สัปดาห์พระเครื่อง / ราม วัชรประดิษฐ์ รูปหล่อหลวงพ่อทวด เลขใต้ฐาน (เบตง) ปี 2505 หรือรู้จักกันโดยทั่วไปว่า “รุ่น ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช สร้าง” หนึ่งในสุดยอดวัตถุมงคล ‘หลวงปู่ทวด’ ที่แม้จะไม่ได้ออกโดยวัดช้างให้โดยตรง แต่มีความสำคัญ และมีชื่อเสียงเป็นที่แสวงหาของบรรดาผู้เคารพนับถือหลวงพ่อทวดอย่างมาก ปัจจุบันค่านิยมสูงมาก ยิ่งโค้ดสวยๆ มีหกหลักปลายๆ ทีเดียว ของทำเทียมเลียนแบบก็มีมากเป็นเงาตามตัว เรียกว่าหาของแท้ได้ยากยิ่ง ผู้สร้าง ท่านสวัสดิ์ โชติพานิช อดีตประธานศาลฎีกา (ดำรงตำแหน่งประธานศาลฎีกาท่านที่ 27) ในสมัยที่ท่านไปดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาศาลจังหวัดเบตง อ.เบตง จ.ยะลา ในปี พ.ศ.2503 ท่านมีความเคารพศรัทธาหลวงปู่ทวดมากโดยส่วนตัวอยู่แล้ว จึงมักเดินทางไปกราบสักการะ ณ วัดช้างให้ เป็นประจำ ท่านจึงเกิดแนวคิดที่จะสร้าง ‘รูปเหมือนหลวงพ่อทวด’ เพื่อประดิษฐานไว้ที่ อ.เบตง เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวและเคารพสักการะของประชาชน โดยไม่ต้องเดินทางไกลไปถึงปัตตานี ‘โครงการฉายภาพยนต์’ เพื่อหารายได้ทำบุญจึงเกิดขึ้น ในที่สุดการก่อสร้าง “รูปเหมือนหลวงพ่อทวดและพระวิหารประดิษฐาน” ก็ได้เริ่มต้น ณ วัดพุทธาธิวาส โดยใช้เวลากว่า 1 ปี จึงลุล่วง ซึ่งใกล้กำหนดที่ ท่านสวัสดิ์ ต้องย้ายไปรับตำแหน่งยังจังหวัดอื่น บรรดาพ่อค้าประชาชนจึงชักชวนให้สร้าง ‘พระเครื่องหลวงพ่อทวด’ เพื่อเป็นที่ระลึก ท่านจึงไปยัง 'สถูปหลวงพ่อทวด วัดช้างให้' และตั้งจิตอธิษฐานขออนุญาตจากดวงวิญญาณหลวงพ่อทวดก่อน แล้วจึงมาขออนุญาตจากพระอาจารย์ทิม ซึ่งทุกอย่างเป็นไปโดยราบรื่นอย่างน่าอัศจรรย์ หลวงพ่อทวด หน้า เนื้อหามวลสาร โลหะที่นำมาใช้หล่อมีทั้ง เงิน ทอง นาก และชนวนโลหะศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เข้าตำรา ‘นวโลหะ’ ทำให้องค์พระสามารถกลับดำในตัวเมื่อโดนสัมผัสหรือโดนอากาศ นับเป็นเนื้อนวโลหะที่งดงามมาก และเป็นการเทหล่อแบบช่อ แล้วตัดมาบรรจุผงอุดก้นอีกทีหนึ่ง ‘ของแท้’ รูอุดจะเรียบเป็นเนื้อเดียวกับใต้ฐาน หลวงพ่อทวด หน้า พุทธลักษณะ หลังจากนั้นได้รับอนุญาตจากพระอาจารย์ทิมแล้ว รูปแบบของวัตถุมงคลก็ยังเป็นความบังเอิญที่ลงตัวยิ่งนัก เมื่อท่านเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ ได้มีผู้นำรูปหล่อมามอบให้ ทราบภายหลังว่าเป็น 