เรียกว่าเป็นดาวหางดวงน้องใหม่ ที่เพิ่งจะค้นพบไปไม่นาน ดูเหมือนกำลังจะมีข่าวร้าย... สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page โพสต์เฟซบุ๊กระบุ ดาวหางแอตลาส ที่นักดาราศาสตร์ทั่วโลกต่างจับตามอง อาจไม่สว่างจนมองเห็นด้วยเปล่าได้อย่างที่คิดเสียแล้ว... เนื่องจากมีนักดาราศาสตร์สังเกตเห็นว่านิวเคลียสของมันอาจกำลังแตกตัว โดยเมื่อวันที่ 6 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา นายเย่เฉวียนจื้อ จากมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ และนายจางฉีเชิน จากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย ได้รายงานในเว็ปไซต์ Astronomer’s Telegram ว่า “นิวเคลียส” หรือก้อนน้ำแข็งบริเวณใจกลางดาวหาง C/2019 Y4 (Atlas) นั้นมีลักษณะเปลี่ยนแปลงไป โดยวิเคราะห์จากภาพที่ถ่ายด้วยกล้องโทรทรรศน์ NEXT (Ningbo Education Xinjiang Telescope)ในช่วงวันที่ 2-5 เม.ย.63 พบว่าภาพเหล่านั้นแสดงให้เห็นลักษณะของนิวเคลียสที่ยืดตัวออกมาในแนวเดียวกับหาง มีความยาวประมาณ 3 ฟิลิปดา ส่งผลให้การสร้างแก๊สรอบดาวหางอาจลดลง จากรายงานดังกล่าวสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์ตำแหน่งวงโคจรดาวหางจากห้องปฏิบัติการเครื่องยนต์ขับเคลื่อนไอพ่น (JPL) ขององค์การนาซา ที่บอกว่าความเร็วการเคลื่อนที่ของดาวหางกำลังลดลง 5-10 เมตร/วินาที เทียบกับตอนที่นิวเคลียสยังอยู่ในลักษณะเดิม บ่งชี้ให้เห็นการลดลงของแรงดึงดูดจากดวงอาทิตย์ที่กระทำต่อดาวหาง และเป็นไปได้สูงมากที่นิวเคลียสของดาวหางดวงนี้กำลังแตกออกมา ก่อนหน้านี้นักดาราศาสตร์ต่างคาดว่า ดาวหางแอตลาสจะสว่างจนสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื่องจากมีค่าความสว่างปรากฏเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สัปดาห์ แต่ปัจจุบันค่าความสว่างปรากฏของดาวหางอยู่ที่ระดับ 8 และเริ่มลดความสว่างลงแล้ว อย่างไรก็ตาม นักดาราศาสตร์ทั่วโลกรวมทั้ง สดร. ยังคงสนใจติดตามกันต่อไป เนื่องจากลักษณะปรากฏของดาวหางนั้นยากต่อการคาดการณ์ และยังมีความเป็นไปได้ที่จะปล่อยแก๊สเพิ่มขึ้นและสว่างกว่าเดิมได้ อ้างอิง : [1] http://www.narit.or.th/index.php/astronomy-news/930-c-2019-y4-atlas [2] http://www.astronomerstelegram.org/?read=13620 [3] https://spaceweatherarchive.com/2020/04/07/comet-atlas-is-breaking-up/ [4] https://earthsky.org/ เรียบเรียง : นายสิทธิพร เดือนตะคุ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร.” อนึ่ง สำหรับดาวหางดวงนี้เป็นที่จับตาของนักดาราศาสตร์ทั่วโลก ด้วยเป็นอีกหน่ึ่งดวงที่จะสามารถมองเห็นได้ตาเปล่า ซ่ึ่งไม่ง่ายท่ี่จะได้เห็นดาวหางด้วยตาเปล่า สังเกตได้ตั้งแต่ช่วงหัวค่ำ ทางทิศเหนือใกล้กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Ursa Major)ถ่ายภาพได้ตั้งแต่วันที่ 10 เมษายนเป็นต้นไป (ในช่วงต้นเดือนยังมีแสงดวงจันทร์รบกวน) ซ่ึงการเดินทางในระบบสุริยะ แต่ละรอบกินเวลายาวนาน ทำให้การเดินทางของดาวหางดวงนี้ที่เข้าใกล้พระอาทิตย์ครั้งนี้อาจเป็นคร้ังเดียวในชีวิตเราที่ได้เห็น ขณะที่ด้านความเชื่อไม่เกี่ยวกับดาราศาสตร์ ต้ังแต่สมัยโบราณเชื่อกันว่า การปรากฏของดาวหางจะเกี่ยวพันกับเหตุอาเพศต่างๆ รวมทั้ง Comet ยังมีรากศัพท์เดียวกันกับคำว่า COMa แต่ทว่าดาวหางโคจรมาแล้วก็ไป (เพจ rangsarit kanjanavanit)