วันนี้(24พค.63) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ณ ห้องประชุมใหญ่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ 3 นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วยนางวันดี วุ่นซิ้ว นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ เดินทางร่วมเป็นสักขีพยาน นายวรศิษย์ พุฒจีบ นายอำเภอจัตุรัส พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประธมศึกษาชัยภูมิเขต 3 หัวหน้าส่วนราชการ กำนันผู้ใหญ่บ้าน เปิดบ้านต้อนรับเจ้าภาพใหญ่ “ อรรณพชัยภูมิฟาร์มจำกัด” ผู้สนับสนุน โครงการ โรงเรียนร่วมพัฒนา โรงเรียนไก่ไข่ แห่งแรกในจังหวัดชัยภูมิ บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา" (MOU - Partnership School Project) -โรงเรียนไก่ไข่ บันทึกความเข้าใจฉบับนี้จัดทำขึ้นระหว่าง บริษัท อรรณพชัยภูมิฟาร์มจำกัด ในเครือบริษัท อัครากรุ๊บ โดยนายธนาวุท เอื้อละพันธ์ รองกรรมการผู้จัดการบริษัท อัครากรุ๊ป ตั้งอยู่เลขที่ 112หมู่ 14 ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า "ผู้สนับสนุน" และโรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม โดยนาย ปรีชา ชำนาญกุล ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ บ้านสระสี่เหลี่ยม หมู่ที่14 ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัส จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งต่อไปในบันทึกข้อตกลงนี้เรียกว่า "สถานศึกษา" อีกฝ่ายหนึ่ง โดยทั้งสองฝ่าย มีความต้องการสร้างความร่วมมือในการบริหารโรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม ภายใต้โครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา" ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันมีข้อความดังต่อไปนี้ ความเป็นมาของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา" (MOU Partnership School Project) – โรงเรียนไก่ไข่ จังหวัดชัยภูมิโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 และบริษัท อรรณพชัยภูมิฟาร์มจำกัด ได้ทำการคัดเลือกโรงเรียนบ้านสระสี่เลี่ยม เป็นพื้นที่การดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School ในมิติ "โรงเรียนไกไข่" เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษา ควบคู่กับการสร้างทักษะชีวิต ของผู้เรียนที่เป็นเด็กและยาวชนในวันนี้ และจะกลายเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ เห็นโอกาสของการพัฒนาอาชีพและชุมชนตนเอตั้งแต่ยังอยู่ในระบบการศึกษา อันจะเป็นการลดปัญหาทางสังคมและเศรษฐกิจของชุมชน ลดปัญหาครอบครัวแหว่งกลาง ที่เด็กต้องอยู่กับปู่ยา ตายาย พ่อแม่ต้องไปประกอบอาชีพในต่างถิ่น รวมทั้งปัญหาสังคมต่างๆอาทิเช่น ปัญหาต้านยาเสพติด เด็กไม่รู้หนังสือจำนวนมาก ปัญหาสังคมตามมาอีกมากมาย บริษัท อรรณพชัยภูมิฟาร์ม จำกัด มีความเชื่อและมั่นใจว่าโรงเรียนไก่ใช่แห่งนี้จะช่วยให้เด็กๆ มีความรู้และทักษะอาชีพการเลี้ยงไก่ไข่ ติดตัว ในบริบทที่สอดคล้องกับท้องถิ่นที่ตนเองและครอบครัวถนัด อันจะทำไห้เกิด Smart people ขึ้นในจังหวัดชัยภูมิ ต่อไปในอนาคต บริษัทฯ เล็งเห็นว่าโครงการเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) สามารถตอบโจทย์ด้านการศึกษาและยุทธศาสตร์ของจังหวัดชัยภูมิได้ และเป็นการทำ CSR ที่จะสร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนรอบๆ ฟาร์มจึงได้ทำโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (partnership School Project) หรือโรงเรียนไก่ไข่แห่งแรกของประเทศไทย “นิยามศัพท์” " โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา" (Partnership School Project) หมายถึง โครงการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษารูปแบบ Partnership School ที่ให้ความเป็นอิสระและความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านการบริหารงานวิชาการ การริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารงานทั่วไป ที่สร้างความรับผิดชอบต่อผู้เรียนด้วยการมีส่วนร่วมจากทุกภาค ภายใต้กาสนับสนุนทรัพยากร และการบริหารที่จำเป็นและเหมาะสมจากผู้สนับสนุน "สถานศึกษา" หมายถึง โรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม ตั้งอยู่ที่ หมู่14 บ้านสระสี่เหลี่ยม ตำบลบ้านกอก อำเภอจัตุรัสจังหวัดชัยภูมิ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิเขต 3 "ผู้สนับสนุน" หมายถึง บริษัท อรรณพชัยภูมิฟาร์ม จำกัด