ การออมและการบริหารจัดการเงินทุนของชุมชนเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ ของชุมชน ผู้นำชุมชน องค์การชุมชนและเครือข่ายองค์การชุมชน บริหารจัดการให้ชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เนื่องจากกระบวนการพัฒนาชุมชนมีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง คือปฏิบัติงานตามหลัก ความพอประมาณ ความมีเหตุผล สร้างภูมิคุ้มกันที่ดี ด้วยการใช้ความรู้ ความชอบธรรมและคุณธรรม ทำให้ชุมชนพึ่งตนเองบนความพอเพียง โดยบูรณาการการทำงานร่วมกันในทุกกรมและรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะกรมการปกครอง และกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ผศ.ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า ทางกลุ่มจึงได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน เป็น 3 ระดับ คือ ระดับ “พออยู่” เป็นต้นแบบในการใช้ชีวิตพึ่งตนเอง เน้นการปฏิบัติทำกิน ทำใช้ในครัวเรือน เพื่อลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และมีการออม ระดับ “อยู่ดี กินดี” เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการพัฒนาในรูปกลุ่ม การพัฒนารายได้ด้วยระบบกลุ่ม เพื่อเพิ่มรายได้และขยายโอกาสคนในชุมชน และ ระดับ “มั่งมี ศรีสุข” เป็นต้นแบบการบริหารการพัฒนาในรูปแบบองค์กรเครือข่าย เพื่อใช้ศักยภาพในการดำเนินการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชน เพื่อขยายโอกาสในการประกอดอาชีพและส่งเสริมการจัดสวัสดิการในกับคนในหมู่บ้านชุมชน ตอนนี้เราจะนำร่อง "ภาคเหนือ" และ "ภาคอีสาน" ก่อนจึงได้เชิญประธานแต่ละจังหวัดทั้งสองภาค รวม 37 จังหวัด แบ่งออกเป็น ภาคอีสาน 20 จังหวัด และ ภาคเหนือ 17 จังหวัดละ 3 คน รวม 111 คน.