“ฉันจะตั้งกองทุนการศึกษา ให้เอาเงินฉันไปใช้ ไปทำอย่างไรก็ได้ เป้าหมายคือให้โรงเรียนสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง” พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานประธานองคมนตรี และองคมนตรีที่เข้าเฝ้าฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2555 “...๑) มีทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง๓) มีคุณธรรมและ ๔) มีงานมีอาชีพสามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครวัได้และเป็นพลเมืองที่ดี...” พระบรมราโชบายด้านการศึกษามุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน4 ด้านในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงสืบสาน รักษา ต่อยอดพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในการสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง ไปเยือนวิทยาลัยเทคนิคโพธารามเมื่อไม่นานมานี้ซึ่งเป็นสถานศึกษาสังกัดการอาชีวศึกษาที่เสนอดำเนินการ “โรงเรียนคุณธรรม”ตามโครงการกองทุนการศึกษาตามแนวพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในไม่กี่แห่ง ดำเนินการตั้งแต่เมื่อปี2556 โครงการโรงเรียนคุณธรรม เริ่มต้นจากโรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม จ.พิจิตร โดย ศ.นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี สนองพระมหากรุณาธิคุณนำหลักคุณธรรมมาใช้แก้ปัญหาของเด็กและเยาวชน เมื่อประสบความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาจึงขยายผลนำไปใช้กับสถานศึกษาต่อไป โดยได้รับพระราชทานทุนทรัพย์ส่วนพระองค์ในการก่อตั้งกองทุนการศึกษา ตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร สร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง เมื่อปี 2555 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายขยายแนวทางการสร้างโรงเรียนคุณธรรมให้กับสถานศึกษาทั่วประเทศ วิทยาลัยเทคนิคโพธาราม จ.ราชบุรี เป็นหนึ่งในสถานศึกษาอาชีวศึกษาต้นแบบที่ได้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณธรรม ทำให้เด็กและเยาวชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ อ.สวนผึ้ง ชายแดนพม่า และบริเวณรอบๆ ได้รับโอกาสทางการศึกษา โดยนายสามารถ ค้วนเครือครูหัวหน้าสถานศึกษาคุณธรรมในนามผู้บริหารวิทยาลัยเทคนิคโพธารามกล่าวอย่างสรุปให้ฟังว่า เยาวชนในพื้นที่แห่งนี้อยู่ในจุดที่มีความเสี่ยงยาเสพติด มีการทะเลาะวิวาท และประสบปัญหาท้องไม่พร้อม เมื่อได้ทราบข่าวจากกระทรวงศึกษาธิการจึงได้เข้าร่วมโครงการ และไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนบางมูลนากภูมิวิทยาคม จ.พิจิตร ที่เป็นต้นแบบโรงเรียนคุณธรรม แล้วนำมาปรับใช้กับทางวิทยาลัยเทคนิคโพธาราม ปลูกฝังคุณธรรมให้แก่เยาวชนรวมถึงบุคลกรของวิทยาลัยด้วย “การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน 1 ตระหนัก เริ่มจากการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูและบุคลากรของวิทยาลัย สร้างนักศึกษากลุ่มแกนนำ2 เรียนรู้ การสร้างความเข้าใจระหว่างครู นักเรียน และชุมชน มีก่อตั้งชมรมจิตอาสา ใช้หลักความดีของศาสนาเข้ามาปฏิบัติ ภายใต้อัตลักษณ์ วินัย พอเพียง จิตอาสา3 ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ สร้างวินัยให้นักเรียนมีสัมมาคารวะ ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และสร้างน้ำใจจิตอาสาจนเกิดกระแสส่วนมากปฏิบัติในส่วนน้อยจึงต้องปฏิบัติตาม เป็นวิธีการสร้างน้ำดีขจัดน้ำเสียและ4ประเมินผลจากตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ ด้านวินัย ด้านพอเพียง และด้านจิตอาสา ส่งผลให้นักเรียนส่วนใหญ่มีความอ่อนน้อมมีสัมมาคารวะมากขึ้น แต่งกายถูกระเบียบ จากเด็กที่มีผลการเรียนต่ำก็พัฒนาสูงขึ้น ปัญหาการทะเลาะวิวาทลดลง จนทำให้ได้รับรางวัลสถานศึกษาพระราชทานประจำปี 2558 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา”ครูสามารถบอกและย้ำว่าครูอาจารย์จะต้องวางตัวเป็นแม่แบบความดีงามด้วยทำให้เยาวชนเห็นเพื่อให้เกิดซึมซับเอาอย่างจนเกิดวิถีปฏิบัติ “ทิ่มหู ทิ่มตา ทิ่มใจ”หลอมทั้งวิทยาลัยมิใช่เพียงแค่กลุ่มที่อยู่ในโครงการโรงเรียนคุณธรรม มีโอกาสพูดคุยกับนักเรียนนักศึกษาโครงการรร.คุณธรรมอย่างนส.ฐิติภัทรา ศรีสุข ปวช.3 อายุ17 แผนกคอมฯกราฟฟิก นส.ปริศนา สุธรรมา ปวส.2 การบัญชี อายุ 19 นายณัฐวุฒิ น้อยขำ ปวส.2 แผนกการบัญชี อายุ 19 ปีบอกว่า ได้เข้ามาอยู่ในโครงการโรงเรียนคุณธรรมรู้สึกปลื้มมาก เฉพาะอย่างยิ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรที่ทรงเห็นความสำคัญการศึกษา ทรงห่วงใยเยาวชนในการได้รับโอกาสการศึกษาอย่างเท่าเทียมแล้วยังทรงห่วงครูที่อยู่แบบลำบาก โดยพระราชทานพระราชทรัพย์ให้ตั้งกองทุนการศึกษาเพื่อให้โรงเรียนสร้างคนดีให้แก่บ้านเมืองที่สำคัญพระราชทานหลักการดำเนินชีวิตคือปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้คนไทยนำไปปรับใช้ในการดำเนินชีวิตเพื่อเป็นคนดี และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่10 ทรงตั้งพระราชหฤทัยสืบสานพระราชดำริพระราชทานพระบรมราโชบายด้านการศึกษาเพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานพระราชทานพระราชดำรัสให้โรงเรียนสร้างคนดีให้แก่บ้านเมือง “โครงงานของโรงเรียนในทุกๆ วันที่มาโรงเรียนก็จะเดินแถวเข้ามา คุณครู ผอ. ก็จะคอยยืนรับอยู่ด้านหน้า พูดถึงโครงงานต่างๆ นักเรียนบัญชีก็จะมีโครงการของเส้นจอดรถ ในส่วนที่เรียนสายคอมฯ ก็จะมีโครงงานจิตอาสา ออกไปช่วยชุมชนทาสี ถ่ายรูป ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้าโอท็อปให้กับชุมชน เกิดจากที่อาจารย์ไปติดต่อกับชุมชนหลายแห่ง เขาก็มีสินค้าแต่ไม่มีโลโก้ บรรจุภัณฑ์ ทำให้ขายได้ไม่ดี ก็เลยให้เรามาช่วยออกแบบให้ในส่วนของเด็กกองทุนก็จะมีจิตอาสา ในแต่ละวันตั้งแต่ตอนเช้าจะตื่นมาออกกำลังกายให้พร้อมกัน จากนั้นก็กลับไปทำกิจวัตรส่วนตัวแล้วรวมตัวกันเดินไปเข้าแถว ในหอพักมีโครงการเกษตร อย่างผู้เรียนชั้นปี 3 ก็จะช่วยดูแล ช่วยเหลือน้องๆในด้านการทำเกษตรปลูกผักหลายชนิดผักที่ได้มากจากโครงการเกษตรเอาไปทำอะไร?สวนผักที่นักเรียนนักศึกษากองทุนคุณธรรมร่วมกันปลูกก็นำไปขายโรงครัวประกอบอาหาร เหลือก็เอาไปขายทั่วไป อย่างเช่นเห็ด เราก็เดินไปขายในโรงเรียน พวกอาจารย์และนักเรียนที่สนใจ หรือถ้าเป็นเสาร์-อาทิตย์ ก็มีเด็กที่ดูแลส่วนนี้ก็นำไปขายในตลาด เงินก็นำมาเป็นกองกลาง แต่ละกลุ่มจะทำบัญชีเช่นกลุ่มเห็ด กลุ่มไก่ เวลาจะลงทุนหรือซื้อของอะไรก็นำเงินส่วนนี้มาดำเนินการต่อไป”นส.ฐิติภัทรา ศรีสุขสรุป ทรงสร้างประโยชน์สุขสู่ปวงประชา เสกสรร สิทธาคม [email protected]