2 นักศึกษาวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต สร้างแอพพลิเคชั่นเขียนหนังสือด้วยตา โดยประยุกต์ใช้คลื่นไฟฟ้าจากตา(EOG) มาใช้ในการเขียนหนังสือสำหรับคนพิการ นับเป็นผลงาน Senior Project ที่สามารถนำไปพัฒนาต่อในอนาคตและใช้งานได้จริง นางสาวสอาดา คล้อยเอี่ยม (ฟ้า) และนางสาวจารุวรรณ บูรสิทธิ์ (หนิง) นักศึกษาชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต สร้างแอพพลิเคชั่นเขียนหนังสือด้วยตา ผลงาน Senior Project การศึกษาออกแบบและพัฒนาระบบติดตามดวงตาสำหรับการเขียนด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อตา โดยจุดเด่นของการทำแอพพลิเคชั่นนี้คือ การใช้สัญญาณกล้ามเนื้อตา หรือ EOG ในการวาดหรือเขียน โดยผู้พิการทางการเคลื่อนไหวสามารถนำไปใช้ในการวาดหรือเขียนเป็นงานฝีมือ ซึ่งเปรียบเสมือนการวาดรูปด้วยตา โดยสามารถสร้างรายได้จากการจำหน่าย เพื่อให้เขารู้สึกว่ามีคุณค่าในตัวเองมากขึ้น นางสาวสอาดา คล้อยเอี่ยม กล่าวถึงผลงานในครั้งนี้ว่า การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่ใช้ลักษณะเด่นของคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อตาด้วยท่าทางการเคลื่อนไหวของดวงตา โดยการนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในโปรแกรมการจำแนกท่าทางการมองของกล้ามเนื้อตาแบบ 2 ช่องสัญญาณ โดยการติดตามดวงตาสาหรับการเชื่อมต่อด้วยคอมพิวเตอร์โดยใช้สัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อตา ผลการจัดโครงงานสามารถแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 ส่วนคือ 1) ส่วนอินพุต ประกอบด้วย อิเล็กโทรดแบบวางที่ผิวหนังในการนำสัญญาณไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อตา 2) ส่วนประมวลผล การหาคุณลักษณะเด่นแบบ Discrete Cosine Transform ร่วมกับการจำแนกกลุ่มข้อมูลแบบ K-means Clustering เพื่อจำแนกท่าทางการมองของดวงตา และสร้างโปรแกรมการจำแนกรูปแบบการเคลื่อนไหวของตาด้วยสมการ Euclidean 3) ส่วนแสดงผลโดยใช้จอคอมพิวเตอร์ ผลการทดสอบการทางานพบว่า EOG Writing Application สามารถใช้ EOG ในการวาดและเขียน Pattern ได้ทั้งหมด 10 ตัว คือ เลข 1 เลข 4 เลข 6 เลข 7 ตัว G ตัว L ตัว V ตัว T และตัว P และสามารถจำแนกรูปแบบการเคลื่อนไหวของตาตาม Pattern และแสดงผลสัญญาณที่ได้มาทาง Display ในรูปของ XY Coordinated พร้อมกับการระบุ Typing ของการวาดและเขียน ซึ่งระบบการทางานที่อยู่ในรูปแบบ Training มีความถูกต้องเฉลี่ย 95.714 เปอร์เซ็นต์ และระบบการทางานที่อยู่ในรูปแบบ Testing มีความถูกต้องเฉลี่ย 75.000 เปอร์เซ็นต์ ด้าน นางสาวจารุวรรณ บูรสิทธิ์ กล่าวว่า การทดลองของเรานั้นได้วาดตัวอักษรมาทั้งหมด 10 ตัว ทั้งนี้ ในอนาคตสามารถวาดตัวอักษรทั้งภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และตัวเลขได้ทุกตัว แต่จะต้องมีการวางรูปแบบในการวาดอีกครั้งหนึ่ง ก็จะทำให้ผู้พิการสามารถใช้สายตาในการวาดได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้ในอนาคตอาจจะมีการพัฒนาต่อไปในรูปแบบของแว่นตา หรือหมวกที่ผู้พิการสามารถสวมแล้วเชื่อมต่อกับเครื่องก็จะสะดวกในการวาดมากขึ้น อย่างไรก็ตาม สำหรับผลงานดังกล่าวนั้นอาจารย์จะเป็นผู้คุยกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญ และนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาให้เราอีกทีหนึ่ง อย่างเช่น วงจรหรืออุปกรณ์ภายในที่ทำให้ได้ผลดังที่แสดงผล ส่วนอาจารย์ที่ปรึกษาก็จะคอยซัพพอร์ต