ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ระบุว่า โควิด 19 วัคซีนวัณโรค BCG เมื่อแรกเกิด ป้องกันโรคได้จริงหรือ มีการพูดกันมากว่า คนทางแถบเอเชียได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคแรกเกิด ติดเชื้อ โควิด 19 น้อยกว่าคนทางยุโรป ที่ไม่ได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรคเมื่อแรกเกิด จึงมีข้อสมมติฐานว่า วัคซีนBCG ป้องกันวัณโรค ช่วยป้องกันการติดเชื้อ โควิด 19 จากการศึกษาที่อิสราเอล เป็นประเทศที่ให้วัคซีน BCG ในเด็กแรกเกิด มาจนถึงปี 1982 หลังจากนั้นก็ไม่ได้มีการให้อีก เมื่อเปรียบเทียบประชากรย้อนขึ้นไป 3 ปี กับประชากรลงมา 3 ปี คือประชากรที่เกิดก่อนและหลังปี 1982 เมื่อเปรียบเทียบอายุแล้วจะอยู่ในรุ่นราวคราวเดียวกัน และดูอัตราการติดเชื้อ โควิด 19 พบว่าผู้ที่ได้รับวัคซีน BCG ติดเชื้อ โควิด-19 11.7% ผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน BCG ติดเชื้อ โควิด-19 จำนวน 10.4% และมีความรุนแรงเสียชีวิตกลุ่มละ 1 คน จากข้อมูลดังกล่าว ได้ลบล้างความเชื่อที่ว่า การให้วัคซีน BCG เมื่อแรกเกิดอย่างที่ประเทศไทยพี่ให้กับทารกแรกเกิด ไม่มีผลในการป้องกัน โควิด 19