บ้านเขาโหรง หมู่ 12 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง เป็นหมู่บ้านเล็กๆอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดตรัง โดยที่ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ภายในหมู่บ้านจำนวน 154 ครัวเรือน 512 คน ใช้ชีวิตบนวิถีของความเรียบง่ายด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9มาใช้ในการดำรงชีวิต ส่งผลให้ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ ณ หมู่บ้านแห่งนี้ที่ใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย มีความรักความผูกพันและเกื้อกูลพึ่งพาต่อกันอย่างแนบแน่น แม้ว่าในสถานการณ์ยามทุกข์ยากเดือดร้อนที่ต้องเผชิญกับวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ชาวบ้านเขาโหรง ยังสามารถยืนหยัดที่เกิดจากความรักความสามัคคีและความเข้มแข็งของชาวบ้านในหมู่บ้าน โดยเฉพาะความเข้มแข็งที่มีในหมู่บ้าน ทั้งในครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน กลุ่มพัฒนาต่างๆ รวมไปถึงหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ทีลงมาให้การสนับสนุนส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมภายในหมู่บ้าน จนนำไปสู่ความสำเร็จของการดำรงชีวิตของชาวบ้านอย่างมีความสุขบนความพอเพียง เฉกเช่น การดำเนินโครงการสตรีแบ่งปันรัก ปลูกพืชผักปลอดภัย ที่ดำเนินกิจกรรมกันภายในบ้านเขาโหรง หมู่ 12 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง เป็นอีกหนึ่งในหมู่บ้านที่ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง ลงมาขับเคลื่อนและให้การสนับสนุน ภายใต้ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศซึ่งหากสถานการณ์ยังเกิดขึ้นอีกยาวนานเชื่อว่าอาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนอาหารขึ้นได้ในอนาคตดังนั้นการจัดทำโครงดังกล่าวจะทำให้ชาวบ้านเขาโหรงมีแหล่งอาหารที่มั่นคงสามารถใช้ชีวิตบนวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ได้เป็นอย่างดี นายพงษ์ศักดิ์ คณะมะ พัฒนาการจังหวัดตรัง กล่าวว่า การดำเนินโครงการสตรีแบ่งปันรัก ปลูกพืชผักปลอดภัย เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาภาวะขาดแคลนอาหารที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมบทบาทของสตรีในการดูแลความเป็นอยู่ของครอบครัวภายใต้ภาวะวิกฤต ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9มาแปลงสู่การปฏิบัติในระดับครัวเรือน โดยรณรงค์ให้สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีและกลไกการขับเคลื่อนกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีทุกระดับ ปลูกพืชผักสวนครัว แลกเปลี่ยนแบ่งปันพืชผักสวนครัวซึ่งกันและกัน “และนำไปสู่การมอบเมล็ดพันธุ์ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อเป็นอาหารสะอาด ปลอดภัยและลดรายจ่ายในการดำรงชีวิตในครอบครัว ประการสำคัญเป็นการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับครอบครัวและชุมชน ด้วยการเน้นการพึ่งตนเอง ช่วยเหลือเกื้อกูล และเอื้ออาทรต่อกันในชุมชนเพื่อให้รอดพ้นวิกฤต” นายพงษ์ศักดิ์ กล่าว ขณะที่นางโสรยา ช่วยชนะ ประธานศูนย์กองทุนสตรี กองทุนเมล็ดพันธุ์ อ.เมือง จ.ตรัง กล่าวว่า ความเป็นมาของการดำเนินกิจกรรมสตรีแบ่งปันรัก ปลูกพืชผักปลอดภัย ในหมู่บ้านั้นเพื่อต้องการสร้างห่วงโซ่อาหารให้เกิดขึ้นภายในหมู่บ้านด้วยการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรัง ที่เป็นทั้งพี่เลี้ยง พร้อมทั้งมอบเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวมาให้มีการเพาะพันธุ์พืชเพื่อแจกให้กับพี่น้องผู้นำสตรีและผู้นำชุมชนในหมู่บ้านมีการดำเนินกิจรรมโดยมีครัวเรือนที่เป็นต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงจำนวน 10 ครัวเรือนเมื่อมีการเพาะพันธุ์พืชก็จะมีการแบ่งแจกจ่ายให้กับครัวเรือนต้นแบบ และสามารถปลูกพืชครัวเรือนพร้อมขยายพันธุ์สร้างรายได้สร้างความมั่นคงให้กับครัวเรือนได้ “โดยเฉพาะในช่วงของการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ครัวเรือนสามารถมีรายได้และมีอาหารในการกินในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี กิจกรรมนี้ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องจะเป็นฐานการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมีการปลูกผักกินเอง ปลอดสารพิษด้วย เช่น การเพาะพันธุ์กบ เลี้ยงกบ เลี้ยงปลา เลี้ยงไก่ เลี้ยงจระเข้ ฯลฯปลูกพืชผักสวนครัวต่างๆ สามารถขยายไปยังครัวเรือนต้นแบบได้ การทำดังกล่าวจะใช้กินในครัวเรือน หากเหลือกินก็จะนำไปขายทีมีการกำหนดจุดรับซื้อ เป็นหมู่บ้านต้นแบบครัวเรือนสัมมาชีพดีเด่นระดับภาคใต้ และเป็นหมู่บ้านต้นแบบการเฝ้าระวังควบคุมโรคติดต่อของ อสม.ระดับประเทศ สำหรับการได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรังในการเข้ามาอบรมให้ความรู้ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืชต่างๆ การอบรมการทำบัญชีครัวเรือน อีกทั้งมีการสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อใช้ในการดำเนินกิจกรรมอีกด้วย” นาโสรยา กล่าว ด้านนางเสาวนีย์ ศรีหมอก สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีบ้านเขาโหรง ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง กล่าวว่า ที่บ้านของตนซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 6 ไร่มีการจัดสรรพื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวทุกอย่างที่กิน กินทุกอย่างที่ปลูก เช่น ผักสวนครัว ผลไม้ต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในครอบครัวจะไม่เดือดร้อนเพราะว่าเราพืชผักที่ปลูกมีผลผลิตไว้กิน อีกทั้งยังสามารถแบ่งบันให้กับครัวเรือนอื่นๆด้วย เรามีพื้นที่ทำกินประมาณ 6 ไร่จัดสรรแบ่งพื้นที่ปลูกผลไม้ เช่น ทุเรียน มังคุด กระท้อน ขุดบ่อปลาเลี้ยงปลาไว้กินเอง เลี้ยงไก่ดำ ขุดบ่อน้ำไว้ใช้ในหน้าแล้ง ส่วนผลผลิตนำไปจำหน่ายได้เล็กน้อย ส่วนมากจะนำไปแบ่งปันให้ครัวเรือนอื่นๆจะมุ่งเน้นกินในครัวเรือนและแบ่งปันต่อกัน ทั้งนี้ทางสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรังให้การสนับสนุนพันธุ์พืชมาปลูกจนได้ผลผลิตอย่างดี นายหาญณรงค์ สงหนู พัฒนาการอำเภอเมืองตรัง กล่าวว่า โครงการสตรีปันรักปลูกผักปลอดภัยเพื่อความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ทางกรมการพัฒนาชุมชนสนับสนุนให้กลุ่มพัฒนาบทบาทสตรีให้มีการปลูกพืชผักสวนครัว โดยได้มีการดำเนินมาก่อนหน้านี้ จึงให้สตรีซึ่งอยู่ในกลุ่มได้จัดทำโครงการสตรีปันรักขึ้น ในส่วนของพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองตรังได้มีการประชุมชี้แจงสตรีทุกตำบลได้เป็นกำลังขยายไปทุกครัวเรือนที่เป็นสมาชิกของกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีได้ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อความปลอดภัยทางด้านอาหารเป็นพืชปลอดสารพิษ และเพื่อเป็นการลดรายจ่ายในครัวเรือนอีกด้วย นอกจากนี้ยังให้แต่ละตำบลมีศูนย์ขยายเพาะพันธุ์เพื่อแจกจ่ายให้กับครัวเรือน ทางพัฒนาชุมชนฯมีการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช เช่น มะเขือ แตงกวา ถั่วฝักยาว ฯลฯ เป็นพืชผักสวนครัวที่ปลูกกินในครัวเรือน กิจกรรมดังกล่าวไม่ได้มุ่งเน้นการจำหน่าย แต่ให้กินกันเองในครัวเรือนเพื่อความมั่นคงด้านอาหารในขณะนี้ด้วย ณ วันนี้ ชาวบ้านเขาโหรง หมู่ 12 ต.น้ำผุด อ.เมือง จ.ตรัง ใช้ชีวิตกันอย่างมีความสุขแม้ว่าจะประสบวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ด้วยการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ด้วยการปลูกพืชผักครัวเรือนด้วยการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐของสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดตรังตามโครงการสตรีแบ่งปันรัก ปลูกพืชผักปลอดภัยลงสู่พื้นที่อันเป็นรากฐานของชุมชนอย่างจริงจัง จิรศักดิ์ จาตุพรพิพัฒน์/ตรัง/รายงาน