ประเพณีสงกรานต์เป็นที่รู้จักของคนทั่วโลก ภายใต้ชื่องาน “Water Festival” ซึ่งทุกปีได้รณรงค์ในเรื่องของการจัดงานที่ปลอดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสามารถทำได้จริงเป็นรูปธรรมแล้ว ที่ถนนข้าวเหนียว จ.ขอนแก่น ประชาชนสามารถสนุกสนานได้โดยไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ “ถนนข้าวเม่า” เป็นถนนชื่อเรียกอีกสายหนึ่งในช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยเทศบาลเมืองมหาสารคาม ได้เปลี่ยนชื่อจาก “ถนนผดุงวิถี” เป็น “ถนนข้าวเม่า” เพื่อให้พี่น้องประชาชนได้เล่นน้ำสงกรานต์กันอย่างปลอดภัย โดยปราศจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งปีนี้ได้ทำต่อเนื่องติดต่อกันมาเป็นปีที่ 5 แล้ว ซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาช้านานตั้งแต่บรรพบุรุษหรือเทศกาลปีใหม่ไทย ช่วงปีใหม่ไทย หรือ เทศกาลในปี2560 สำหรับการประกาศนามของ เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ อังคาร เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 90 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า ตรงกับ ปีระกา มีนาคให้น้ำ 4 ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีน้อย กลางปีงาม แต่ปลายปีมาก เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ อาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก หรือ น้ำท่วม เกณฑ์ธัญญาหาร ชื่อ วิบัติ ทำนายว่า ข้าวกล้าในไร่นา จะมีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล 1 ส่วน เสีย 5 ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราศจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมาก ในปีนี้ คือนางกาฬกิณีเทวี หรือ นางกิริณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกมณฑา (ดอกยี่หุบ) อาภรณ์แก้วมรกต ภักษาหารถั่วงา พระหัตถ์ขวาทรงขอช้าง พระหัตถ์ซ้ายทรงปืน เสด็จมาบนหลังคชสาร (ช้าง) เกณฑ์พิรุณศาสตร์ ปีนี้ อังคาร เป็นอธิบดีฝน บันดาลให้ฝนตก 300 ห่า ตกในเขาจักรวาล 120 ห่า ตกในป่าหิมพานต์ 90 ห่า ตกในมหาสมุทร 60 ห่า ตกในโลกมนุษย์ 30 ห่า ตรงกับ ปีระกา มีนาคให้น้ำ 4 ตัว ทำนายว่า ฝนต้นปีน้อย กลางปีงาม แต่ปลายปีมาก เกณฑ์ธาราธิคุณ ชื่อ อาโป (ธาตุน้ำ) น้ำมาก หรือ น้ำท่วม เกณฑ์ธัญญาหาร ชื่อ วิบัติ ทำนายว่า ข้าวกล้าในไร่นา จะมีด้วงแมลงรบกวน ข้าวกล้า จะได้ผล 1 ส่วน เสีย 5 ส่วน บ้านเมืองจะเกิดยุทธสงคราม จะฆ่าฟันกัน จะนิราศจากกัน จะฉิบหายเป็นอันมาก นางสงกรานต์ ปี 2560 นามว่า นางกาฬกิณีเทวี ทรงพาหุรัดทัดดอกยี่หุบ อาภรณ์แก้วมรกต นอนบนหลังช้าง ทำนายว่า น้ำมาก พืชพรรณธัญญาหารจะถูกแมลงรบกวน บ้านเมืองเกิดยุทธสงคราม น.พ.กิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองมหาสารคาม กล่าวว่า เทศบาลเมืองมหาสารคามได้ร่วมกับ กทท.สสส.จังหวัดมหาสารคาม ชุมุชน ร่วมกันสืบสานประเพณีสงกรานต์โดย กิจกรรมภายในงานวันที่ 12 เมษายน ตั้งแต่เวลา 14.09 น. จะมีพิธีบวงสรวงเทวดาขอขมาบูชาพรพุทธกันทรวิชัย อภิสมัยธรรมนายก พระคู่บ้านคู่เมืองมหาสารคาม ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเสด็จประกอบพิธีเททองหล่อด้วยพระองค์เอง เมื่อ พ.