"ทต.กะลุวอเหนือ" จัดกิจกรรม Big Cleaning Day เพื่อการป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ วันที่ 22 มกราคม 2563 ณ โรงเรียนบ้านค่าย ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมืองจังหวัดนราธิวาส นายอัสมีรี แวเด็ง นายกเทศมนตรีตำบลกะลุวอเหนือ เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรม Big Cleaning Day เพื่อควบคุมและ ป้องกันโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ หัวหน้าส่วนราชการ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัคสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ครู นักเรียน และประชาชนจิตอาสา จำนวน 400 คน ปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญในพื้นที่โดยเฉพาะโรคไข้เลือดออกที่พบอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกทุกปี ด้วยสถานการณณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทยในปี 2562 พบว่า เป็นปีที่มีการระบาดทั่วภาคของประเทศไทย มีรายงานผู้ป่วยสะสม 121,696 ราย ผู้ป่วยเสียชีวิต 123 ราย และในช่วงปลายปียังคงมีรายงานผู้ป่วยมีใข้สูงและเกินมาตรฐานย้อนหลัง 5 ปี อย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่ามีโอกาสที่จะระบาดต่อเนื่องในปี 2563 ซึ่งอาจพบผู้ป่วยสูงถึง 140,000 ราย จังหวัดนราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 ธันวาคม 2562 พบผู้ป่วย สะสม 2,082 ราย อัตราผู้ป่วย 262,56 ต่อประชากรแสนคน จังหวัดนราธิวาส มีรายงาน 1ผู้ป่วย จำนวน 451 ราย อัตราผู้ป่วย56,97 ต่อประชากรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 5 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.19 สำหรับอำเภอเมืองนราธิวาส ปี 2563 พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกสะสมรวม 585 ราย อัตราป่วย 471.37 ต่อประชกรแสนคน ผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย อัตราป่วยตาย ร้อยละ 1.00 อำเภอเมืองนราธิวาส เห็นความสำคัญของปัญหาทางด้านสาธารณสุขดังกล่าวที่จะต้อง เร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนจึงได้กำหนดกิจกรรม "Big Cleaning Day'' เพื่อควบคุมและ ป้องกันโรคไข้เลือดออก" โดยมีวัตถุประสงศ์เพื่อสร้างความตระหนักและกระตุ้นให้ประชาชน เห็นความสำคัญของการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในบ้านตนเองและในสถานที่สำคัญต่างๆ นำไปสู่การป้องกันการระบาดของโรคไข้เลือดออกและโรคติดต่อนำโดยยุงลาย รวมทั้ง สนับสนุนให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย ทำให้มีสุขภาพที่ดีห่างไกลจากโรคและภัยสุขภาพ นายอัสมีรี แวเด็ง นายกเทศมนตรีตำบลกะลุวอเหนือ กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกเป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดขึ้นทุกปีในทุกพื้นที่ ซึ่งจะต้องมีการบริหารจัดการแหล่งเพาะพันธุ์โรค การจัดการสิ่งแวดล้อม และการสร้างความตระหนักด้านจิตสำนึกของประชาชนในทุกระดับที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการควบคุม ป้องกันโรคไข้เลือดออก และโรคที่มียุงลายเป็นพาหะ เช่น โรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย รวมทั้งการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ที่เป็นปัจจัยหลักสำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจในการแก้ปัญหา เพื่อให้ประชาชนปลอดภัยจากการเจ็บป่วยด้วยโรคที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค สามารถลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก และควบคุมป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสซิกา โรคไข้ปวดข้อยุงลาย ไม่ให้ระบาดในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือน