วันนี้ (11 พ.ค.60) นายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการชำระบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะแก่ผู้ชำระบัญชีให้ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ พร้อมมีแนวทางปฏิบัติและวิธีการที่จะแก้ไขปัญหาการชำระบัญชีสหกรณ์และเกษตรกรในความรับผิดชอบให้ลุล่วง ผลักดันให้การชำระบัญชีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติงานกรมส่งเสริมสหกรณ์กำหนด เพื่อขับเคลื่อนแผนพัฒนาความเข้มแข็งสหกรณ์ปี 2559-2560 โดยมีผู้ชำระบัญชี และผู้แทนจากสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 3 เข้าร่วมอบรม 70 ราย ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 5 จังหวัดนครราชสีมา นายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา นายอนันต์ มหัจฉริยพันธุ์ สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า การชำระบัญชีสหกรณ์ หมายถึง การสะสางกิจการงานทุกเรื่องของสหกรณ์ที่เลิกให้สำเร็จเรียบร้อยและก่อให้เกิดความเที่ยงธรรมแก่บุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับสหกรณ์ที่เลิกกิจการด้วยเหตุนี้ ในการชำระบัญชีจึงต้องพิจารณาว่าสหกรณ์เลิกมีทรัพย์สิน หนี้สิน และทุนคงเหลืออยู่เท่าไร รวมทั้งมีกิจการงานอะไรที่ยังคั่งค้างอยู่บ้าง เพื่อจะได้ชำระสะสางให้เรียบร้อย เช่น ติดตามลูกหนี้ของสหกรณ์ให้ชำระบัญชีหนี้คืน ขายทรัพย์สินของสหกรณ์ให้ได้เงินมากที่สุด ชำระบัญชีคืนเจ้าหนี้ให้ครบถ้วน และเมื่อมีเงินสดคงเหลือเท่าไรก็ให้จ่ายคืนแก่สมาชิกตามหลักเกณฑ์พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ.2542 มาตรา 77 กำหนดให้ผู้ชำระบัญชีมีหน้าที่สะสางกิจการของสหกรณ์ จัดการชำระหนี้และจำหน่ายทรัพย์สินของสหกรณ์นั้นให้เสร็จไป สหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา มีสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร รวมจำนวน 318 แห่ง ในจำนวนนี้ เป็นสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ไม่สามารถดำเนินกิจการให้เป็นผลดีแก่สหกรณ์และสมาชิก จนกระทั่งสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมาในฐานะรองนายทะเบียนได้ใช้อำนาจนายทะเบียน สั่งเลิก จำนวน 44 แห่ง ในจำนวนนี้ถูกสั่งเลิกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 แต่ผู้ชำระบัญชีไม่สามารถดำเนินการสะสาง ทรัพย์สิน และหนี้สิน จนกระทั้งมีการถอดชื่อให้สำเร็จลุล่วงไปได้ เนื่องจากผู้ชำระบัญชีบางท่านยังขาดองค์ความรู้ ขาดความเข้าใจ ขาดทักษะ ทำให้การชำระบัญชีไม่มีความคืบหน้า หยุดชะงัก ทำให้ฐานข้อมูลให้เสีย ของจำนวนสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีอยู่ขัดแย้งกัน ซึ่งสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรอยู่ระหว่างการชำระบัญชี ไปปรากฏอยู่ในภาพรวมของจำนวนสหกรณ์ทั้งจังหวัด นายอนันต์ กล่าวอีกว่า จากปัญหาของจำนวนสหกรณ์ที่ต้องอยู่ในกระบวนการและขั้นตอนการชำระบัญชี ไม่สามารถเดินหน้าได้จำนวนมาก เนื่องจากผู้ได้รับการแต่งตั้งการเป็นผู้ชำระบัญชี ขาดองค์ความรู้ ขาดทักษะในการชำระบัญชี สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา จึงได้จัดประชุมเพื่อให้การฝึกอบรมกับผู้ชำระบัญชี โดยได้รับความร่วมมือจากสำนักงานตรวจสอบบัญชีภาคที่ 3 มากเป็นวิทยากร และสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์นครราชสีมา มอบหมายผู้สอบบัญชีของสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่ดูแลการชำระบัญชีเข้าอบรมกับผู้ชำระบัญชี เพื่อทำให้สหกรณ์ได้ดำเนินการถูกต้องครบถ้วน พร้อมเปิดเวทีพบปะ พูดคุย เจรจากับผู้ชำระบัญชี เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ทั้งนี้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนครราชสีมา ตั้งเป้าหมายให้สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการชำระบัญชี จำนวน 44 แห่ง ให้แล้วเสร็จคงเหลือไม่เกิน 20 แห่ง ในปีงบประมาณ 2560