ศ.2524 ณ สถาบันวิจัยศิลปวัฒนธรรมอีสาน ขบวนแห่ส่งเสริมวัฒนธรรมประเพณีของดีประจำอำเภอ 13 อำเภอ โดยตั้งตั้งขบวนแห่ 4 ขบวน ใน 4 มุมเมือง จะเป็นพิธีเปิดงานยิ่งใหญ่ พร้อมชิมข้าวเม่าถาดยักษ์ ส่วนช่วงค่ำเวลา จะมีการประกวด “ผ้าขาวม้าน่าใส่ ผ้าไหมน่าห่ม” ชิงรางวัลเงินสดรวม 9,000 บาท และรางวัล “ผู้ว่าถูกใจใช่เลย”วันที่ 13 เมษายน เป็นวันผู้สูงอายุ ช่วงเช้า กำหนดจัดพิธีทำบุญตักบาตรปีใหม่ไทย สรงน้ำพระ รดน้ำขอพรผู้สูงอายุ ภาคบ่ายเวลา ทั้งวันที่ 13 และ 14 เมษายน ร่วมเล่นน้ำสงกรานต์ 2 บรรยากาศ หากชอบบรรยากาศร่วมสมัย เชิญเล่นน้ำที่ถนนข้าวเม่า มีดนตรีสนุกสนานทั้งสตริงและลูกทุ่ง มีซุ้มข้าวเม่าแลกน้ำเมา พร้อมบริการเติมน้ำเต็มถัง แต่หากชอบบรรยากาศสงกรานต์อีสานย้อนยุค เชิญที่ถนนผ้าขาวม้า มีการประกวดหมอลำกลอนย้อนยุค หมอลำซิ่ง รำวงย้อนยุค ช็อป ชม ชิมอาหารพื้นบ้าน 13 อำเภอ การละเล่นกีฬาพื้นบ้าน สรงน้ำพระพุทธรูปประจำวันเกิด และนิทรรศการบุญเดือนห้า สงกรานต์อีสาน ด้านดร.นิรุท อุทธา ผอ.ศูนย์การแก้ไขปัญหาแอลกอฮอล์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกิจกรรมแถลงข่าว “ตักสิลามหาสงกรานต์ ถนนข้าวเม่า ปลอดเหล้าปลอดภัย” ตอน “กินข้าวเม่าเมืองตักสิลา แต่งผ้าขาวม้าเล่นสงกรานต์” เป็นการบอกเล่าเรื่องราวที่จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับเทศบาลเมืองมหาสารคาม จัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 14 เมษายน 2560 ณ บริเวณวงเวียนรอบหอนาฬิกา และภายในสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม เพื่อสืบสานวัฒนธรรมขนบธรรมเนียมประเพณีให้ลูกหลานได้เรียนรู้สืบไป เช่น ขบวนแห่สงกรานต์ สรงน้ำพระประจำเมืองพระพุทธกันทรวิชัย ก่อเจดีย์ทราย การละเล่นพื้นบ้าน การผลิตข้าวเม่า ข้าวโป่ง ข้าวจี่ การทำอาหารพื้นบ้าน การทอผ้าขาวม้าและเครื่องจักรสาน และการแสดงผ้าขาวม้าน่าใส่ ผ้าไหมน่าห่ม นายเสนห์ นนทะโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า งานประเพณีสงกรานต์ในปีนี้จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “กินข้าวเม่าเมืองตักสิลา แต่งผ้าขาวม้าเล่นสงกรานต์” โดยนอกจากบริเวณวงเวียนรอบหอนาฬิกา และภายในสนามหน้าที่ว่าการอำเภอเมืองมหาสารคาม จะกำหนดให้เป็นถนนข้าวเม่าแล้ว ยังเพิ่มพื้นที่อีก 1 แห่ง คือ “ถนนผ้าขาวม้า” จากหอนาฬิกาไปทางหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งจะประดับด้วยผ้าขาวม้าที่มีสีสันลวดลายสวยงาม ให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพเป็นที่ระลึก และปลุกจิตสำนึกการอนุรักษ์ผ้าขาวม้า ที่ใช้ได้สารพัดประโยชน์ ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของจังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากมีหลายชุมชนเป็นแหล่งผลิตผ้าขาวม้า โดยรณรงค์ให้คนมาเล่นสงกรานต์ในปีนี้ได้สวมใส่ผ้าขาวม้า หรือผ้าไทยที่มีผ้าขาวม้าเป็นส่วนประกอบ