องค์การเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ ( Transparency International) เผยแพร่ค่าคะแนนดัชนีรับรู้การทุจริตประจำปี ​2019 (CPI) พบว่า ประเทศไทย ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 101 จากจำนวนทั้งหมด 180 ประเทศ และได้ค่าเฉลี่ยดัชนีที่ 36 (จากคะแนนเต็ม 100) ซึ่งเท่ากับค่าดัชนีในปี 2018 แต่อันดับถือว่าหล่นลง เนื่องจากในการจัดอันดับปี 2018 ไทยอยู่ในอันดับที่ 99 จาก 180 ประทศ (ประเทศที่อันดับตัวเลขยิ่งสูงหมายถึงยิ่งมีการคอร์รัปชันมาก) ส่วนประเทศที่ถูกจัดอยู่ในอันดับ 1 ในปีนี้ มี 2 ประเทศได้อันดับ 1 ร่วมกันในฐานะประเทศที่มีการคอร์รัปชันน้อยที่สุด คือ นิวซีแลนด์และเดนมาร์ค (ได้ 87 คะแนนจาก 100 คะแนน) ขณะที่ประเทศที่ได้ชื่อว่าคอร์รัปชันมากที่สุด คือประเทศโซมาเลีย อยู่ในอันดับสุดท้ายของ 180 ประเทศ และได้ค่าดัชนีดัง เพียง 9 คะแนน (จากเต็ม 100) ทั้งนี้ดัชนีรับรู้การทุจริต มีค่าคะแนนตั้งแต่ 0 (คอร์รัปชันมากที่สุด) – 100 (คอร์รัปชันน้อยที่สุด) ยิ่งค่า CPI สูง ประเทศมีความโปร่งใสมาก คอร์รัปชันต่ำ ยิ่งค่าCPI ต่ำประเทศมีความโปร่งใสน้อย คอร์รัปชันสูง สำหรับประเทศไทยนั้น ผลสำรวจจาก WEF สำรวจนักธุรกิจถึงการจ่ายเงินสินบนเกี่ยวกับการนาเข้า-ส่งออก ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ การนำเงินของภาครัฐไปให้กับบริษัท บุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดๆ เพื่อการคอร์รัปชัน และระดับคุณธรรมหรือจริยธรรมหรือธรรมภิบาลอยู่ระดับใดนั้น คะแนนดีจาก 42 ในปี 2561 เป็น 43.28 ในปี 2562