"บิ๊กตู่" ลุยแก้"โควิด-19"ระบาด ไฟเขียวต่อเวลาใช้ "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"อีก1เดือน พร้อมคง4มาตราการสู้ไวรัสมรณะ จ่อประเมินผล"คลายล็อก" ทุก 14 วัน ฮึ่ม! จังหวัดไหน "สอบตก" กลับมาคุมเข้มอีก ลุ้น 4 พ.ค.นี้ เปิด "ร้านอาหารไม่ติดแอร์-ตลาดนัด-ตลาดสด-ร้านตัดผม-ห้างสรรพสินค้า" ด้าน"วธ."ชง ครม.เลื่อนวันหยุดทั้งเดือน พ.ค. ขณะที่"พปชร."ระส่ำ ข่าวสะพัด"ประวิตร"กดดัน"อุตตม-สนธิรัตน์"พ้นตำแหน่ง ลุยบัญชาการเอง หวังยึดพรรค-กดดันปรับ ครม. ส่วน"บิ๊กป้อม" ปัดตอบสื่อปมข่าวลือยึดพปชร. บอก"ยังไม่มีอะไร" ส่วน"วิปรัฐบาล" มีมติ ไม่เห็นด้วยฝ่ายค้านขอเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ ชี้ไม่มีอะไรเร่งด่วน เหตุ"รบ."เร่งแก้ปัญหาโควิด-19 เต็มที่อยู่แล้ว ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 27เม.ย.63 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุม ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) หรือศบค. โดยมีรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนหน่วยงานด้านความมั่นคง สาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมในประชุม โดย นายกฯ กล่าวว่า "สิ่งที่ผมจะขอความเห็นชอบจากที่ประชุมคือแนวทางการผ่อนปรน หลังขยายเวลาการประกาศใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน โดยแผนต่างๆ จะยึดตามหลักการสาธารณสุขและองค์การอนามัยโลก เป็นหลักในการดำเนินการ สิ่งที่ผมเป็นกังวลคือเรื่องการเยียวยาที่หลายฝ่ายไม่ทั่วถึง เพียงพอ" ด้าน นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงว่า ที่ประชุมเห็นควรพิจารณาขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรต่อไปอีก 1 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1- 31 พ.ค. โดยจะต้องคงมาตรการตามข้อกำหนดไว้ 4 มาตรการ คือ 1.การควบคุมการเดินทางเข้าออกราชอาณาจักร ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญและความเสี่ยง โดยประตูต่างๆรอบชายแดนและทางอากาศที่มาลงสนามบิน เราควบคุมได้อย่างดี ทำให้การแพร่กระจายเชื้อจากการนำเข้ามาจากต่างประเทศน้อยลง ตรงนี้ก็ต้องควบคุมต่อตั้งแต่วันที่ 1-31 พ.ค. ซึ่งจะเป็นข้อเสนอที่จะเสนอเข้าที่ประชุมครม.ต่อไป 2.ในส่วนการห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานก็จะยังคงตามเดิม 3.การงดหรือชะลอการเดินทางข้ามเขตพื้นที่จังหวัด ก็เป็นมาตรการที่ดีในการห้ามการเคลื่อนย้ายคน ฉะนั้นเมื่อลดการเดินทางที่ไม่มีเหตุอันจำเป็นก็ทำให้การส่งต่อเชื้อโรคข้ามจังหวัดลดน้อยลง และ4.งดการดำเนินกิจกรรมในคนหมู่มาก ทั้งการประชุม อบรม สัมมนา การชุมนุมในที่โล่งแจ้งหรือในพื้นที่จัดพิเศษ ถ้ามีคนจำนวนมากก็ขอให้งดเป็นการชั่วคราวไปก่อน นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ในที่ประชุมเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประ ธานคณะที่ปรึกษาด้านธุรกิจ เอกชน ในศบค. ได้มีการเสนอแนวทางการผ่อนปรนภาคธุกิจ หลังขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน โดยจะแบ่งธุรกิจออกเป็น 4 กลุ่มโดยกลุ่มสีขาว เป็นกลุ่มที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวันสามารถเปิดให้บริการได้ซึ่งอาจจะเป็นสถานประกอบการขนาดเล็กในที่โล่งแจ้งสถานที่ที่สามารถควบคุมได้และสวนสาธารณะ สีเขียว คือสถานที่ประกอบการขนาดเล็ก ที่มีทั้งติดแอร์และไม่ติดแอร์และสนามออกกำลังกายกลางแจ้ง สีเหลือง คือพื้นที่ปิดที่มีคนมาจำนวนมาก สีแดงคือพื้นที่เสี่ยงสูง ซึ่งเราก็ไม่อยากให้เปิด อย่างสนามมวยที่มีคนแออัดจำนวนมากหรือสถานบันเทิง ซึ่งนายกฯ เห็นชอบในหลักการ แต่ต้องลงในรายละเอียด โดยนายกฯ ได้ให้หลักการไว้คือ เมื่อเลือกกิจการมาแล้ว ต้องสามารถเปิดได้ทั้งประเทศ ไม่ใช่เปิดได้เฉพาะบางพื้นที่หรือบางจังหวัด เพราะจะทำให้มีการเคลื่อนย้ายประชาชนไปนอกที่ได้ ทั้งนี้นายกฯ ได้ให้สภาพัฒน์ไปพูดคุยกับคณะที่ปรึกษาในเรื่องรายละเอียด เพื่อเสนอในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันที่ 28 เม.ย. แหล่งข่าว เปิดเผย ว่า ในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาและไปจัดทำข้อกำหนดว่าจะมีการผ่อนปรนในเรื่องใดบ้าง โดยเริ่มจากกิจการสีขาวไปก่อน เมื่อได้ความชัดเจนจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 28 เม.ย.นี้ จากนั้นนายกฯจะลงมาเพื่อประกาศต่อไป โดยคาดว่าจะเริ่มในสัปดาห์แรกของเดือนพ.ค.หรือตั้งแต่วันที่ 4 พ.ค.เป็นต้นไป เช่น ร้านอาหารขนาดเล็กที่ไม่ติดแอร์ ตลาดสด ตลาดนัด ร้านเสริมสวย ร้านตัดผม และ ห้างสรรพสินค้า ซึ่งจะมีรูปแบบกำหนดให้ว่าหากเปิดกิจการแล้วจะต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง มาตรการผ่อนปรนที่จะออกมาจะใช้ทั่วประเทศ โดยจะแบ่งเป็นประเภทกิจการเป็นการทยอยปลดล็อกไปทีละขั้น ซึ่งจะมีการประเมินผลทุก 14 วัน ส่วนสถานบันเทิงจะพิจารณาตามลำดับความเสี่ยง โดยกระทรวงสาธารณสุขจะร่วมกับกระทรวงมหาดไทยที่จะดูแล หากจังหวัดไหนผ่อนปรนแล้ว และประเมินผลไม่ผ่านก็จะกลับมาเข้มอีก ด้านมาตรการเคอร์ฟิวในแต่ละพื้นที่ให้ยึดตามประกาศพระราชกำหนดฉุกเฉินคือเวลา 22.00 น.-04.00 น. นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วัฒนธรรม กล่าวภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมเห็นชอบให้เลื่อนวันหยุดราช การในเดือนพ.ค. ทั้งหมด ประกอบด้วย วันที่ 1 พ.ค. วันแรงงานแห่งชาติ วันที่ 4 พ.ค. วันฉัตรมงคล วันที่ 6 พ.ค. วันวิสาขบูชา และวันที่ 11 พ.ค. วันพืชมงคล โดยมีการนำเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ในวันที่ 28เม.ย.นี้ วันเดียวกัน รายงานข่าวจากพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) แจ้งว่า ในช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดการเคลื่อน ไหวทางการเมืองภายในพรรคพลังประชารัฐอย่างหนักเพื่อเปลี่ยนตัวหัวหน้าพรรค นายอุตตม สาวนายน และนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ เลขาธิการพรรค จนเกิดความปั่นป่วนแทบแตก โดยมีการผลักดัน พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ขึ้นเป็นหัวหน้าพรรค นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นเลขาธิการพรรค แผนการเปลี่ยนกรรมการบริหารพรรค พปชร. ในครั้งนี้ เป็นการรวมพลังของ "บิ้กป้อม" พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ประธานยุทธศาสตร์พรรคและรองนายกฯ กับบรรดาแกนนำของพรรคที่รวมกำลังกันหลายสาย อาทิ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ,นายสุชาติ ชมกลิ่น และนายอนุชา นาคาศัย ,นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ ที่ต้องการปรับเปลี่ยนกรรมการบริหารพรรค และต้องการปรับคณะรัฐมนตรี (ครม.) ใหญ่ในเดือนมิ.ย. ภายหลังการประชุมพรรคตามกฎหมาย "ปฏิบัติการเปลี่ยนหัวหน้าพรรคครั้งนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่มอบหมายให้ใครดำเนินการ หรือแค่ส่งสัญญาณแต่ข่าวที่เชื่อถือได้ยืนยันว่า "บิ้กป้อม"พล.อ.ประวิตรเป็นผู้บอกกล่าวด้วยวาจาด้วยตัวเองกับนายอุตตว่า ขอให้ลาออกจากหัวหน้าพรรคและตัวเองจะเป็นหัวหน้าพรรคแทน หลังจากนั้นได้ส่ง "เสธ.อ."ไปกดดันให้นายอุตตมเขียนใบลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค" รายงานข่าว แจ้งว่า ล่าสุด นายอุตตม ปฏิเสธที่จะเขียนใบลาออก ก็มีการเคลื่อนไหวจาก "เสธ.อ." ที่เป็นมือ ขวาในปฏิบัติการของพล.อ.ประวิตร โดยโทรศัพท์ และเดินทางไปล็อบบี้ให้กรรมการบริหารพรรรคหลายคนให้ลาออกจากตำแหน่งโดยตั้งเป้าว่าให้ลาออกเกินครึ่งหนึ่งของกรรมการ ซึ่งจะมีผลทำให้นายอุตตมต้องพ้นจากตำแหน่งโดยอัตโนมัติ ซึ่งจะนำไปสู่การล้างไพ่ใหม่และสามารถเรียกประชุมใหญ่ เพื่อเลือกกรรมการบริหาาพรรคใหม่ในเดือนพ.ค. นี้ แต่ขณะนี้ คณะกรรมการบริหารส่วนใหญ่ ยังไม่ตอบรับการลาออกตามแผนการณ์นี้ แม้ว่า "เสธ.อ" จะกดดันอย่างหนัก จึงยังไม่สามารถ "ล้างไพ่" ในพรรค พปชร.ได้ "การต้องการเปลี่ยนกรรมการบริหารพรรคครั้งนี้มีจุดประสงค์อย่างเดียว เพื่อรองรับ การปรับคณะรัฐมนตรีที่กลุ่ม "บิ้กป้อม" คาดการณ์วิกฤติโควิดคลี่คลาย แต่ปัญหาอยู่ที่จะเรียกประชุมใหญ่ เพื่อเลือกกรรมการบริหารพรรคใหม่ได้อย่างไรในเมื่อสถานการณ์โควิดยังลากยาวเป็นอย่างนี้" ขณะที่ แหล่งข่าวจากพรรค พปชร. แจ้งว่า ได้รับแจ้งจากกรรมการบริหารพรรคว่าจะมีการเปลี่ยนกรรมการพรรคใหม่ และจะมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีใหม่ โดยพล.อ.ประวิตรจะเข้าไปเป็นรมว.มหาดไทยด้วย ขณะที่ นายสันติ พร้อมพัฒน์ จะนั่งตำแหน่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นางนฤมล จะนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง นายณัฐพล ทีปสุวรรณ จะนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน นายอนุชา นาคาศัย จะนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายสุชาติ ชมกลิ่น จะนั่งตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษาฯ ขระที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ในฐานะประธานยุทธศาสตร์พรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกระแสข่าวจะไปนั่งในตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ และจะปรับครม. โดยตนเองจะไปนั่งควบตำแหน่งรมว.มหาดไทย ซึ่งพล.อ.ประวิตรได้หัวเราะเล็กน้อย ก่อนกล่าวว่า ยังไม่มีอะไรหรอก ยังไม่มีการประชุมอะไรเลย จึงต้องไปประชุมก่อน เมื่อถามว่า ทำไมข่าวถูกปล่อยออกมาช่วงนี้และพุ่งมาที่ตนเอง พล.อ.ประวิตร กล่าวเพียงสั้นๆ ว่า "ก็ไม่รู้สิ" ขณะที่ นายวิรัช รัตนเศรษฐ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังประชารัฐ ในฐานะประธานวิปรัฐบาล เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับแกนนำวิปรัฐบาลผ่านทางโทรศัพท์ถึงกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้าน เสนอให้เปิดประชุมสภาสมัยวิสา มัญ เพื่อพิจารณาอนุมัติพ.ร.ก.กู้เงินหรือไม่ รวมถึงเพื่อระดมสมองแก้ปัญหาการระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า การหารือร่วมกันของวิปรัฐบาล มีมติไม่เห็นด้วยกับพรรคร่วมฝ่ายค้านในการเปิดประชุมสภาสมัยวิสามัญ เนื่องจากการประชุมสภาสมัยสามัญจะมีกำหนดเปิดประชุมในวันที่ 22 พ.ค.นี้ อยู่แล้ว โดยเมื่อมีพระราชกฤษฎีกาเรียกประชุมก็เป็นหน้าที่ของประธานสภาจะได้ดำเนินการต่อไป "ในส่วนข้อเสนอของพรรคร่วมฝ่ายค้านนั้น ขณะนี้ยังไม่เห็นว่ามีเรื่องอะไรที่เป็นวาระเร่งด่วนที่จะต้องเปิดประชุมสมัยวิสามัญ เพราะรัฐบาลก็กำลังเร่งแก้ปัญหาการระบาดของโควิด-19 อย่างเต็มที่อยู่แล้ว จึงเป็นกำลังใจในการทำงานให้รัฐบาล" ที่ทำเนียบรัฐบาลพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กรณีกระแสข่าวการปรับครม.ว่า"ไม่มีๆ เอาเรื่องโควิด-19ให้หายดีก่อน ผ่านอุปสรรคต่างๆไปให้เรียบร้อยก่อน ให้คนทำมาหากินได้ด้วยดี