คนข้างวัด / อุทัย บุญเย็น คำอุปมาอุปไมย ที่มักจะพูดกันอยู่เสมอ คือ คำพูดที่ว่าน้ำกับน้ำมันนั้น เข้ากันไม่ได้ (เป็นเนื้อเดียวกันไม่ได้) มักจะใช้กับความขัดแย้งที่อยู่ตรงข้ามกัน เหมือนเครื่องหมายบวก (+) กับ เครื่องหมายลบ (-) ซึ่งเป็นเครื่องหมายตรงข้ามกัน (เครื่องหมายบวก-เพิ่มจำนวน เครื่องหมายลบ-ลดจำนวน)หรือเหมือนสีขาวกับสีดำ ในทางศาสนา กล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธเป็น “อเทวนิยม” (ปฏิเสธความเชื่อว่ามีพระเจ้าหรือเทวดาเป็นผู้สร้างโลกและสร้างสรรพสิ่ง ต่างกับศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม (เป็นต้น) ที่เป็นศาสนาฝ่าย “เทวนิยม” (เชื่อว่า โลกและสรระสิ่งในโลก รวมถึง ชีวิตทุกชีวิต เกิดมาจากพระผู้เป็นเจ้าหรือเทวดาเป็นผู้สร้างสรรค์) เฉพาะความเชื่อ ก็เห็นได้ว่า ศาสนาพุทธกับศาสนาฝ่ายเทวนิยม เป็นเหมือนน้ำกับน้ำมัน เหมือนเครื่องหมายบวกกับเครื่องหมายลบ หรือเหมือนสีดำกับสีขาว ซึ่งอยู่ตรงข้ามกัน แต่ในสมัยไหนๆ ศาสนาทั้งฝ่ายอเทวนิยมและฝ่ายเทวนิยม ก็อยู่ด้วยกันได้ คนที่ถือศาสนาคนละฝ่าย แม้จะอยู่ด้วยกันก็มีความเชื่อคนละอย่าง แต่ก็อยู่ด้วยกันได้เหมือนน้ำกับน้ำมัน แม้จะเข้าเป็นเนื้อเดียวกันไม่ได้ แต่ก็มีอยู่ให้เห็น เหมือนเครื่องหมายบวกกับเครื่องหมายลบ จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเพราะมีความจำเป็นต้องใช้ หรือเหมือนสีดำกับสีขาว จำเป็นต้องมีเพื่อใช้เปรียบเทียบกัน ในสมัยโบราณ (โดยเฉพาะ ในสมัยพุทธกาล) ศาสนาหรือลัทธิมีทั้งฝ่ายอเทวนิยม มีทั้งฝ่ายเทวนิยม ทั้งสองฝ่ายมีความเชื่อคนละอย่าง แต่ก็อยู่ด้วยกันได้ จึงเชื่อว่า ในที่สุด ศาสนาอิสลาม (และศาสนาคริสต์) ก็ต้องมีอยู่ในประเทศไทยจนได้ แต่ก็จะอยู่กันอย่างน้ำกับน้ำมัน ฯลฯ ถ้าต่างคนต่างอยู่เหมือนคนในสมัยโบราณ ก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่ทำท่าว่า ศาสนาอิสลามที่กำลังเคลื่อนไหวจะสร้างมัสยิดเพิ่มขึ้นในจังหวัดต่างๆ นั้น ถูกขัดขวางจากชาวพุทธค่อนข้างรุนแรง จึงน่าพิจารณาว่าเป็นเพราะอะไร? คงไม่ใช่เพราะชาวมุสลิม (ผู้ถือศาสนาอิสลาม) มีความเชื่อคนละอย่างกับชาวพุทธแต่อย่างใด น่าจะเป็นเพราะเหตุอย่างอื่น ขอประมวลให้พิจารณาดังนี้ 1.เป็นเพราะเนื้อหาของคำสอนของศาสนาอิสลามที่ชาวมุสลิมไม่ทำให้แจ่มแจ้งพอ แม้จะบอกว่าในคำสอนของศาสนาอิสลามนั้น ต้องศึกษาถึง “บริบท” ต่างๆ ในคัมภีร์ของทางศาสนาด้วย เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้แปลคำสวด (ละหมาด) ที่ชาวมุสลิมสวดวันละ 5 หน มีเนื้อหาดังนี้ “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย พวกเจ้าจงทำศึกกับบรรดาพวกไร้ศรัทธาที่อยู่ใกล้เคียง (เพื่อให้หมดเสี้ยนหนาม) และจงทำให้พวกเขาได้พบกับความแข็งแกร่งในหมู่พวกเจ้า และพวกเจ้าจงรู้ไว้เถิดว่า แท้จริงอัลเลาะห์อยู่พร้อมกับบรรดาผู้ยำเกรง (ซูเราะห์ที่ 9: 123 อัตเตานะห์) “พวกเจ้าจงฟาดฟันลงไปบนต้นคอทั้งหลายของข้าศึกเถิด และจงฟาดฟันทุกปลายนิ้วมือของพวกมัน นั่นเป็นคำบัญชาจากพระอัลเลาะห์ เพราะเหตุพวกเขาได้ต่อต้านอัลเลาะห์และศาสนทูต (มะหะหมัด) ของพระองค์ และผู้ใดต่อต้านอัลเลาะห์และศาสนทูตของพระองค์ แน่นอน อัลเลาะห์ทรงลงโทษรุนแรงยิ่งนัก (ซูเราะห์ที่ 8:12-13 อัลอันฟาล) “การรบนั้น หาได้เป็นหน้าที่ของพวกเจ้าแต่ประการใดไม่ หากแต่เป็นหน้าที่ของอัลเลาะห์ที่จะจัดให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของพระองค์ไม่ว่าพระองค์จะทรงรับคำสารภาพผิดแก่พวกนั้น หรือจะทรงลงโทษแก่พวกเขาก็ตาม เป็นสิทธิของอัลเลาะห์เพียงพระองค์เดียว เพราะแท้จริงแล้วพวกเขา (ผู้ไร้ศรัทธาในอัลเลาะห์)เป็นพวกฉ้อฉล (ซูเราะห์ที่ 3 : 128 อาลิอิมรอน) แท้จริงแล้วพวกเจ้าหาได้ฆ่าฝ่ายข้าศึกนั้นไม่ แต่ทว่าอัลเลาะห์ทรงฆ่าพวกเขาเอง และเจ้าไม่ได้ขว้าง (ทราย)ออกเพื่อใส่หน้าศัตรูขณะที่เจ้าขว้างนั้น อัลเลาะห์ต่างหากที่ทำการขว้าง และเพื่อทรงทดสอบบรรดาผู้มีศรัทธาทั้งหลาย อันเป็นข้อทดสอบที่งดงาม... (ซูเราะห์ 8 : 17 อัลอันฟาล) พวกเขาจะถามเจ้าเกี่ยวกับทรัพย์เชลยศึก จงประกาศเถิดว่าอันทรัพย์เชลยศึกนั้น เป็นสิทธของอัลเลาะห์และของศาสนทูต ดังนั้นท่านทั้งหลายจงยำเกรงอัลเลาะห์...ดังนั้น พวกเจ้าจงบริโภคเถิด บางอย่างที่พวกเจ้าริบมาได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ได้รับอนุมัติแล้ว อัลเลาะห์ ทั้งเป็นสิ่งที่ดี และจงยำเกรงอัลเลาะห์จาก แท้จริงอัลเลาะห์ทรงให้อภัย อักทั้งทรงมีเมตตายิ่ง (ซูเราะห์ที่ 8 :69 อัลอันฟาล)” อ่านคำแปลบทสวดละหมาดดังนี้แล้ว ก็ต้องเห็นใจชาวพุทธ (และคนในศาสนาอื่น) ที่เขาจะต้องหวาดกลัวเป็นธรรมดา ท่านผู้แปลที่ส่งคำแปลมาให้อ่านนั้น ระบุชัดเจนว่าชื่อ “อาจารย์วัชรพล สยามวานิช” ไม่ว่า ชาวมุสลิมจะพยายามอธิบายว่า เป็นคำสอนเพียงบางตอนอย่างไรก็ตาม ก็เป็นเรื่องที่น่ากลัวอยู่ดี เพราะเป็นบทสวดที่มีเนื้อหาหลักซึ่งเป็นภัยอันตรายอย่างยิ่ง ต่างกับบทสวดของศาสนาพุทธ ที่มุ่งขจัดปัดเป่าภัยอันตรายที่ไม่ใช่การฆ่ามนุษย์ด้วยกัน บทสวดของศาสนาพุทธแบ่งได้เป็น 3 ประเภท คือ 1.