ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พัฒนาชุมชนจังหวัดน่าน นำโดยนางณัฐนรี ศรีชัยยะ รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดน่านร่วมกับ เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติภาคเหนือ จังหวัดน่าน ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนลำปาง พัฒนาการอำเภอ นักวิชาการพัฒนาชุมชนจังหวัดและอำเภอ ปราชญ์ชุมชนจากพื้นที่ 15 อำเภอของจังหวัดน่าน ภาคีเครือข่ายการพัฒนา และชาวอำเภอเวียงสา จำนวน 200 คน ดำเนินกิจกรรมเอามื้อสามัคคี "ห่อข้าว เอามื้อ" โคกหนองนาโมเดล ร่วมกันขุดลอกคลองไส้ไก่ นำฟางข้าว ซังข้าวโพด มาห่มดิน ทำปุ๋ยหมัก และปุ๋ยน้ำหมักสมุนไพร ณ แปลง นายประทุมพร กุลาหลัก บ้านใหม่เจริญราษฎร์ หมู่ที่ 4 ตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสาจังหวัด ด้วยการน้อมนำศาสตร์พระราชามาเป็นแนวทางในการดำรงชีวิต ยึดหลักการมีส่วนร่วม ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ สร้างความเข้าใจ ในการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา เพื่อพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะบุคลากรในพื้นที่ เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม และพัฒนาพื้นที่ของตนเองจนกลายเป็นตัวอย่างความสำเร็จขยายผลสู่พื้นที่อื่นต่อไป พร้อมเสวนาสรุปผลการเรียนรู้ และมีแผนในการเข้าไปเรียนรู้ในศูนย์เรียนรู้ชุมชนต้นน้ำต่อไป นางณัฐนรี ศรีชัยยะ รักษาราชการแทนพัฒนาการจังหวัดน่าน กล่าว ปัจจุบันชาวบ้านที่มีอาชีพทางการเกษตรประสบปัญหามากมายโดยเฉพาะเรื่องน้ำ ทั้งภัยแล้ง และภัยน้ำท่วม ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้อย่างต่อเนื่อง กรมการพัฒนาชุมชน และกระทรวงมหาดไทยมีนโยบายสนับสนุนให้มีการขยายผลการดำเนินโครงการ “โคกหนองนาโมเดล” สู่ทุกหมู่บ้าน ส่งเสริมให้ประชาชนมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้จริง และสามารถนำไปเป็นต้นแบบในขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนเดือนร้อนของประชาชนได้จริง ส่งเสริมให้ประชาชนมีการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาดำเนินการให้เป็นรูปธรรม เข้าใจง่าย ปฏิบัติได้จริง และสามารถนำไปเป็นต้นแบบในขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ให้สามารถแก้ไขปัญหาความยากจนเดือนร้อนของประชาชนได้จริง โคก หนอง นา โมเดล คือการจัดการพื้นที่ที่เหมาะสมกับพื้นที่การเกษตร ซึ่งเป็นการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆ โคก หนอง นา โมเดล เป็นการที่ให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเอง โดยมีมนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จ โคก คือ พื้นที่สูง ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูกป่า 3 อย่างประโยชน์ 4 อย่าง ตามแนวทางพระราชดำริปลูกพืชผักสวนครัวเลี้ยงสัตว์ให้พออยู่พอกินพอใช้ ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ หนอง คือ ขุดหนองเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม คลองไส้ไก่ คือ ช่วยกระจายน้ำรอบพื้นที่ ขุดให้มีลักษณะคดเคี้ยวเพื่อให้น้ำไหลผ่านท่วมพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื่นให้กับพื้นดิน ส่งผลดีต่อการทำการเกษตรและปลูกพืชผล พื้นที่นานั้น ให้ปลูกข้าวอินทรีย์ โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดินด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืนคืนชีวิตเล็กๆหรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดิน ใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนา เพื่อควบคุมหญ้าทำให้ปลอดสารเคมีได้ปลอดภัยทั้งคนปลูกและคนกินยกให้มีความสูงและกว้าง การห่มดินใช้ฟางเศษหญ้าหรือใบไม้ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติและใส่อาหารให้แก่ดินด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพลงไปเพื่อให้อาหารแก่ดินและดินจะปล่อยธาตุอาหารให้พืชโดยกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์เรียกหลักการนี้ว่า "เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช"