ด่านกักกันสัตว์หนองคาย ทำลายซากสัตว์ (เนื้อโค เนื้อกระบือ) ลักลอบนำเข้าราชอาณาจักร จำนวน 838 กล่อง น้ำหนัก 18,255 กิโลกรัม ซึ่งซากสัตว์ดังกล่าวเป็นของกลางที่ได้รับมอบจากกรมศุลกากร ตามข้อตกลงระหว่างกรมปศุสัตว์ กับกรมศุลกากร เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีที่มีการจับกุมดำเนินคดีลักลอบ นำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์มีนโยบายเข้มงวดตรวจจับการลักลอบ นำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) อย่างเคร่งครัด โดยมีการปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าหน้ าที่กรมศุลกากร เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจ และเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานฝ่ายปกครอง อยู่เป็นประจำการนี้ กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร สืบสวนพบการกระทำความผิด จึงได้ทำการยึดสินค้า เอกสาร ใบสั่งซื้อสินค้า ใบอนุญาต บัญชีราคาสินค้า หลักฐานการชำระเงิน ค่าสินค้า และเอกสารอื่นๆ รวมถึงข้อมูลสารสนเทศ และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผ่านพิธีการศุลกากร การลักลอบหนีศุลกากร หลีกเลี่ยงข้อห้าม ข้อจำกัด และหลีกเลี่ยงการเสียภาษีอากร อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งแจ้งข้อกล่าวหาว่ากระทำความผิด มาตรา 242-246 ประกอบมาตรา 252 และมาตรา 166 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 โดยของกลางที่เป็นซากสัตว์ (เนื้อโค เนื้อกระบือ) ได้ส่งมอบให้ด่านกักกันสัตว์ หนองคาย ตามข้อตกลงระหว่างกรมปศุสัตว์ กับกรมศุลกากร เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีที่มีการจับกุมดำเนินคดีลักลอบ นำสัตว์หรือซากสัตว์เข้ามาในราชอาณาจักร เพื่อดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558ต่อไป ทั้งนี้ ด่านกักกันสัตว์หนองคายได้ดำเนินการทำลายซากสัตว์ของกลาง ที่ได้รับมอบมาทั้งหมด โดยวิธีการฝังกลบ ปฏิบัติตามระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการดำเนินการกับสัตว์หรือซากสัตว์ของกลางที่เป็นพาหะของโรคระบาดซึ่งถูกยึด หรืออายัดไว้ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์หรือตามกฎหมายอื่น พ.ศ.2558 อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์มีความตระหนักถึงการป้องกันเชื้อโรคระบาดสัตว์จากต่างประเทศ ซึ่งอาจ ติดมากับสินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) ที่เป็นพาหะของโรคระบาด และมีความห่วงใยในสุขภาพของประชาชนทั่วไป โดยสินค้าปศุสัตว์ทุก ชนิดที่นำมาจำหน่ายต้องได้รับการตรวจรับรองเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและผู้บริโภคสินค้าปศุสัตว์ได้อย่างปลอดภัย ซึ่ง สินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) ที่ถูกลักลอบนำเข้าราชอาณาจักรมานั้น อาจมาจากต้นทางที่เป็นแหล่งของโรคระบาดสัตว์ และไม่มีการ ควบคุมการผลิต รวมถึงไม่ได้รับการตรวจรับรองใดๆ ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ มีมาตรการเข้มงวดจับกุมการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) ดังนี้ 1.กรมปศุสัตว์อนุมัติโครงการเข้าตรวจสอบสถานที่พักซากสัตว์ทั่วประเทศ ตามหนังสือกรมปศุสัตว์ ที่ กษ 0621/3384 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2561 เพื่อดำเนินการตรวจสอบและดำเนินคดีกับผู้ลักลอบนำเข้าซากสัตว์จาก ต่างประเทศ และนำมาซุกซ่อนไว้ตามห้องเย็นต่างๆ 2.กรมปศุสัตว์ ทำหนังสือขอความร่วมมือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามหนังสือกรมปศุสัตว์ ที่ กษ 0621/6828-6830 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เพื่อร่วมมือใน การป้องกันการลักลอบนำเข้าซากสัตว์ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ 3.กรมปศุสัตว์ จัดทำเครื่องหมายประจ าตัวสำหรับซากสัตว์ที่นำเข้า เพื่อใช้ตรวจสอบซากสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ อย่างถูกกฎหมาย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าดังกล่าวได้ จึงทำให้แยกแยะกับซากสัตว์ที่ลักลอบนำเข้าได้ ง่ายต่อการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ 4.ชุดปฏิบัติงานสุนัขดมกลิ่นตรวจสอบการลักลอบนำเข้าซากสัตว์ในพื้นที่สนามบินทุกแห่ง เพื่อตรวจสอบ ผู้โดยสารที่นำซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรอย่างผิดกฎหมาย ด้วยวิธีการ Hand Carry โดยมีผลการปฏิบัติงานยึด อายัด ซากสัตว์ ในปีงบประมาณที่ผ่านมา (2561) จำนวน 80 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า 263,321 บาท และ ปีงบประมาณนี้ (2562) จำนวน 11 ครั้ง คิดเป็นมูลค่า 9,305 บาท 5.กรมปศุสัตว์ได้มีการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายในความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ ตามคำสั่งกรมปศุสัตว์ที่ 918/2559 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 โดยหน่วยปฏิบัติติการดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการ ตรวจสอบและป้องกันการลักลอบนำเข้าเนื้อโค กระบือจากต่างประเทศได้ทั่วราชอาณาจักร 6.กรมปศุสัตว์ได้จัดทำแอพพลิเคชั่น DLD 4.0 สำหรับการแจ้งข้อมูลข่าวสารและเป็นช่องทางรับข้อร้องเรียน โดยผู้ที่มี ข้อมูลการลักลอบนำเข้าเนื้อโค กระบือจากต่างประเทศ สามารถแจ้งข้อร้องเรียนดังกล่าวมายังกรมปศุสัตว์เพื่อดำเนินการต่อไป โดยในปีงบประมาณ 2562 มีการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำความผิด ทั้งหมด 23 คดี มูลค่าของกลาง 4,359,751 บาท และปีงบประมาณ 2563 มีการจับกุมดำเนินคดีผู้กระทำความผิด ทั้งหมด 2 คดี มูลค่าของกลาง 129,900 บาท ท้ายที่สุดนี้ หากต้องการร้องเรียนผู้กระท าความผิดกฎหมาย ติดต่อกองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์ โทรศัพท์ 02 501 3473-5