คาดสหรัฐตัดสิทธิ GSP ผู้ค้าต้องจ่ายภาษีเพิ่มจากเดิม 1.5-1.8 ล้านบาท ยัน ไทยไม่เปิดรับเนื้อสุกร จากสหรัฐ เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 3 มี.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เรื่อง ความคืบหน้ากรณีการดำเนินการ สหรัฐอเมริการตัดสิทธิพิเศษทางภาษี(GSP)ประเทศไทย ว่า กรณีดังกล่าวจะมีการบังคับใช้วันที่ 25 เม.ย. 2563 โดยจะมีผลกระทบต่อสินค้าไทยที่ส่งออกไปสหรัฐอเมริกา 573 รายการ อย่างไรก็ตามประเทศไทยไม่ได้ใช้สิทธิ GSP ทั้ง 573 รายการ และเมื่อถูกตัดสิทธิ เท่ากับว่า ผู้ส่งออกของไทยต้องเสียภาษีที่สหรัฐฯเพิ่มขึ้น 4-5% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1500-1800 ล้านบาท ขณะที่จำนวนสินค้า 573 รายการ คิดเป็น 4.1% ของสินค้าที่ส่งออกเท่านั้น ที่ผ่านมาสหรัฐฯให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ตัดสิทธิ มาจาก ประการแรก ประเทศไทยไม่คุ้มครองสิทธิแรงงานตามมาตรฐานสากล โดยสหรัฐฯต้องการให้มีการปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล ซึ่งทางการไทยได้ยกร่างแก้ไข พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ไปแล้ว แต่อยู่ในชั้นกฤษฎีกา อย่างไรก็ตาม พอชี้แจงแล้ว เขาก็ยังไม่พอใจกับคำอธิบายนี้ เพราะเขายังบอกว่าเรายังเดินหน้าไม่เต็มที่ แต่ยังติดใจใน 3 ประเด็น คือ 1.ให้แรงงานต่างด้าวจัดตั้งสหภาพแรงงาน 2.ให้เสรีภาพในการพูดแก่ลูกจ้างางและ 3.การเข้าร่วมสหภาพแรงงานของลูกจ้างรับเหมาค่าแรง ซึงทั้ง 3 ประเด็นกระทรวงแรงงานได้ทำประชาพิจารณืกับทุกฝ่ายแล้ว แต่ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่เพราะมีบางภาคส่วนที่เห็นแย้ง ประการต่อมา คือ อยากให้ประเทศไทยเปิดตลาดเนื้อสุกร ซึ่ง เนื้อสุกรที่มาจากสหรัฐมีสารปนเปื้อนคือ สารเร่งเนื้อแดง ซึ่งในช่วงอภิปรายไม่ไว้วางใจฯที่ผ่านมา มีการสรุปกันเองว่าประเทสไทย เปิดตลาดให้สินค้าเนื้อจากสหรัฐฯแล้ว ซึ่งต้องขอยืนยันว่า ประเทสไทยยืนยันท่าทีเดิม คือไม่เปิดตลาดเนื้อสุกรสหรัฐทุกประเภท เนื่องจากเรามีประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดมาตรฐานอาหารที่มีการปนเปื้อน ห้ามมีสารเร่งเนื้อแดงตกค้างอย่างเด็ดขาด ซึ่งเรายืนยันว่าเราจะไม่เปิดตลอดเนื้อสุกรจากสหรัฐอย่างแน่นอน