กฤษฏีกา จบปัญหาทับซ้อนส.ป.ก.-ป่าไม้ ยกคำพิพากษาศาลฏีกาหลายคดี ตีความชัด ที่ส.ป.ก.เอ๋ ปารีณา เขาสนฟาร์ม มีสถานะเป็น “ป่า” ระบุยังไม่เพิกถอนสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ จนกว่าจัดสรรกระจายสิทธิส.ป.ก.แล้วเสร็จและมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันที่ 11 ก.พ. นายปกรณ์ นิลประพันธ์ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ส่งความเห็นมายังกรมป่าไม้ และสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ที่ได้หารือแนวทางกฏหมายในการบังคับใช้กับผู้ถือครองที่ดินในเขตป่าไม้ ทับซ้อนกับเขตประกาศปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (เพื่อหาข้อยุติทางกฏหมายในหลายกรณีรวมทั้งกรณีที่ดิน เขาสนฟาร์ม ถือครองโดยน.ส.ปารีณา ไกรคุปต์)โดยสรุปดังนี้ในบันทึกสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เรื่อง การบังคับใช้พระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2584 และพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507ในเขตปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม จากกรมป่าไม้ได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ ทส1609.2/ 25460ลงวันที่ 13ธันวาคม 2562ถึงสํานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สรุปความได้ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติ เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536อนุมัติให้ดําเนินการปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติที่ได้จําแนกไว้ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเกษตร (Zone A) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4พฤษภาคม 2536ให้กรมป่าไม้มอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติและป่าไม้ถาวรที่เสื่อมสภาพแล้วและที่มีราษฎรเข้าถือครอง ทํากินอยู่ให้สํานักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) นําไปปฏิรูปที่ดิน และระหว่าง ส.ป.ก. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลพื้นที่ดังกล่าวกับกรมป่าไม้ หน่วยงานใดจะเป็นหน่วยงานหลักในการดําเนินคดี ในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ในปี พ.ศ.2554ได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตที่ดิน ในท้องที่ตําบลแก้มอ้น ตําบลเบิกไพร ตําบลด่านทับตะโก ตําบลปากช่อง ตําบลจอมบึง ตําบลรางบัว อําเภอจอมบึง ตําบลป่าหวาย ตําบลท่าเคย ตําบลตะนาวศรี อําเภอสวนผึ้ง และตําบลหนองพันจันทร์ ตําบลบ้านคา ตําบลบ้านบึง อําเภอบ้านคา จังหวัดราชบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ. 2554โดยให้ยกเลิกพระราช กฤษฎีกากําหนดเขตที่ดิน ในท้องที่อําเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน พ.ศ.2521 กรมป่าไม้ ได้หารือปัญหาข้อกฎหมายกรณีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ที่ได้ให้ความเห็นไว้ว่า ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะนั้น ๆ ให้เข้าทําประโยชน์ในที่ดินของรัฐ มิใช่ผู้บุกรุกและไม่ต้องขออนุญาตแผ้วถางป่าตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ “ผู้ได้รับอนุญาตตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๒ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ให้เข้าทําประโยชน์เพื่อเกษตรกรรมในที่ดินที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้จัดสรรเพื่อเกษตรกรรม ด้วยเหตุนี้ “ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมายเฉพาะนั้น ๆ” ในความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องเสร็จที่ ๒๐๓/๒๕๓๖ จึงหมายถึงบุคคลดังกล่าวข้างต้น ส่วนการจะพิจารณาว่า “ผู้ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย เฉพาะนั้น ๆ” จะหมายถึงการได้รับใบอนุญาตหรือได้รับเอกสารอย่างหนึ่งอย่างใดและจากทางราชการ ประเภทใดนั้น ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติและรายละเอียดที่กฎหมายในเรื่องนั้น ๆ กําหนดไว้ กรณีเป็นปัญหาที่จะต้องพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายแต่ละฉบับเป็นรายกรณี ต้องพิจารณาว่า การเพิกถอน ป่าสงวนแห่งชาติในเขตปฏิรูปที่ดินตามมาตรา ๒๖ (๔) แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ จะเกิดขึ้นเมื่อใด และคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๑๘๙/๒๕๕๘ จะมีผลของกฎหมายอย่างใด และมีความเห็นว่า พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินเป็นเพียงการกําหนดขอบเขตของที่ดินที่จะ ทําการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมป่าไม้ส่งมอบแปลงพื้นที่ที่มีราษฎรยึดถือครอบครองทําประโยชน์อยู่แล้วเพื่อให้ราษฎรได้เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนด เขตปฏิรูปที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติแปลงใดแล้วนั้น จะมีผลทําให้ราษฎรที่อยู่ในที่ดินป่าสงวน แห่งชาติอยู่เดิมก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ได้รับการผ่อนผันการบังคับใช้ กฎหมายว่าด้วยการป่าไม้หรือไม่ อย่างไร นั้น เห็นว่า โดยที่พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนท่ีดินในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติในทันที แต่ยังต้องดําเนินการในขั้นตอนของการปฏิรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518ต่อไปด้วย ดังนั้น การจะบังคับใช้หรือผ่อนผันการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ในพื้นที่ดังกล่าวได้หรือไม่ เพียงใด ต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับที่ดินประกอบด้วย กล่าวคือ หากพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินยังไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนที่ดินนั้นจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ที่ดินดังกล่าวยังคงมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวน แห่งชาติ พ.ศ. 2507และอยู่ภายใต้บังคับพระราชบัญญัติดังกล่าว และหากมีการทําไม้หวงห้าม และเก็บหาของป่าหวงห้ามในที่ดินดังกล่าว ก็จะอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484ด้วย หรือแม้จะเป็นกรณีท่ีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่อยู่ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติมีผลเป็นการเพิกถอนที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติแล้ว แตโดยที่ที่ดินของ ส.ป.ก. ในส่วนที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินน้ันยังคงมี สถานะเป็น “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ เนืองจากการถือกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ในที่ดินหรือ อสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓๖ ทวิ๗ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มุ่งประสงค์จะให้ ส.ป.ก. ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเพื่อนําที่ดินมา ดําเนินการปฏิรูปที่ดิน มิใช่กรณีบุคคลได้มาซึ่งท่ีดินตามมาตรา ๓๘ (๒) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ตามนัยมาตรา ๔ (๑)๙ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ดังนั้น ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงยังคงอยู่ภายใต้บังคับของกฎหมายเฉพาะอื่น ๆ ด้วย เท่าท่ีไม่ขัดต่อวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม ท้ังนี้ ตามแนวทางที่คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นไว้ในเรื่องเสร็จที่ ๒๐๓/๒๕๓๖๑๐ เรื่องเสร็จที่ ๖๙๔/๒๕๓๖๑๑ และเรื่องเสร็จที่ ๗๙๑/๒๕๔๘๑๒ ซึ่งเป็นไปในแนวทาง เดียวกันกับคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๓๗๑/๒๕๕๑๑๓ สําหรับคําพิพากษาของศาลฎีกาตามคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๕๑๘๙/๒๕๕๘๖ จะมีผลของกฎหมายอย่างใด นั้น เห็นว่า คําพิพากษาศาลฎีกาในเรื่องนี้ ศาลฎีกาได้พิพากษา สรุปความได้ว่ากรณีจึงเป็นแนวทางเดียวกันกับความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๗) ข้างต้น กรณีที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กรมป่าไม้ส่งมอบแปลงพื้นที่ที่มีราษฎรยึดถือครอบครองทําประโยชน์อยู่แล้วเพื่อให้ราษฎรได้เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดินตาม พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนด เขตปฏิรูปที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติแปลงใดแล้วนั้น จะมีผลทําให้ราษฎรที่อยู่ในที่ดินป่าสงวน แห่งชาติอยู่เดิมก่อนที่จะมีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ได้รับการผ่อนผันการบังคับใช้ กฎหมายว่าด้วยการป่าไม้หรือไม่ อย่างไร นั้น เห็นว่า โดยที่พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดิน ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนท่ีดินในเขตปฏิรูปที่ดินนั้นจากการเป็นป่าสงวนแห่งชาติในทันที แต่ยังต้องพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินดังกล่าวเป็นเพียงการกําหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทําการปฏิรูปที่ดินเท่านั้น ไม่ได้มีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในทันที พื้นที่ป่าสงวน แห่งชาติยังคงเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติอยู่เช่นเดิม จนกว่าจะได้มีการส่งมอบพื้นที่ให้แก่ คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อดําเนินการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ได้รับอนุญาตตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ที่กฎหมายกําหนดต่อไป บทบัญญัตินี้จึงมุ่งหมายให้ ส.ป.ก. เข้าไปดําเนินการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมในพื้นที่ป่านั้นและจัดสรรให้ผู้ได้รับอนุญาตก่อน จึงจะถือเป็นการเพิกถอนสภาพ ป่าสงวนแห่งชาติ ท้ังนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและที่ดินของรัฐ กรณีตามมาตรา ๒๖ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ เมื่อพบการกระทําความผิดฐานบุกรุกพื้นที่ในเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราช กฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดิน พนักงานเจ้าหน้าที่ของ ส.ป.ก. ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมฯ จะมีหน้าที่และอํานาจในการจับกุมปราบปราม หรือร้องทุกขก์ ล่าวโทษต่อพนักงาน สอบสวน เพื่อดําเนินคดีกับผู้กระทําผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้และกฎหมายอื่นในเขตปฏิรูป ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมที่มีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้หรือไม่ อย่างไร และระหว่าง ส.ป.ก. ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบดูแลพื้นที่ดังกล่าวกับกรมป่าไม้ หน่วยงานใดจะเป็น หน่วยงานหลักในการดําเนินคดีในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ที่เกิดขึ้นในพื้นที่นั้น เห็นว่า มาตรา ๒๖ วรรคสอง๑๔ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๒ ที่บัญญัติให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาตินั้นก็เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา ๒๖ (๔) บทบัญญัตินี้จึงบัญญัติขึ้นเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติการปฏิรปู ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ สามารถดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งรวมถึงการเข้าไป สํารวจรังวัด ทําเครื่องหมายขอบเขตหรือแนวเขตโดยปักหลัก ขุดดินทําร่องแนวต่าง ๆ และตัดรานกิ่งไม้ ตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๒๗๑๕ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ได้อย่างมี ประสิทธิภาพ โดยไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มิได้เป็นบทบัญญัติที่ให้อํานาจ แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ในฐานะเป็นพนักงาน เจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ ที่จะมีหน้าที่และอํานาจในการจับกุมปราบปราม ผู้บุกรุกหรือยึดถือครอบครองที่ดินป่าสงวนแห่งชาติในเขตปฏิรูปที่ดิน เพราะการใช้อํานาจจับกุม ปราบปรามผู้กระทําผิดกฎหมายเป็นการกระทบสิทธิเสรีภาพของบุคคล ต้องมีกฎหมายบัญญัติให้ อํานาจดังกล่าวแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ไว้อย่างชัดเจน ด้วยเหตุนี้ เมื่อพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรมฯ มิได้บัญญัติให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพอื่ เกษตรกรรมฯ เป็นพนักงานฝ่ายปกครองหรือตํารวจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา พนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ จึงไม่มีอํานาจจับกุม ปราบปรามผู้บุกรุกที่ดินป่าสงวนแห่งชาติในเขตปฏิรูปที่ดิน เมื่อได้พิจารณาในประเด็นที่สามแล้วว่า การถือกรรมสิทธิ์ของ ส.ป.