วันที่ 17 ม.ค.พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ เปิดเผยว่า จากการประชุม กองอำนายการน้ำแห่งชาติ เมื่อวันที่ 10. มกราคม 63 ที่ผ่านมา. ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานรัฐ จับมือกับภาคเอกชน เดินหน้าเต็มกำลัง สำหรับแก้ไขปัญหาเรื่อง “น้ำ” โดยบูรณาการหน่วยงานทุกภาคส่วนของรัฐเข้ามาร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ พร้อมเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้รับทราบความคืบหน้าในการบริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้อย่างเป็นระยะ ๆ โดยสามารถสรุปการช่วยเหลือของหน่วยงานต่างๆ ในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/2563 โดยให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย สนับสนุนเครื่องจักร เครื่องมือ ภารกิจสูบน้ำจากสระและแหล่งน้ำต่างๆ เพื่อผลิตน้ำประปา และพัฒนาบ่อบาดาล ในพื้นที่ 11 จังหวัด 31 อำเภอ 36 ตำบล รวม 64,743 ครัวเรือน 101,202 คน ขอนแก่น สกลนคร หนองคาย อุทัยธานี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา นครราชสีมา สุรินทร์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ จันทบุรี และกรมทรัพยากรน้ำ สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรเครื่องมือช่วยเหลือใน 30 จังหวัด รวมสูบน้ำได้ 30.97 ล้าน ลบ.ม. แจกจ่ายน้ำสะอาด 808,892 ลิตร ให้แก่ประชาชนรวม 1,019,662 คน ช่วยเหลือพื้นที่เกษตร 86,046 ไร่ ส่วนกรมทรัพยากรน้ำบาดาลเตรียมความพร้อมในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง มีจุดจ่ายน้ำถาวร จำนวน 136 จุด หน่วยนาคราช จำนวน 37 หน่วย รถบรรทุกน้ำ จำนวน 79 คัน ขุดเจาะบ่อบาดาล จำนวน 85 ชุด และชุดปรับปรุงคุณภาพน้ำเคลื่อนที่จำนวน 18 ชุด นอกจากนี้ให้กองทัพบก แจกจ่ายน้ำให้ประชาชนผู้ประสบภัย ตั้งแต่ 1 มี.ค. 62 ถึง ก.ย.62 ใน 42 จังหวัด คิดเป็นปริมาณน้ำ 9,505,500 ลิตรหลังฤดูฝนตั้งแต่ ต.ค.62 - ปัจจุบัน ยังดำเนินการต่อเนื่องทั้งการแจกจ่ายน้ำ การขุดเจาะบ่อบาดาล ตลอดจนการมอบถังเก็บน้ำสำรองและซ่อมแซมบ้านเรือนที่ได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี เชียงราย พิษณุโลก น่าน นราธิวาส นครราชสีมา อุทัยธานี ลพบุรี สุรินทร์ บุรีรัมย์ เพชรบูรณ์ และเชียงใหม่ ส่วนกรมชลประทานปรับแผนการระบายน้ำในอ่างฯขนาดใหญ่-กลาง โดยเฉพาะอ่างฯที่มีความจุน้อยกว่า 30%ติดตามและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำที่สถานีสำแลในการผลิตน้ำประปา ควบคุมการลำเลียงน้ำผ่านคลองต่างๆ ให้เป็นไปตามแผนติดตั้งเครื่องสูบน้ำเพื่อช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย รวม 282 เครื่อง และกองบัญชาการกองทัพไทยนำส่งน้ำประปา จำนวน 30,000 ลิตร เพื่อบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่ จ.นครพนมร่วมกับประชาชนสร้างฝายชะลอน้ำ/ฝายมีชีวิต ที่จ.ลพบุรี ตาก ชัยภูมิเพื่อขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว