เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 23 เม.ย.63 ที่อาคารเครื่องมือ 3 ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) นครราชสีมา รศ.ร.อ.ดร.กนต์ธร ชำนิประศาสน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล มทส. พร้อม รศ.ดร.ชาญชัย ทองโสภา อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มทส. ,รศ. ดร.สุรพันธ์ ยิ้มมั่น คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และ พล.ต.ดร.ภาณุพงศ์ สุวัณณุสส์ ผู้บัญชาการโรงเรียนช่างฝีมือทหารสังกัดสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ กองบัญชาการกองทัพไทย ร่วมแถลงผลงานวิจัยเครื่องกำจัดและกรองอากาศด้วยระบบพลาสมาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสและเครื่องกำเนิดโอโซนกำลังสูง เพื่ออบกำจัดเชื้อไวรัสในอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ขนาดใหญ่ รศ.ดร.ชาญชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ มทส. ผู้พัฒนาผลงานวิจัยต้นแบบ เปิดเผยว่า สถานการณ์ขณะนี้ทั่วโลกต้องรับมือกับภาวะวิกฤติโควิด-19 ในฐานะนักวิจัยจะพัฒนาอุปกรณ์เพื่อลดโอกาสการแพร่กระจายเชื้อของผู้ป่วยสู่บุคลากรทางการแพทย์ ผู้ใช้บริการในสถานพยาบาลและในชุมชนหนาแน่น จึงได้พัฒนาผลงานวิจัยนวัตกรรมจำนวน 2 เครื่อง ประกอบด้วยเครื่องกำจัดและกรองอากาศด้วยระบบพลาสมาเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส (Plasma air purifier system for controlling virus outbreak) เป็นการออกแบบเพื่อสร้างเครื่องกำจัดเชื้อไวรัสในอากาศและตัวกรองอากาศทดแทนการใช้ตัวกรองอากาศแบบ HEPA filter ด้วยระบบพลาสมา เครื่องกำจัดเชื้อไวรัสในอากาศด้วยระบบพลาสมานั้นจะทำหน้าที่ในการดูดอากาศโดยรอบจากด้านบนของตัวเครื่องในระยะหวังผลประมาณ 15 เมตร หรือเทียบเท่ากับปริมาณอากาศที่ 300 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ผ่านเข้ามาในชุดกำเนิดพลาสมาเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสที่รวมมากับอากาศจะถูกกำจัดออกไปและเครื่องจะส่งอากาศบริสุทธิ์ที่ดีออกทางด้านล่างของตัวเครื่องแทน ซึ่งอากาศที่ถูกปล่อยออกมาจะมีความปลอดภัยต่อมนุษย์เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงาน โดยเครื่องมีขนาด ความกว้าง 0.6 X 1.2 X 2.5 เมตร ใช้กำลังงานไฟฟ้า 500 วัตต์ มีต้นทุนค่าใช้ไฟฟ้าเพียงชั่วโมงละ 2 บาท ส่วนตัวกรองอากาศแบบพลาสมาที่ออกแบบใช้ทดแทนกรองอากาศแบบ HEPA filter ซึ่งเป็นการกรองอากาศที่ต้องใช้แผ่นกรองในการดักจับอนุภาคขนาดเล็กในอากาศ แผ่นกรองอากาศในลักษณะนี้จะต้องมีการทำความสะอาดทุก ๆ เดือน เนื่องจากการสะสมของฝุ่นละอองต่าง ๆ ที่เข้าไปอาจทำให้ประสิทธิภาพการทำงานนั้นลดลงและจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนในทุก ๆ ปี อีกทั้งยังต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณและการบำรุงรักษา รวมถึงปัญหาการทิ้งทำลายที่ต้องอยู่ในการควบคุมทางสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้อุปกรณ์ดังกล่าวสามารถออกแบบให้อุปกรณ์มีขนาดและรูปทรงที่เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อมและการใช้งานในพื้นที่จริงเช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า