ก. ในที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์ที่ ส.ป.ก. ได้มาตามที่กําหนดไว้ในมาตรา ๓๖ ทวิ๑๖ แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ มุ่งประสงค์จะให้ ส.ป.ก. ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว เพื่อนําที่ดินนั้นมาดําเนินการปฏิรูปที่ดิน กรณีจึงเป็นหน้าที่และอํานาจของ ส.ป.ก. ในการดูแลรักษา ที่ดินดังกล่าวและป้องกันการกระทําใด ๆ ที่เป็นผลร้ายต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายดังกล่าว การที่มี ผู้บุกรุก เข้าไปยึดถือ ครอบครอง หรือทําสิ่งหนึ่งสิ่งใดอันเป็นอันตรายแก่ทรัพยากรในที่ดินซึ่ง ส.ป.ก. ได้มาตามกฎหมายย่อมกระทบสิทธิของ ส.ป.ก. ในการนําที่ดินไปปฏิรูปที่ดินตามที่กําหนดไว้ใน พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมฯ ส.ป.ก. จึงเป็นผู้ได้รับความเสียหายจากการกระทํา ดังกล่าวและมีสิทธิที่จะกล่าวโทษผู้กระทําความผิดเพื่อให้มีการดําเนินการตามกฎหมายได้ นอกจากนี้ เมื่อที่ดินของ ส.ป.ก. ในส่วนที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินตามประมวล กฎหมายที่ดินนั้นยังคงมีสถานะเป็น “ป่า” ตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ กรมป่าไม้ ยังคงมีหน้าที่และอํานาจในการดูแลรักษาที่ดินที่เป็นป่าตามพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ ซึ่งเป็นไปตามที่ กําหนดไว้ในข้อ ๒ (๑)๑๗ แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมป่าไม้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม พ.ศ. ๒๕๕๑ และหากเป็นกรณีที่ที่ดินนั้นยังคงมีสถานะเป็นป่าสงวนแห่งชาติ เนื่องจาก ส.ป.ก. ยังไม่ได้นําที่ดินป่าสงวนแห่งชาตินั้นไปดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามที่ กฎหมายกําหนด ก็จะเป็นหน้าที่และอํานาจของกรมป่าไม้ในการดูแลรักษาที่ดินที่เป็นป่าสงวน แห่งชาตินั้นตามข้อ ๒ (๑) แหง่ กฎกระทรวงดังกล่าวด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ กรมป่าไม้ และ ส.ป.ก. ต่างก็มีหน้าที่และอํานาจดูแลรักษาที่ดิน ป่าสงวนแห่งชาติในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมร่วมกันตามขอบเขตอํานาจหน้าที่ของแต่ละ หน่วยงานดังที่ได้ให้ความเห็นไว้ข้างต้น สำหรับเมื่อมีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินในพื้นที่ใดแล้ว จะถือว่าพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวมีสถานะเช่นเดียวกับเขตที่ได้จําแนกไว้เป็นประเภทเกษตรกรรม ที่รัฐมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ได้หรือไม่ อย่างไร เห็นว่า เขตที่ได้จําแนกไว้เป็นประเภทเกษตรกรรมตามมาตรา ๕๔๒๒ แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติป่าไม้ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๑๘ นั้น ต้องประกอบด้วยเงื่อนไขสองประการ กล่าวคือ (๑) เป็นเขตที่ได้มีการจําแนกไว้เป็นประเภท เกษตรกรรม และ (๒) รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช ๒๔๘๔ ได้ประกาศ เขตหรือพื้นที่นั้นในราชกิจจานุเบกษา ทั้งนี้ ตามนัยคําพิพากษาศาลฎีกาที่ ๒๕๖๔/๒๕๓๕๒๓ แต่โดยที่ พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินที่ออกตามความในพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. ๒๕๑๘ นั้น เป็นเพียงการกําหนดขอบเขตของที่ดินที่จะทําการปฏิรูปที่ดินเพื่อให้ อํานาจแก่พนักงานเจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ้งปฏิบัติงานร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการเข้าสํารวจรังวัด ทําเครื่องหมายขอบเขตหรือแนวเขต โดยปักหลักหรือขุดร่องแนว๒๔ รวมถึงให้อํานาจแก่ ส.ป.ก. ในการจัดซื้อที่ดินของเอกชนในเขตปฏิรูปที่ดิน๒๕ และปรากฏข้อเท็จจริงตามคําชี้แจงของผู้แทน กรมป่าไม้ว่า ยังไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษากําหนดให้เขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตปฏิรูปที่ดินเป็นเขตที่ได้จําแนกไว้เป็นประเภทเกษตรกรรมตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด กรณีจึงมิอาจถือได้ว่าเขตปฏิรูปที่ดินตามพระราชกฤษฎีกา กําหนดเขตปฏิรูปที่ดินเป็นหรือมีสถานะเช่นเดียวกับเขตที่ได้จําแนกไว้เป็นประเภทเกษตรกรรมที่ รฐัมนตรีประกาศกําหนดตามมาตรา๕๔แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ฯ