IRCo ชี้เตรียมพื้นฐานความต้องการใช้ยางประเทศผู้ซื้อ และปริมาณยางประเทศผู้ผลิตอยู่ในทิศทางบวก การแกว่งของราคายางในช่วงที่ผ่านมา ผลจากการเก็งกำไรเกินควร กระทบราคายาง เตรียมเฝ้าระวังราคาตลาดโลกอย่างใกล้ชิด พร้อมเสนอแนวทางสร้างเสถียรภาพราคายาง เพื่อประโยชน์สูงสุดทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ดร.ธีธัช สุขสะอาด ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการบริษัทร่วมทุนยางพารานานาชาติ (The International Rubber Consortium : IRCo) เป็นประธานการประชุม IRCo โดยมีประเทศสมาชิกประกอบด้วย ประเทศไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ร่วมประชุม ณ โรงแรมอมารี วอเตอร์เกท กรุงเทพฯ ดร.ธีธัช สุขสะอาด ประธาน IRCo ดร.ธีธัช สุขสะอาด ประธาน IRCo กล่าวว่า ที่ประชุมฯ ได้หารือร่วมกันประเด็นการรักษาเสถียรภาพราคายาง ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ราคายางมีลักษณะของการแกว่งตัวค่อนข้างสูง ทั้งๆ ที่ปัจจัยพื้นฐานอยู่ในทิศทางบวก ไม่ว่าจะเป็นปริมาณยางพาราที่ลดลงเป็นจำนวนมาก เนื่องจากสภาพอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งฝนตกน้ำท่วมในภาคใต้ของประเทศไทย ทำให้กระทบจำนวนปริมาณของยางพาราที่ออกมาช่วงนั้น ซึ่งจากการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นพบว่า วิกฤตน้ำท่วมภาคใต้ของไทยมีส่วนต่อการลดปริมาณซัพพลายของยาง ธรรมชาติลงกว่า 10% ของโลก ประกอบกับ ในช่วงราคายางต่ำมีหลายประเทศลดปริมาณการผลิตยางลง ยกตัวอย่าง เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่ค่อนข้างจะมีความอ่อนไหวต่อราคา เมื่อราคายางต่ำลงทั้ง 3 ประเทศเปลี่ยนไปท าอาชีพอื่น หรือมีรายได้เพิ่มจากการท าอาชีพอื่น เพราะฉะนั้น ปริมาณของยางพาราในห้วง ระยะเวลาในปี 2016-2017 มีปริมาณที่น้อยลงกว่าที่คาดไว้ ประธาน IRCo กล่าวว่า หากวิเคราะห์จากปัจจัยด้านความต้องการใช้ยาง ซึ่งผู้บริโภครายใหญ่ที่สุด คือ ธุรกิจยานยนต์ จะพบว่า จ านวนของยานพาหนะเพิ่มสูงขึ้น ยอดขายของประเทศผู้ผลิตเพิ่มสูงขึ้นมาก ทั้งในกลุ่ม ของประเทศในจีน ยุโรป ญี่ปุ่น พบว่ามีอัตราการเติบโตสูงขึ้นค่อนข้างมากจากเดิมที่คาดไว้ 7% เป็น 12% เช่น ประเทศจีนเพิ่มสูงขึ้น 7.37% ยุโรปเพิ่มมากขึ้นถึง 8.42% ญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น 12.33% แม้ในสหรัฐอเมริกาอาจมีการย่อ ตัวลงเล็กน้อยคือ 1.51% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าโดยรวมปริมาณความต้องการหรือการขยายตัวของธุรกิจ ยานยนต์ยังมีความต้องการใช้ยางสูง ในขณะเดียวกัน GDP ของประเทศผู้ใช้ยางจากตัวเลขของ IMF มีอัตราการเติบโต สูงขึ้นด้วย ยกตัวอย่างเช่น อเมริกา แม้จะเติบโตขึ้นเป็น 2.3% แต่ยังเพิ่มจากปีที่แล้ว 0.7% ยุโรป 1.7% ญี่ปุ่น 1.2% และอินเดียกระโดดจาก 6.8% เป็น 7.2% เพราะฉะนั้นจะเห็นว่าโอกาสการเติบโตหรือความต้องการของผู้บริโภคเพิ่ม สูงขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยพื้นฐานเรื่องของสต็อกเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ ปัจจุบันอัตราส่วนของสต็อกกับการบริโภคยัง อยู่ค่อนข้างต่ำ และมีโอกาสที่จะทำให้ราคามีการปรับตัวสูงขึ้น โดยในเวทีการประชุมวิชาการของประเทศจีน (China Rubber Conference) พบว่า ในประเทศจีน มีอัตราการเพิ่มขึ้นของธุรกิจยานยนต์ 15.9% ซึ่งเพิ่มสูงกว่าที่คาดไว้ถึง 5% ทำให้รัฐบาลจีน มีการสนับสนุนและเพิ่มแรงจูงใจด้านภาษี เพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ยางธรรมชาติมากขึ้น นำไปสู่ ธุรกิจยานยนต์เพิ่มสูงขึ้นไปด้วย ทั้งนี้ สต๊อกยางของโลกในปี 2017 มีเพียง 2.3 ล้านตัน ขณะที่ความต้องการใช้ยางต่อ ปีมี 12.7 ล้านตนั ซง่ึโอกาสในการเก็บของสต็อกยังมีอยู่มาก ดร.