สนามบิน สถานีขนส่งรวมถึงแหล่งชุมชนแออัด และเครื่องกำเนิดโอโซนกำลังสูงเพื่ออบกำจัดเชื้อไวรัสในอุปกรณ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ขนาดใหญ่ (High power ozone generator for disinfecting large medical supplies and equipment) เป็นการออกแบบสร้างเครื่องกำเนิดโอโซนกำลังสูงเพื่อฆ่าเชื้อไวรัสสำหรับชุดและอุปกรณ์สวมใส่ รวมถึงเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ขนาดใหญ่ เช่น ชุดกาวน์ หน้ากาก หมวก รองเท้า เตียงนอนและรถเข็น ซึ่งเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถใช้งานได้จริงในพื้นที่ของโรงพยาบาลหรือที่อื่น ๆ ระบบมีประสิทธิภาพสูงในการฆ่าเชื้อไวรัส ปลอดภัย ลดระยะเวลาในการฆ่าเชื้อโรคและประหยัดงบประมาณในการนำเข้า สามารถช่วยลดจำนวนผู้ป่วยและการสะสมของเชื้อไวรัสได้ โดยเครื่องกำเนิดโอโซนกำลังสูงที่ออกแบบมาในครั้งนี้มีขนาด กว้าง 0.9 X 1 X 0.5 เมตร สามารถผลิตก๊าซโอโซน (O3) ได้สูงสุดที่ 100g/ชม. กำลังงานโดยรวมเท่ากับ 1.5KW มีรูปแบบในการทำงานที่สำคัญคือ เป็นเครื่องที่ผลิตก๊าซโอโซนจากอากาศหรือจากก๊าซออกซิเจน 100 % (O2) โดยตรง โดยอากาศจะถูกดูดเข้ามาในชุดผลิตก๊าซโอโซน ซึ่งจะใช้วงจรแบบ Corona Discharge ซึ่งถือว่าเป็นวงจรที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ทำให้ได้ปริมาณก๊าซโอโซนในปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็วและประหยัดพลังงานสูงสุด มีต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพียงชั่วโมงละ 5 บาท มีระบบการระบายความร้อนด้วยน้ำ และระบบป้องกันไฟฟ้าแบบอัตโนมัติ สามารถปรับขนาดกำลังงานได้ตามขนาดของพื้นที่ในการใช้งาน เคลื่อนย้ายได้สะดวก เหมาะสำหรับการใช้อบกำจัดเชื้อโรคภายในห้องผู้ป่วย และการอบกำจัดเชื้อโรคที่เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ขนาดใหญ่ อาทิ เตียงและเก้าอี้ผู้ป่วย เป็นต้น ทั้งนี้ ระยะเวลาในการอบกำจัดเชื้อไวรัส ตามมาตรฐานของ FDA (USA) กำหนดไว้ที่ 1.5 ppm เป็นเวลา 4 นาที ถ้าขนาดห้องผู้ป่วยหรือห้องที่ต้องใช้อบฆ่าเชื้อ มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 125 ลูกบาศก์เมตร ก๊าซโอโซนที่ได้จากการอัดอากาศที่100 ลิตร/นาที จะใช้เวลาเพียง 2 นาที ในการผลิตก๊าซโอโซนให้ได้ค่ามาตรฐานที่ 1.5 ppm ตามที่ FDA (USA) กำหนดไว้ และถ้าใช้ก๊าซออกซิเจน 100% แทนการอัดจากอากาศทั่วไประยะเวลาในการผลิตก๊าซโอโซนจะสั้นลงอีกหลายเท่าตัว ซึ่งเครื่องยังสามารถออกแบบได้หลากหลายขนาดตามการใช้งาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ได้มีความร่วมมือทำการทดสอบทางคลินิกพร้อมประเมินผลร่วมกับทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และมีแผนดำเนินการนำไปติดตั้งใช้งานจริงที่โรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลวชิระ โดยทีมวิจัยมีความยินดีมอบเทคโนโลยีทั้ง 2 ผลงานวิจัยให้เป็นสาธารณะประโยชน์ โดยในขณะนี้ทางโรงเรียนช่างฝีมือทหารได้เตรียมพร้อมในการที่จะนำเทคโนโลยีไปขยายผลและผลิตเพื่อมอบให้โรงพยาบาลและสังคมโดยเฉพาะสถานที่ชุมชนแออั