และหรือบริษัทในเครือ บริษัท อัครากรุ๊ป "คณะกรรมการสถานศึกษา" หมายถึง คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม วัตถุประสงค์บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา"(MOU Partnership School Project) - โรงเรียนไก่ไข่เพื่อให้เป็นโรงเรียนไกไข่แห่งแรของประเทศไกรวมกับจังหวัดชัยภูมิและโรงเรียนบ้านสระสี่เหลี่ยม เพื่อพัฒนาเด็กนักเรียนให้เป็นคนตี คนเก่ง ของสังคม สร้างความยั่งยืนให้กับชุมชนเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้สนับสนุนกับชุมชน และท้องถิ่น เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของผู้สนับสนุน และสอดคล้องกับกลยุทธ์ของผู้สนับสนุนทางต้าน CSR เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วยต่างๆ ในการบริหารจัดการวมพัฒนาและสนับสนุนการศึกษาภายใต้ของกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาคุณภาพและสร้างสรรค์นวัตกรรมการบรีหารจัดการของสถานศึกษาให้สามารถยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเตรียมความพร้อมในอนาคตให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรูตอดชีวิตองทุกคนในชุชน เป็นศูนย์กลางการพัฒนาทักษะและคุณภาพชีวิตเพื่อให้สถานศึกษาได้รับโอกาสในการพัฒนา นำไปสู่การลดวามเหลื่อมล้ำทางการศึกษา หลักการในการดำเนินโครงการ การมีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษา การดำเนินโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) จำเป็นต้องได้รับความสนับสนุนจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในพื้นที่ ในการเข้าร่วมบริหารจัดการ ร่วมพัฒนาและสนับสนุนสถานศึกษาในโครงการ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา ให้สามารถสร้างบริการด้านการศึกษาที่มีคุณภาพสูง เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน และบริบททางเศรษฐกิจสังคมของชุมชนท้องถิ่น ทั้งในด้านวิชาการ ด้นอาชีพและทักษะชีวิตอื่นๆ การบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา ผู้สนับสนุนสามารถเข้ามีส่วนร่วมในการบริหารงานบุคคลของสถานศึกษา โดยเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษา หรือคณะกรมการสถานศึกษา รวมถึงสามารถประเมินผลสำเร็จของโครงการที่ได้ตกลงร่วมกัน การบริหารจัดการงบประมาณของสถานศึกษา ผู้สนับสนุนจากจัดสรรงบประมาณในโครงการตามที่ผู้สนับสนุนเห็นสมควรและระบุวัตถุประสงค์ของเงินทุนสนับสนุนให้ชัดเจนรวมถึงมีการควบคุมค่าใช้จ่ายดังกล่าวให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และสถานศึกษาจะต้องมีหลักฐานการใช้จ่ายเงินตามระบบมาตรฐานบัญชีมีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบการใช้เงินดังกล่าวได้โดยเสนอต่อคณะกรรมการสถานศึกษาและส่งต้นฉบับหลักฐานการจ่ายเงินให้ผู้สนับสนุนเพื่อตรวจสอบทั้งนี้ส่วนของงบประมาณจากภาครัฐยังคงเป็นไปตามระเบียบของ งบประมาณ ทางราชการ การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา ผู้สนับสนุนสามารถเข้าร่วมการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง ชุมชนและบริบทของสถานศึกษา รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความก้าวหนของโลกภายใต้กรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2551 ผู้สนับสนุนสามารถร่วมกำหนดหลักสูตรสถานศึกษาในส่วนรายวิชาเพิ่มเติมที่เป็นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับผู้สนับสนุนและผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการสถานศึกษา การติดตาม ประเมินผล เมื่อเริ่มตันโครงการของสถานศึกษา ผู้สนับสนุนร่วมจัดทำแผนการพัฒนาสถานศึกษา ซึ่งระบุเป้าหมายของการดำเนินงานในช่วงต่างๆ ไว้อย่างชัดเจนและมีการสื่อสารระหว่างผู้สนับสนุน ถานศึกษาและกระทรวงศึกษาธิการ รวมทั้งร่วมกันพัฒนาแผนและการดำเนินการติดตามประเมินผล ผลสำเร็จของโครงการได้โดยการประเมินผลเพื่อพัฒนาต้องอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และครอบคลุมมิติต่างๆ ดังนี้ คุณภาพของผู้เรียน อาทิ ทักษะ ความรู้ ทัศนคติ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความพึงพอใจของผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ความมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ในการดำเนินงานพัฒนาการศึกษา ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการบริหารจัดการศึกษา บทบาทหน้าที่ของแต่ละภาคส่วน ความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการนี้ กระทรวงศึกษาธิการ สถานศึกษา และผู้สนับสนุนตกลงที่จะร่วมกันผลักดันโครงการอย่างเต็มกำลังความสามารถ และจะใช้กลไกการหารือร่วมกันในการแก้ไขประเด็นบัญหาและความท้าทายต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการดำเนินโครงการ ทั้งนี้ทั้งสองฝ่ายไต้ตกลงร่วมกันให้มีการระบุบทบาทหน้าที่หลักของแต่ละฝ่าย ดังนี้ บทบาทหน้าที่หลักของผู้สนับสนุน ให้คำปรึกษาการบริหารจัดการสถานศึกษา แก่ กรรมการในคณะกรรมการสถานศึกษาตามที่ผู้สนับสนุนเห็นสมควร สนับสนุนทรัพยากร และงบประมาณส่วนเพิ่มจากงบประมาณของรัฐให้กับสถานศึกษาตามที่ผู้สนับสนุนเห็นสมควร ให้คำแนะนำแผนพัฒนาสถานศึกษา ของสถานศึกษารับทราบการประเมินผลสำเร็จของโครงการพัฒนาสถานศึกษา สื่อสารกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของสถานศึกษาภายใต้การสนับสนุนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดี และร่วมกันป้องกัน แก้ไขอุปสรรคในการดำเนินโครงการ บทบาทหน้าที่หลักของสถานศึกษา ตั้งคณะทำงานซึ่งทำหน้าที่ศึกษา ปรับปรุง และการดำเนินโครงการ รวมถึงแต่งตั้งผู้ประสานงานกับผู้สนับสนุน สื่อสารประชาสัมพันธ์ในโครงการเชิงรุกกับครู นักเรียน ชุมชน ผู้สนับสนุน รวมถึงสื่อสารประชาสัมพันธ์โครงการเป็นการทั่วไปเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีและเสริมสร้างความเข้าใจอันดีอย่างต่อเนื่อง จัดการประชุมร่วมกับผู้สนับสนุนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อติดตามความก้าวหน้าโครงกร และการายงานผลการดำเนินงานของโครงการ อีกทั้งให้เกิดการเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน บทบาทของหน่วยงานสนับสนุน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3 และสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดชัยภูมิ จะต้องให้การสนับสนุนการดำเนินงานโครงการ "โรงเรียนร่วมพัฒนา" (MOU -Partnership School Project) โรงเรียนไก่ไข่ ให้สามารถดำเนินการได้ตามวัตถุประสงค์และระยะเวลาการดำเนินงานโครงการ การสนับสนุนตามข้อตกลงข้อ3. นี้ให้มีการทบทวนเป้าหมายทุกๆ ปีการศึกษา การปฏิบัติตามบันทึกข้อตกลง ผู้สนับสนุน สนับสนุนโรงเรียนให้เป็นตันแบบโรงเรียนไก่ไข่แห่งแรกของประเทศไทย จัดให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้การเลี้ยงไกไข่ครบวงจร พัฒนานักเรียนของโรงเรียนมีอาชีพระหว่างเรียนตามความถนัดของท้องถิ่น และผลิตภัณฑ์จากไก่ไข่ ผู้สนับสนุน สนับสนุนด้านวิชาการให้เป็นเลิศ ทันสมัย กีฬาเด่น และศิลปวัฒนธรรมเป็นเยี่ยมตามที่ผู้สนับสนุนเห็นสมควรนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ค่าเฉลี่ยร้อยละ 70 ทุกกลุ่มสาระ พัฒนาครูให้มีความสามารถสร้างสื่อและนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการจัดการเรียนรู้ได้ นักเรียนระดับชั้น ป.6 มีผลคะแนน O-Net ติด 1 ใน 10 ของระดับเขตฯ เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ(ภาษาอังกฤษ) ส่งเสริมและพัฒนาทักษะด้านกีฬาฟุตชอล, วอลเล่ย์บอลให้เป็นตัวแทนระดับเขตฯ อนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีโปงลาง (ดนตรีพื้นบ้าน) และแข่งขันเข้าประกวดระดับเขตๆ ผู้สนับสนุนส่งเสริมและพัฒนาให้โรงเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม ปลอดภัยและใส่ใจสิ่งแวดล้อมตามที่ผู้สนับสนุนเห็นสมควร ด้านโครงงานคุณธรรม ระดับเครือข่าย ระดับเขตพื้นที่ ระดับภาค ปรับปรุงสถานศึกษาให้เกิดความปลอดภัยและเข้าร่วมโครงการสถานศึกษาปลอดภัยระดับประเทศของกระทรวงแรงงาน ส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมและพลังงาน พัฒนาให้เข้าสู่การ ประกวดโครงงานนวัตกรรมระดับภาค และระดับประเทศ ระยะเวลาโครงการ “โรงเรียนร่วมพัฒนา” การดำเนินโครงการตามบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ มีระยะเวลาการดำเนินงานโครงการในระยะแรก 3 ปี เริ่มตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2563 สิ้นสุดเดือน พฤษภาคม 2566 โดยเมื่อครบกำหนตระยะเวลาในระยะแรกตามที่กำหนด ผู้สนับสนุนและสถานศึกษาจะจัดให้มีการทบทวนโครงการร่วมกันในปี 2566 เพื่อดำเนินงานโครงการในระยะที่สองต่อไป หากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดประสงค์จะบอกเลิกบันทึกความเข้าใจนี้ ตามความจำเป็นและเหมาะสม ให้มีหนังสือแจ้งให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบล่วงหน้าตามสมควรอีกด้วย /////