สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก เผย ภาพกระแสลมกรดที่ซับซ้อนบริเวณซีกเหนือของดาวพฤหัสบดี โดยระบุ “ยานอวกาศจูโน ขององค์การนาซาถ่ายภาพบริเวณซีกเหนือของดาวพฤหัสบดีที่เกิดกระแสลมกรดหรือ “#เจ็ทสตรีม (Jet stream)” ที่มีความสลับซับซ้อน ข้อมูลจากยานอวกาศจูโนช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า พายุที่หมุนวนอยู่ในชั้นบรรยากาศนั้น แท้จริงแล้วอยู่ลึกลงไปในชั้นบรรยากาศประมาณ 3,000 กิโลเมตร บริเวณตรงกลางของภาพ มีกลุ่มแก๊สสว่างผุดขึ้นเหนือบรรยากาศโดยรอบของดาวพฤหัสบดี เกรัลท์ ไอชเต็ท (Gerald Eichstadt) นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นผู้ประมวลภาพ ใช้ข้อมูลจากกล้องถ่ายรูป “JunoCam” ในช่วงคลื่นแสงที่มนุษย์มองเห็น ภาพนี้บันทึกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 เวลา 15:01 น. ตามเวลาในประเทศไทย เป็นช่วงเวลาที่ยานอวกาศจูโนโฉบผ่านบริเวณละติจูด 39 องศาเหนือของดาวพฤหัสบดีที่ความสูงจากยอดเมฆประมาณ 9,700 กิโลเมตร เรียบเรียง: กฤษณะ ล่ามสมบัติ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร. อ้างอิง : https://www.nasa.gov/i…/jupiters-cloud-tops-from-high-to-low” ภาพจาก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page