ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เปิดสัมมนาการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อความยั่งยืน เขตสุขภาพที่ 9 เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของบุคลากร 4 จังหวัด อีสานใต้ ที่ให้บริการในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ พร้อมเตือนผู้ที่หลอกลวงชาวบ้าน ขายน้ำมันกัญชาแพง อาจมีสารปนเปื้อนผสมอยู่ ทำให้เกิดอันตรายได้ วันนี้ (27 ม.ค.63) นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดการสัมมนาทางวิชาการ “การใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อความยั่งยืน เขตสุขภาพที่ ๙” ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ ร่วมกับ เขตสุขภาพที่ 9 จัดขึ้น โดยมี นายแพทย์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 พร้อมแพทย์และเจ้าหน้าที่ประจำคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ในเขตสุขภาพที่ ๙ ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา, ชัยภูมิ, บุรีรัมย์ และ จ.สุรินทร์ เข้าร่วมสัมมนา จำนวน 360 คน ที่ห้องประชุมฟลอร่ารูม อุทยานไม้ดอกเพลาเพลิน อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อพัฒนาศักยภาพและเพิ่มพูนความรู้ความสามารถของบุคลากรที่ให้บริการในคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ซึ่งได้เชิญวิทยากร บรรยายพิเศษ เรื่อง การออกฤทธิ์ของกัญชาและมาตรการการใช้สารสกัดกัญชาในทางการแพทย์ โดยศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา , ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข , การบรรยาย เรื่อง กว่าจะมาเป็น บุรีรัมย์โมเดล โดยนายแพทย์กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคูเมือง จ.บุรีรัมย์ และการเสวนาการใช้กัญชาทางการแพทย์เพื่อคามยั่งยืน โดยนายแพทย์ธเนศ ดุสิตสุนทรกุล ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์, นายแพทย์อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ที่ปรึกษากรมการแพทย์, นายแพทย์ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก, เภสัชกรหญิงสุภัทรา บุญเสริม รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา, ดร.ภญ.นันทกายจน์ สุวรรณปิฎกกุล ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ 11 และกลุ่มงานการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบุรีรัมย์ นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า เป็นที่ทราบกันดีว่า กัญชา ซึ่งยังคงเป็นยาเสพติดประเภทที่ 5 แต่ในประเทศไทยนั้น เริ่มมีการปลดล็อคให้สามารถใช้ได้ในทางการแพทย์และสาหรับการวิจัยได้ เมื่อ ปี 2562 ที่ผ่านมา และจังหวัดบุรีรัมย์ เขตสุขภาพที่ 9 ได้มีการดำเนินงานกัญชาทางการแพทย์ โดยจัดตั้งคลินิกให้บริการกัญชาทางการแพทย์ ครบทุกโรงพยาบาล มีสถานที่ผลิตและปลูกกัญชาทางการแพทย์ ที่ อำเภอคูเมือง โดยเป็นการร่วมมือกันระหว่างวิสาหกิจชุมชน ศูนย์พัฒนาสมุนไพร เพ ลา เพลิน เพื่อชุมชนและโรงพยาบาลคูเมือง ซึ่งทางวิสาหกิจได้ทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตในการปลูกรอบแรกแล้ว ทั้งนี้ การจะปลูกกัญชาอย่างไรให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการจะปลูกบ้านละ 6 ต้นทำยังไม่ได้ แต่การปลูกใกล้บ้านที่จะดำเนินการได้ก็ที่ รพ.สต.ซึ่งมีวิสาหกิจชุมชนพร้อมให้ความร่วมมือ และยังมีแหล่งทุนในท้องถิ่นร่วมด้วย อย่างไรก็ตาม อยากฝากถึงผู้ที่หลอกลวงชาวบ้านขายน้ำมันกัญชาแพงเกินกว่าเหตุ ซึ่งอาจจะมีกัญชาอยู่น้อยหรือมีสารปนเปื้อนผสมอยู่ด้วย อาจจะทำให้เกิดอันตรายได้ จึงขอให้ประชาชนระมัดระวัง อย่าไปหลงเชื่อว่าเป็นยาวิเศษ แต่สามารถบรรเทาอาการผ่อนคลายได้ สำหรับประโยชน์กัญชาทางการแพทย์ในประเทศไทยนั้น ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์ได้ประโยชน์ในขณะนี้ ได้แก่ ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบาบัด โรคลมชักรักษายากในเด็กและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยปลอกประสาทเสื่อมแข็ง อาการปวดประสาทส่วนกลางที่รักษาด้วยวิธีต่างๆ ไม่ได้ผล ผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ได้รับการดูแลแบบประคับประคอง