มีเนื้อหาแสดงอานุภาพของพระพุทธเจ้า ของคำสอน (ธรรมะ) และของพระอริยสงฆ์ ซึ่งล้วนแต่ปราศจากการเบียดเบียนชีวิตอื่น 2.มีเนื้อหาเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งล้วนแต่สอนให้ประพฤติธรรม 3.มีเนื้อหาให้เชื่อมั่นในตัวเอง เพื่อทำความดี (สมัยหลัง มีบทสวดที่แต่งขึ้นใหม่ ใช้สำหรับสวด แต่ก็ล้วนแสดงพุทธานุภาพ ธรรมานุภาพ และสังฆานุภาพ ที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย แก่ผู้อื่นแม้แต่ศัตรู มุ่งแผ่เมตตามากกว่า) บทสวดละหมาดของชาวมุสลิม ตามคำแปลนั้น แม้จะเป็นเพียงบางตอนในคัมภีร์ของศาสนา แต่ก็มีเนื้อหาที่น่าหวาดกลัวน่าจะมีการพิจารณาปรับปรุงหรืออธิบายให้มากขึ้นกว่าที่ทำอยู่ 2.วิถีของศาสนาอิสลามนั้น ต่างจากวิถีชีวิตของชาวตะวันออกทั่วไป เพราะเกิดที่ทะเลทราย ในขณะที่ชาวตะวันออกทั่วไป มีแต่การทำมาหากินและอยู่กับนาไร่และธรรมชาติ เช่น แม่น้ำ ป่า เขา เป็นต้น เป็นธรรมดาที่แนวคำสอนของศาสนาจะต่างกัน คิดว่าเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ศาสนาของชาวตะวันตก (และชาวตะวันออกกลาง) จะพบอุปสรรคในการเผยแผ่ศาสนาของตนไม่น้อย จำเป็นต้องใช้สงครามรบพุ่ง หรือแย่งชิงประชาชนด้วยวิธีต่างๆ แต่ก็น่าสังเกตว่าการเข้ายึดครองหรือแผ่ศาสนาในประเทศขนาดใหญ่ ทำได้ยากจึงเข้าสู่ประเทศขนาดเล็ก หรือประเทศที่มีความอ่อนแอ่กว่า จะเห็นได้ว่า ศาสนาที่มีอายุไม่มากนักได้แผ่ขยายเข้ายึดครองบางประเทศ (ขนาดเล็ก) ได้ เพราะใช้กองกำลังเข้าทำสงครามแย่งชิงประชาชนในเวลาสั้นๆ 3.มีอีกวิธีหนึ่งที่น่าสังเกต ซึ่งเป็นที่หวาดระแวงของหลายประเทศอยู่ขณะนี้ นั่นคือ การแผ่ขยายศาสนาด้วยกฎหมาย ซึ่งดำเนินการโดยบุคคลระดับผู้นำของศาสนา แต่ก็น่าสังเกตเช่นกันว่า ศาสนาที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือ มักจะเป็นศาสนาประเภท “ศาสนาฆราวาส” ใช้กฎหมายของศาสนาเข้าปกครองประเทศ ซึ่งระยะแรก อาจจะดูมีประสิทธิผล แต่ไม่นานบุคคลระดับผู้นำของศาสนาก็จะฝักใฝ่อำนาจ ใช้วิธีเผด็จการ “ปกครองประเทศ แล้วเขาก็จะถูกปรปักษ์ในศาสนาเดียวกันกำจัดในที่สุด จะพบว่า ในประเทศที่ปกครองด้วย “ศาสนาฆราวาส” ทั้งหลาย ไม่เคยอยู่สงบสุข มีแต่ศึกสงครามภายในหรือในกลุ่มประเทศศาสนาเดียวกัน วันหนึ่ง ได้ฟังนักวิชาการ (ทางศาสนา) ท่านหนึ่ง ยกสถิติการฆ่า การดื่มน้ำเมา และการค้าประเวณีในประเทศไทยว่าสูงอย่างน่าวิตก บอกว่าไม่สมกับเป็นเมืองพุทธ อยากจะแย้งว่า เมืองพุทธอย่างประเทศไทย (หรือในบางประเทศ) นั้น ประชาชนทั่วไป แม้จะได้ชื่อว่าเป็นชาวพุทธ แต่เขาก็ถือศาสนาหลวมๆ ส่วนมากไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่า ศีล 5 ข้อมีอะไรบ้าง และมีไม่น้อยที่ไม่เคยสวดมนต์ไหว้พระเลยการดำรงชีวิตอย่างนี้ เป็นไปอย่างธรรมดาเหมือนสมัยโบราณ ศาสนาพุทธและศาสนาทางตะวันออก (หรือที่เรียกว่า “วัฒนธรรมตะวันออก”) แยกศาสนาออกจากโลกอย่างชัดเจน แต่ละศาสนาแยก “นักบวช” เป็นชุมชนหนึ่งต่างหาก ถ้าจะทำสถิติการฆ่า การดื่มน้ำเมา และการประเวณีของศาสนาทางตะวันออก ต้องทำกับนักบวชของศาสนา เพราะนักบวชเป็นผู้สร้างหลักคำสอนและปฏิบัติตามศาสนานั้นๆ เอาพฤติกรรมของคนทั่วไปเป็น สถิติคงไม่ได้ กล่าวเฉพาะประเทศไทย ถ้าจะยกสถิติการฆ่า การดื่มน้ำเมา และการผิดประเวณี ก็ควรจะยกสถิติการประพฤติผิดนักบวชเป็นเกณฑ์ อุบาสก-อุบาสิกาของศาสนาพุทธ (ในประเทศไทย) นั้น คงจะเปรียบเทียบกับ “อิหม่าม” หรือนักการศาสนาของอิสลามไม่ได้ เพราะผู้ที่ได้ชื่อว่าอุบาสก-อุบาสิก เป็นชาวบ้านหรือชาวโลกทั่วไปนั่นเอง การใช้วิธีแผ่ขยายศาสนา ด้วยกฎหมายนั้น น่าจะประสบความล้มเหลวในที่สุด เพราะนั่นไม่ใช่วิถีศาสนา แต่เป็นวิถีของโลกที่ขับเคลื่อนศาสนาด้วยความต้องการของบุคคลระดับผู้นำของศาสนาเท่านั้นอยากจะให้กลับไปหาวิถีศาสนา คือไปหาความเชื่อของศาสนาตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ของศาสนานั้นๆ อย่างตรงไปตรงมา เพื่อจรรโลงโลกหรือสังคมให้อยู่รอดได้ เรื่องนี้เข้าใจว่า ทางฝ่ายรัฐ (ของทุกประเทศ) คงจะตระหนักดีว่า ศาสนาที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการแผ่ขยายศาสนานั้น ในที่สุดจะมุ่งปกครองประเทศด้วยศาสนา ซึ่งจะไม่ประสบความสำเร็จได้เลย จะเป็นวิธีใช้อำนาจรัฐซ้อนรัฐ นำความแตกแยกมาสู่ประเทศในที่สุด ผมจึงมีจุดยืนว่า รัฐหรือประเทศควรจะใช้ “กฎหมายคุ้มครองศาสนา” แก่ทุกศาสนา (และทุกนิกายของศาสนา) ให้ทุกศาสนากลับเข้าอยู่ในร่องรอยของศาสนานั้นๆ อย่างเคร่งครัด ไม่ปล่อยให้ศาสนาบิดเบือนคำสอนในศาสนาของตนโดยบุคคลระดับผู้นำของศาสนา เช่นการบิดเบือนศาสนาพุทธด้วยการสอนหลักอนัตตาให้เป็นอัตตา หรือสอนให้ศาสดาของศาสนาหนึ่งไปเป็นศาสดาของอีกศาสนาหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งเห็นชัดๆ ว่าเป็นการแผ่ขยายศาสนาที่ผิดไปจากคัมภีร์ของศาสนานั้นๆ เป็นการแสวงประโยชน์ของบุคคลระดับผู้นำของศาสนาเท่านั้นเอง