'รูปหล่อลอยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี' สร้างโดย หลวงปู่นาค เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตารามสมัยนั้น ซึ่งเป็นที่ถูกใจมาก ท่านจึงใช้เป็นต้นแบบในการสร้างวัตถุมงคลหลวงปู่ทวด โดยมี ช่างจรัส นายช่างมือหนึ่งประจำพระองค์ของสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และท่านเจ้าคุณศรี (สนธิ์) วัดสุทัศน์ ฯลฯ เป็นผู้ดำเนินการ หลวงปู่โต๊ะ เป็นผู้ควบคุมการผลิตและพิธีกรรม โดยกำหนดให้เท 999 องค์ และมีการตอกโค้ดที่ใต้ฐาน ซึ่งนับเป็นรุ่นแรกที่มีการตอกโค้ดที่เรียกว่า ‘running number’ อย่างเป็นระบบ ลักษณะเป็น ‘เลขอารบิก’ หลวงพ่อทวด ข้างขวา ในการส่งมอบพระเพื่อเข้าพิธีพุทธาภิเษกนั้น นอกจาก ‘รูปหล่อลอยองค์ที่ตอกโค้ดตัวเลขใต้ฐาน’ ตั้งแต่เลข 1 ถึง 999 แล้ว ยังมี ‘พระที่ไม่ได้ตอกเลข’ อีกจำนวนหนึ่งประมาณ 20 องค์ เนื่องจากผู้สร้างพระต้องเผื่อขาดเผื่อเหลือ แต่จะมอบให้เจ้าของงานนำไปเข้าพิธีทั้งหมด ท่านสวัสดิ์ได้ถวายให้พระอาจารย์ทิม ประมาณ 10 องค์ และมอบให้หน่วยราชการที่ท่านประจำอยู่อีก 200 องค์ เอกลักษณ์แม่พิมพ์ เนื่องจากเป็น ‘พระหล่อแบบโบราณ’ รายละเอียดแต่ละองค์จะไม่เหมือนกันร้อยเปอร์เซ็นต์ จุดสังเกตที่เหมือนกัน มีดังนี้ องค์พระนั่งค้อมไหล่เล็กน้อย, เส้นหน้าผากแนวขวางต้องคมชัดเจน, ไหล่ซ้ายของหลวงปู่จะต่ำกว่าไหล่ขวา, เบ้าตาลึก จมูกโด่ง หากมองจากด้านหน้าตรงๆ สามารถเห็นหลังใบหูส่วนบนได้ และองค์พระจะผ่านการแต่งบ้างเล็กน้อย พุทธคุณ ครอบจักรวาล ดังเช่นวัตถุมงคลของหลวงปู่ทวดอื่นๆ โดยเฉพาะ แคล้วคลาดและนิรันตราย จนมีคำพูดว่า “แขวนพระหลวงปู่ทวดแล้วไม่ตายโหง หลวงพ่อทวด ข้างซ้าย การพิจารณา เนื่องจากเป็น ‘การหล่อแบบโบราณ’ แต่ใช้วิธีการที่ทันสมัยเข้าช่วย วิธีการดูจึงสามารถใช้การดูการหล่อโบราณเป็นหลักพิจารณา และตามซอกลึกจะปรากฏน้ำยาขัดสีแดงจับติดอยู่ แต่ไม่มีมากเกินไป, ลักษณะจะค่อนไปทางบุคคลมากกว่าเป็นบุคลาธิษฐาน มีสัดส่วนที่สมดุล และจาก ‘จำนวนจัดสร้าง’ ประมาณพันกว่าองค์ มีการตอกโค้ดใต้ฐานโดยใช้ตัวตอกเลขอารบิกเรียงตั้งแต่ 1 - 999 แต่โค้ดที่ตอกใช้ชุดเดียวคือ 0 - 9 ดังนั้นบางองค์ช่างหยิบโค้ดเลข 9 ตอกกลับหัวแทนเลข 6 และถือเป็นหลักในการดูได้ เพราะโค้ดตอกมีแค่เก้าตัว ตัวเลขทุกองค์จึงต้องมาจากตัวตอกตัวเดียวกัน และตัวเลขจะคมชัด ถ้าใช้กล้องส่องดูจะมีทิวเส้นคมๆ กดลงไปในเนื้อพระ และสุดท้ายคือ องค์พระจะค่อนข้างมีน้ำหนักครับผม