นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กชื่อ Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า... “สองนครา-พระราชกำหนดที่เลือกปฏิบัติ” . ?? ผู้ว่า ธปท. ให้สัมภาษณ์ ทำให้สงสัยว่า มีการเลือกปฏิบัติตั้งแต่ดีไซน์พระราชกำหนด หรือไม่? . “สำหรับซอฟต์โลน ธปท. 5 แสนล้านบาท เป้าหมายคือช่วยคนที่ขาดสภาพคล่อง และจำเป็นต้องได้สภาพคล่องเพิ่มเมื่อสภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว . ซึ่งผ่านไป 1 เดือนอนุมัติไป 5 หมื่นล้านบาท ก็ถือว่าการทำงานของแบงก์พาณิชย์ช้าเกินไป เพราะธุรกิจกำลังมีปัญหาต้องการสภาพคล่อง“ . ? รัฐบาลออกพระราชกำหนดในกรอบสีน้ำเงิน ให้ ธปท. อุ้มตราสารหนี้เอกชน 4 แสนล้านบาท . พระราชกำหนดนี้ เป็นนคราคนรวย บริษัทที่ออกตราสารหนี้รวย เป็นบริษัทขนาดยักษ์ รายได้นับเป็นระดับพันล้านถึงแสนล้าน และผู้ลงทุนรวย โดยซื้อกันขั้นต่ำเป็นระดับล้านถึงหลายร้อยล้าน รวมไปถึงนักลงทุนต่างชาติ . ⚠️ พระราชกำหนดนี้กำหนดว่า ถ้าหากขาดทุนในโครงการนี้ รัฐบาลจะชดใช้ในวงเงิน 4 หมื่นล้านบาท . ✏️ รัฐบาลออกพระราชกำหนดในกรอบสีแดง ให้ ธปท. ปล่อยเงินผ่านแบงค์เพื่ออุ้ม SMEs 5 แสนล้านบาท . พระราชกำหนดนี้ เป็นนคราคนชั้นกลาง บริษัทขนาดกลางและเล็กที่อาศัยเงินหมุนเวียนเดือนชนเดือน แต่บัดนี้ พรก.ฉุกเฉิน ทำให้วิกฤตการแพร่เชื้อโควิดค้างคาอยู่ในใจคนไทย . เมื่อคนไทยไม่เที่ยวไทย ไม่คลายใจ ไม่จับจ่ายใช้สอย ธุรกิจ SMEs ก็เลี้ยงตัวเองไม่ได้ แบงค์ก็เห็นปัญหานี้ เลยไม่ปล่อยกู้ใหม่ . ? 1 เดือนผ่านไป ปล่อยกู้ได้เพียง 5 หมื่นล้าน ช่วย SMEs ได้เพียง 3 หมื่นราย จากที่มีอยู่นับสี่ล้านราย . ⚠️ พระราชกำหนดนี้ หาไม่เจอ ไม่มีที่ใดกำหนดว่า ถ้าหากขาดทุนในโครงการนี้ รัฐบาลจะชดใช้ในวงเงินกี่หมื่นล้านบาท . นี่คือสองนครา พระราชกำหนดที่ดีไซน์ให้ปฏิบัติแตกต่างกันไว้ตั้งแต่ต้น หรือไม่? . ? ขณะนี้ SMEs หวังได้อย่างเดียวว่า รัฐบาลจะถอยออกไปจากชีวิตเสียที ช่วยเอา พรก.ฉุกเฉินกลับกรมกองเสียที . วิธีจะช่วย SMEs ดีที่สุด คือเปิดช่องให้เขาทำมาหากินได้ดังเดิม แม้ 80-90% ก็ยังดี รัฐบาลไม่ต้องไปเลี้ยงเขา เพียงแต่อย่าไปปิดกั้นโอกาสที่เขาจะเลี้ยงตัวเอง . รัฐบาลควรจะเร่งสร้างความเชื่อมั่น ให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิต 80-90% ดังเดิม