“ฟาร์มหมู่บ้านเห็ด” ย้ำเกษตรกรเพาะเห็ดกระด้างเพิ่มต้านไวรัส COVID-19 เน้นสร้างรายได้ อาหาร และ เป็นยารักษาโรคไวรัสชนิดต่าง ๆ หวังให้สมาชิกที่เคยผ่านการอบรมแนะแนวทางให้เกษตรกรแต่ละหมู่บ้านได้ทำกัน
วันนี้ (29 มีนาคม 2563) ณ ศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มหมู่บ้านเห็ด ชุมชนพรสวรรค์ ในเขตเทศบาลตำบลหนองบัว อ.เมือง จ.อุดรธานี ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ผอ.ศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มหมู่บ้านเห็ด เปิดเผยว่า ขณะนี้โรคไวรัสโคโรน่า COVID-19 กำลังแพร่ระบาดไปหลายๆ พื้นที่ทั่วทั้งประเทศไทย ตนได้ประสานงานกับสมาชิกของ “สมาพันธ์เพาะเห็ด แห่งประเทศไทย” และ สมาชิกที่เคยมาเรียนการเพาะเห็ดกับเรากว่า 3,890 แห่ง ให้ออกมาแนะนำเกษตรกรแต่ละหมู่บ้านให้หันมาทำการเกษตรผสมผสาน นำเอาการ “เพาะเห็ดกระด้าง” มาทำกันเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว ทำเป็นอาหาร พร้อมยังเป็นยารักษาโรคต้านไวรัสชนิดต่าง ๆ หลังจากได้ผ่านการวิจัยจากคณะวิทยาศาสตร์ฯ มทร.อีสาน มาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 เพราะเห็ดบางชนิดนอกจากจะปรุงเป็นอาหารรับประทานได้อร่อยแล้ว ยังมีสรรพคุณเป็นสมุนไพรใช้รักษาโรคได้อีกด้วย “เห็ดกระด้าง” เป็นคำเรียกทางภาคอีสาน เนื่องจากเนื้อเห็ดค่อนข้างเหนียว แต่ทางภาคกลางเรียก “เห็ดบด” ทางภาคเหนือเรียก “เห็ดลม” เห็ดกระด้างเป็นเห็ดที่ขึ้นตามธรรมชาติบนขอนไม้ล้มในป่า เห็ดเป็นเมนูสุขภาพทดแทนการกินเนื้อได้ในบางมื้อ เห็ดจะพบมากในช่วงรอยต่อของฤดูร้อนต่อกับฤดูฝน หรือฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว เนื่องจากอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางคืนและกลางวัน
ผศ.ดร.อานนท์ ได้กล่าวอีกว่า ซึ่ง “เห็ดกระด้าง” ก็จัดอยู่ในกลุ่มดังกล่าวเช่นกัน โดย ในตำรายาแผนไทยโบราณกล่าวว่า “เห็ดกระด้าง” มีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง และ แก้ไข้พิษ ได้เด็ดขาดนัก ในยุคสมัย ก่อนหมอยาแผนไทยจะเอา “เห็ดกระด้าง” ทั้งต้น ไม่ว่าจะเป็นแบบสดหรือแบบแห้ง กะจำนวนตามต้องการ ผสมสูตรสกัดตามโบราณ แล้วนำมาต้มกับน้ำจนเดือดให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงานหนักทั้งวัน หรือไม่แข็งแรงเนื่องจากเพิ่งฟื้นจากไข้ สมรรถภาพทางเพศไม่ค่อยจะดี รับประทานทั้งน้ำและเนื้อประจำ จะทำให้ร่างกายแข็งแรงกระชุ่มกระชวยและมีพละกำลังขึ้นได้เหลือเชื่อ และยังใช้ เป็นยาแก้ไข้พิษได้อีกด้วย ในยุคสมัยนั้นนิยมกันแพร่ หลาย ปัจจุบันน้อยคนนักจะรู้ถึงสรรพคุณดังกล่าว ส่วน ใหญ่นิยมปรุงเป็นอาหารรับประทาน เฉพาะถิ่นทางภาคเหนือกับภาคอีสานเท่านั้นโดยทั้งดอกของ “เห็ดกระด้าง” ปรุงเป็นอาหารพื้นเมือง
ผอ.ศูนย์การเรียนรู้ฟาร์มหมู่บ้านเห็ด กล่าวย้ำท้ายอีกว่า “เห็ดกระด้าง” มีลักษณะหมวกเห็ดเป็นรูปกรวยลึก สีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อนอมเทา เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. เหนียวคล้ายหนัง ขอบงอลง ผิวมีขนสั้นๆ สีน้ำตาล ปลายงอขึ้น ดอกอ่อนมีขอบบางและม้วนงอลง ครีบ สีน้ำตาลอ่อนอมเทา บาง และแคบ เมื่อแห้งจะเหนียว แข็งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลอมม่วง ครีบมี ความยาวต่างกัน 5 ขนาด ด้านในยาวขนานเรียวเล็กลงไปติดก้าน ด้านนอกเรียวแคบไปติดขอบหมวก ขอบครีบเป็นจักฟันเลื่อยเล็กๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่จะสากมือเวลาลูบก้าน แข็ง เหนียว สีขาวนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำตาลดำ เนื้อในเห็ดเป็นสีขาวหม่น หรือขาวนวลอมเทา “สปอร์” รูปรีโค้ง สีขาว ขยายพันธุ์ด้วย “สปอร์” เกิดตามขอนไม้ผุที่มีความชื้น มีชื่อเรียกอีกคือ เห็ดกระด้าง เห็ดลม หรือ เห็ดบด มีขายแบบดอกสด ตามแหล่งจำหน่ายพืชผักพื้นบ้านทั่วไป ราคาไม่แพงนัก ซึ่ง “เห็ดลม” ถ้าเก็บใหม่ๆใส่ถุงพลาสติก หรือวางในกระจาด จะมีกลิ่นหอม เฉพาะตัว เวลานั่งใกล้ๆจะได้กลิ่นชัดเจน มีประโยชน์ ต้าน และ ป้องกันมะเร็ง ลดไขมัน และ โคเลสเตอรอลในเลือดช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ พิษพวกอนุมูลอิสระอัลฟาท็อกซิลทำให้ตับแข็งแรง สามารถทำงานได้ดีขึ้น ทำให้อารมณ์ดี การสร้างเม็ดเลือดแดงดี เพิ่มสมรรถภาพทางเพศให้แข็งแรง และต้านไวรัสชนิดต่างๆได้.
ภัทรวินทร์ ลีปาน
หนองคาย






