ผู้ตรวจราชการ ทส. ถวายรถเข็นตู่กับข้าวใส่อาหารให้กับวัดป่าบุก “ นวัตรกรรมนักบิณฑ์พิชิตโลกร้อน “ เพื่อรณรงค์ลดถุงพลาสติกและโฟม ตามแนวนโยบายของรัฐบาล และ รมว.ทส.ทส. เมื่อเวลา 07.00 น.วันที่ 30 มกราคม 2563 นายจเรศักดิ์ นันตะวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ลงพื้นที่ถวายรถเข็นตู่กับข้าวใส่อาหารให้กับวัดป่าบุก นวัตรกรรมนักบิณฑ์พิชิตโลกร้อน " เป็นการบิณฑบาตของพระวัดป่าบุก ที่มีการเข็นรถตู้กับข้าวบิณฑบาตทุกเช้า เพื่อลดถุงพลาสติกและโฟม ( รถเก่าใช้มานานแล้ว 22 ปี ) พร้อมมอบถุงผ้าชุมชนบ้านป่าบุก ต.แม่แรง อ.ป่าซาง จ.ลำพูน ตามแนวนโยบายของรัฐบาล และ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(รมว.ทส.) ซึ่งชุมชนเล็ก ๆ แห่งนี้ มีถุงผ้าครบทุกหลังคาเรือนนำร่องหมู่บ้านแรกของประเทศไทย จากนั้นพระเข็นตู่กับข้าวพร้อมจาน ใส่อาหารโยมแทนพลาสติกโฟม รับอาหารพอฉัน ร่วมชุมชนปลอดขยะ ประหยัดเงินชาวบ้าน โดยมีผู้นำชุมชน คือ พ่อหลวงสนั่น สมจันทร์ บ้านป่าบุกเป็นหมู่บ้านที่เป็นชุมชนปลอดขยะ ตั้งอยู่หมู่ที่ 10 ตำบลแม่แรง อำเภอ ปาซาง จังหวัดลำพูน มีประชากรราว 385 คน จำนวน 90 ครัวเรือน อาชีพหลักของชาวบ้านที่นี่คือการเกษตรและเย็บผ้าพื้นเมืองส่งขายตามร้านค้าและตลาดในลำพูน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ นายจเรศักดิ์ กล่าวว่า “วัดป่าบุกเป็นศูนย์รวมจิตใจและสถานที่จัดกิจกรรมในหมู่บ้าน โดยชาวบ้านนำข้าวใส่บาตรพระ และนำอาหารเทใส่จานชามที่พระเตรียมไว้ในใส่ตู้กับข้าว แทนการใช้ถุงพลาสติก และโฟมใส่อาหาร ซึ่งเป็นการลดขยะอย่างมาก โดยนวัตรกรรมนี้มีการสืบทอดกันมา 20 ปีแล้ว จากเมื่อก่อนนี้ชาวบ้านใส่บาตรโดยนำอาหารใส่ในปิ่นโตมาถวายพระที่เดินบิณฑบาต แต่เกิดปัญหาการหิ้วกลับ เนื่องจากปิ่นโตมีจำนวนมาก และ อาหารมีจำนวนมากฉันไม่หมด กลายเป็นขยะ หลังจากนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนพัฒนาโดยการเข็นรถตู้กับข้าว ที่มีจานชาม เปลี่ยนถ่ายอาหารที่ชาวบ้านปรุงสุกใหม่เป็นการลดขยะพลาสติกโฟมและช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้วัดจากสารเคมีจากภาชนะดังกล่าวด้วย และ ได้แบ่งสายการรับบิณฑบาต ออกเป็น 4 สาย สลับหมุนเวียนแต่ละวันจะออกบิณฑบาต เพียง 1 สาย เพื่อให้ได้อาหารพอดีฉัน ไม่เหลือเป็นขยะ ประหยัดเงินลดรายจ่ายให้ชาวบ้าน เพราะวัดแห่งนี้มีพระเพียง 2 รูป ภายในวัดป่าบุกยังมีการบริหารจัดการขยะ คัดแยกขยะต่าง ๆ เพื่อการนำไปรีไซเคิล สามารถแก้ไขปัญหาเรื่องได้ขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ “ ส่วนมาตราการและแก้ไขปัญหาขยะทะเล และ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งอย่างจริงจังของรัฐบาล และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องทำควบคู่กับการสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนทั่วประเทศ และ นักท่องเที่ยวต่างชาติต่อเนื่อง ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถปรับอันดับประเทศที่มีขยะทะเลสูงสุดในโลกในอันดับ 6 ลงมาอยู่ที่อันดับที่ 10 ได้สำเร็จ ที่สำคัญไทยนับเป็นอีกประเทศที่มีความก้าวหน้าเรื่องการบริหารจัดการขยะอย่างเห็นผลและทำได้จริง โดยเฉพาะการยกระดับการแก้ปัญหาขยะทะเลอยู่ในระดับอาเซียนสำเร็จ ประกอบกับ การสร้างจิตสำนึกและการรับรู้การแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เพื่อนำขยะที่สามารถรีไซเคิลได้นำกลับมาใช้ใหม่หรือแปรรูปให้เกิดประโยชน์สูงสุด นายจเรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย. กิตติพงษ์ ทุนเพิ่ม ทีมข่าวภูมิภาค.