ธีธัช กล่าวว่า ปัจจัยพื้นฐานไม่ว่าจะเป็นดีมานต์หรือซัพพลายเป็นไปในเชิงบวก แต่สิ่งที่ทำให้ เกิดราคายางแกว่งในช่วงที่ผ่านมา มาจากการเก็งกำไรจนเกินควร หากมองถึงการเปลี่ยนแปลงในตัวเลขที่สำคัญๆ ต่อ สถานการณ์เศรษฐกิจอย่างการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ ามัน ที่ผ่านมามีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่ 3.6 % ขณะที่ดัชนีใน เรื่องของสินค้าโภคภัณฑ์โดยรวมมีการเปลี่ยนแปลงเพียงแค่ 0.4% และยางสังเคราะห์ มีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ ราคาอยู่เพียง 6.7% แต่ในตลาดยางกลับพบว่า มีการเก็งก าไรสูงถึง 16.6 % แสดงว่าการเก็งราคาไม่สะท้อนเรื่อง ปัจจัยพื้นฐาน แต่เป็นเรื่องการเก็งกำไรจากการสร้างกระแสให้ราคาขึ้นลงในเชิงข่าวเท่านั้น “ณ วันนี้อุตสาหกรรมยางพารายางยังเป็นอุตสาหกรรมที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแรง คณะกรรมการบริหาร จาก 3 ประเทศ มีความห่วงใย เกี่ยวกับตลาดที่มีการเก็งกำไรค่อนข้างสูง สะท้อนให้เห็นถึงระดับราคาที่ไม่เป็น ธรรมกับเกษตรกรผู้ปลูกและผู้ประกอบการ สิ่งเหล่านี้ IRCO จะทำหน้าที่เข้ามามีบทบาทในการรักษาระดับราคา ให้มีเสถียรภาพมากขึ้น เพราะต้นยาง 1 ต้น ใช้เวลา 7 ปีกว่าจะเติบโตและกว่าจะสามารถกรีดออกมาเป็นผลผลิตได้ ขณะที่ยางที่เป็นยางเทียมใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่วันในการทำการผลิต เพราะฉะนั้น ความสำคัญของยาง ธรรมชาติยังมีอยู่แน่นอน และยังมีความส าคัญต่อความต้องการใช้อีกมาก” ดร.ธีธัช กล่าว ประธาน IRCo กล่าวเพิ่มเติมว่า คณะกรรมการ IRCO ที่ร่วมประชุมในครั้งนี้จะนำเสนอประเด็นเหล่านี้ต่อที่ ประชุมคณะรัฐมนตรีของ 3 ประเทศที่จะมีการประชุมร่วมกันในเร็วๆ นี้ เพื่อตัดสินใจแนวทางที่จะเข้าไปมีบทบาทใน เรื่องที่ทำให้ราคายางพารามีเสถียรภาพมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การพยายามผลักดันเรื่องการซื้อขายในตลาดที่เป็น ตลาดซื้อขายส่งมอบมากขึ้นแทนตลาดที่เป็นตลาดลักษณะเก็งกำไร เพื่อให้เป็นทางเลือกให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย และลดความเสี่ยงจากการเก็งกำไร ซึ่งตลาดยางพาราระดับภูมิภาค (RRM) มีความพร้อมทั้ง 3 ประเภทแล้วแต่พยายาม ผลักดันให้มีความเข้มแข็งขึ้นให้มากที่สุด จะสามารถช่วยแก้ปัญหาปัจจุบันได้ในระดับหนึ่ง และคณะกรรมการ IRCO มีความเห็นร่วมกันว่า จะทำการศึกษาแนวทางเพิ่มเติมในการติดตามผลของราคาหรือแนวโน้มของราคา เพื่อก ากับ ควบคุมให้ราคายางมีความเสถียรภาพให้มากขึ้น ซึ่งอาจหมายถึง การประกาศใช้แนวทางเรื่องของการควบคุมปริมาณ การส่งออกครั้งที่ 5 ด้วย อย่างไรก็ตาม จะต้องได้รับการเห็นชอบจากทั้ง 3 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพราะการใช้การควบคุมปริมาณการส่งออกใช้มาแล้วในปีที่ผ่านมา และได้ผลในส่วนของราคาค่อนข้างมาก เพราะฉะนั้นอาจจะเป็นแนวทางที่จะน ากลับมาใช้ควบคุมเพื่อให้ราคายางไม่แกว่งตัวมากเกินไป