บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ในสัปดาห์นี้ (วันที่ 9 - 13 ธันวาคม 2562) บรรยากาศตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมาการซื้อขายอยู่ในแดนลบตลอดทั้งสัปดาห์ เนื่องจากเป็นลักษณะของการขายเพื่อลดความเสี่ยงบ้าง ในช่วงที่ตลาดฯยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา ขณะเดียวกันการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนก็ยังมีความไม่แน่นอนด้วย อีกทั้งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ เรียกร้องในวันศุกร์ที่ผ่านมา ให้ธนาคารโลกหยุดปล่อยเงินกู้ให้กับจีน หลังจากที่ธนาคารโลกเปิดเผยแผนการที่จะปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำวงเงิน 1-1.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปีให้กับจีนไปจนถึงปี 2568 โดยทรัมป์ ได้โพสต์ในทวิตเตอร์ว่า เหตุใดธนาคารโลกถึงต้องปล่อยเงินกู้ให้กับจีน จีนมีเงินจำนวนมาก ธนาคารโลกต้องหยุดปล่อยกู้ให้กับจีน ขณะที่ธนาคารโลกประกาศแผนการดังกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา และแผนการดังกล่าวระบุด้วยว่า ธนาคารโลกจะค่อยๆ ปรับลดการปล่อยกู้ให้กับจีนลงจากระดับเฉลี่ยในรอบ 5 ปีครั้งก่อนที่ 1.8 พันล้านดอลลาร์ แถลงการณ์ของธนาคารโลกระบุว่า การปล่อยกู้ของธนาคารโลกให้กับจีนร่วงลงอย่างรุนแรง และจะยังคงลดลงต่อไป อันเป็นส่วนหนึ่งในข้อตกลงของผู้ถือหุ้นทั้งหมด รวมถึงสหรัฐ นอกจากนี้ให้ติดตามการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ในวันที่ 11 ธ.ค. และการประชุมธนาคารกลางยุโรป (ECB) ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ ซึ่งทั้งสองการประชุมก็คาดว่าจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย พร้อมให้แนวรับ 1,550-1,545 จุด ส่วนแนวต้าน 1,580 จุด ส่วนแนวโน้มราคาน้ำมันนั้น สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) ส่งมอบเดือนม.ค. ซึ่งมีการซื้อขายที่ตลาด NYMEX เพิ่มขึ้น 1.10 ดอลลาร์ หรือ 1.88% สู่ระดับ 59.53 ดอลลาร์/บาร์เรล ทั้งนี้โอเปกแถลงว่า โอเปกและประเทศพันธมิตรมีมติปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันอีก 500,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งเป็นการปรับลดกำลังการผลิตมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ รวมเป็น 1.7 ล้านบาร์เรล/วัน ในช่วงเดือนม.ค.-มี.ค.63 ขณะที่ทิศทางค่าเงินบาท นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า เงินบาทปิดตลาดเมือวันที่ที่ 6 ธ.ค.ที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 30.30/38 บาท/ดอลลาร์ เงินบาท อย่างไรก็ดียังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามา โดยนักลงทุนยังคงติดตามความเคลื่อนไหวเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน รวมทั้งสัปดาห์หน้าติดตามการ ประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (FOMC) ว่าจะมีมติในเรื่องอัตราดอกเบี้ยอย่างไร ซึ่งคาดว่าต้นสัปดาห์หน้าเงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 30.30 - 30.40 บาท/ดอลลาร์