จากความเชื่อที่ว่า “ป่าชุมชน” เป็นกลไกในการขับเคลื่อนการอนุรักษ์ป่าจนสามารถเพิ่มพื้นที่ป่าของประเทศได้ เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) นำโดย บุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร ได้นำสื่อมวลชนลงพื้นที่ สัมผัสวิถี “คนรักษ์ป่า” ของ “ชุมชนบ้านแม่ขมิง” ซึ่งเป็นชุมชนที่ดูแลป่าจนน้ำไม่เคยหมดและรักษาป่าให้ปลอดไฟ ณ หมู่ที่ 2 ต.สรอย อ.วังชิ้น จ.แพร่ บุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บมจ.ราช กรุ๊ป บุญทิวา ด่านศมสถิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร บริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ที่บริษัทฯ ริเริ่มและดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2551 ได้ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป้าหมาย 15 ข้อ 15.2 ในการส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่า โดย “ป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง” ได้รับรางวัลป่าชุมชนชนะเลิศดีเด่นด้าน “ป่าชุมชน : สืบสาน รักษา ต่อยอด สร้างสุขปวงประชา” จาก “โครงการคนรักษ์ป่า ป่ารักชุมชน ประจำปี 2562” ซึ่งป่าแห่งนี้ได้น้อมนำและสืบสานศาสตร์พระราชาในการพัฒนา รักษา และฟื้นฟูป่าบ้านแม่ขมิง จนอุดมสมบูรณ์กลายเป็นแหล่งผลิตน้ำและอาหารหล่อเลี้ยงคนในชุมชนและทั้งจังหวัดแพร่มาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังมีความเข้มแข็งในการป้องกันการบุกรุกทำลายป่าของคนและไฟป่าได้อย่างยอดเยี่ยม จุดเด่นที่ทำให้ “ป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง” ได้รับรางวัลป่าชุมชนชนะเลิศดีเด่นฯ อยู่ที่ได้เชื่อมโยงการบริหารจัดการดิน – น้ำ– ป่า อย่างเป็นระบบ โดยใช้กระบวนการ D-S-L-M (Demand-Supply-Logistic-Management) เริ่มตั้งแต่การจัดการดูแลป่าซึ่งเป้นแหล่งต้นน้ำ อาทิ ปลุกป่าเสริม, การทำแนวกันไฟ, การทำธนาคารใบไม้. การสร้างฝาย และกักเก็บน้ำด้วยหลักการอ่างเล็กเติมอ่างใหญ่ ซึ่งการบริหารจัดการป่าและน้ำได้สัมฤทธิ์ผล นำมาสู่การเป็นชุมชนต้นแบบการเรียนรู้ให้แก่ชุมชนและองค์กรต่างๆ อัจฉริยะพงษ์ ปันฟอง ประธานป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง ด้าน อัจฉริยะพงษ์ ปันฟอง ประธานป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง กล่าวว่า กุญแจสำคัญของความสำเร็จคือ “ความสามัคคี” และ “ทีมงานที่เข้มแข็ง” เรามีคณะกรรมการป่าชุมชน และจัดทำแผนการฟื้นฟูป่าประจำปี พยามยามดึงคนทุกกลุ่ม ทุกวัยเข้ามาร่วมในทุกกิจกรรม อีกทั้งยังจัดทำธนาคารใบไม้ เพื่อลดการเผาในชุมชนและลดจำนวนเชื้อเพลิงที่ติดไฟง่าย และนำมาสร้างประโยชน์ด้วยการหมักกับมูลวัวมาทำเป็นปุ๋ยชีวภาพใช้ในการเกษตรของคนในชุมชน นอกจากนี้ยังตั้งเป้าหมายสร้างฝาย 500 ฝาย ภายใน 5 ปี (ตั้งแต่ปี 2560- ปี 2563 สร้างฝายแล้วเสร็จรวม 205 ฝาย) เพื่อรักษาป่าต้นน้ำ สร้างความชุ่มชื้นให้กับป่า และดักตะกอนก่อนไหลลงสู่อ่างน้ำ เรียนรู้กิจกรรม "ธนาคารใบไม้" “คณะกรรมการป่าชุมชนยังมีกุศโลบายในการสร้างป่า ด้วยการสร้างเครือข่ายขยายแนวร่วมในชุมชนใกล้เคียง โดยส่งเสริมการพืชเศรษฐกิจเพื่อสร้างรายได้ให้ชุมชนที่เห็นผลเชิงประจักษ์ คือ การปลูกกาแฟ จนเกิดการก่อตั้ง เดอะ ปางงุ้น วัลเล่ย์ เป็นวิสาหกิจชุมชนใกล้เคียงที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับป่าชุมชนบ้านแม่ขมิง ที่ทั้งปลูกกาแฟ รับซื้อเมล็ดกาแฟจากเกษตรกรจังหวัดแพร่ และยังเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้การปลูกกาแฟ“ อัจฉริยะพงษ์ กล่าว นุช – ภคนันท์ วงศ์ทา ที่น่าสนใจชุมชนบ้านแม่ขมิงยังให้เยาวชนในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลป่า ผ่านกิจกรรม “ธนาคารใบไม้” และ “ยุวเกษตรกร” โดย นุช – ภคนันท์ วงศ์ทา ชั้นม.5 โรงเรียนสรอยเสรีวิทยา ต.สรอย อ.วังชิน จ.แพร่ เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยเข้ามาที่ป่าชุมชนแม่ขมิงบ่อยๆ สภาพป่าเมื่อก่อนที่เป็นพื้นที่โล่งๆแทบจะไม่มีต้นไม้ แต่ในวันนี้มีต้นไม้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ส่วนตัวได้เข้าร่วมกิจกรรมมา 2 เดือนแล้วค่ะ สนุกดีได้ปลูกป่า สร้างฝาย และทำธนาคารใบไม้ ซึ่งทุกกิจกรรมมีประโยชน์จริงๆ ทุกวันนี้ไฟป่าลดลงและในชุมชนมีน้ำใช้ไม่ขาดแคลน อยากฝากถึงเพื่อนๆที่มีป่าชุมชน ช่วยกันรักษาป่าปลูกต้นไม้กันเยอะๆไม่เผาไม่ทำลายป่านะคะ ฝายกั้นน้ำ “ชุมชนบ้านแม่ขมิง” เคยประสบเหตุการณ์ดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน รวมทั้งพื้นที่เกษตรกรอย่างมากเมื่อ พ.ศ.2544 ต่อมาได้ขออนุมัติจัดตั้งป่าชุมชนขึ้น โดยครั้งที่ 1 เมื่อปีพ.ศ.2547 และได้รับการต่ออายุโครงการป่าชุมชนต่อเนื่องครั้งที่ 2 เมื่อเดือนมิถุนายน 2562