สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้โพสต์เฟซบุ๊ก เผย “ภาพสุดอัศจรรย์ #ดาวหมุนเหนือโลก!! ช่วงปลายฝนต้นหนาวนี้หลายภูมิภาคยังมีฝนตกฟ้าคะนองเป็นบางแห่ง และบนดอยอากาศเริ่มหนาวกันบ้างแล้ว วันนี้จึงขอนำเสนอภาพดาราศาสตร์ถ่ายเหนือความแปรปรวนของบรรยากาศโลกในมุมมองของผู้ที่อาศัยอยู่ใน#สถานีอวกาศนานาชาติ มาให้ชมกัน เส้นส่วนโค้งวงกลมบนท้องฟ้ายามราตรีเป็นเส้นทางการเคลื่อนที่ปรากฏของดาวฤกษ์ในกลุ่มดาวต่าง ๆ แสงที่ปรากฏเป็นเส้นประสีเหลืองจาง ๆ ด้านล่างของภาพ คือแสงบนพื้นดินมีแหล่งกำเนิดที่แตกต่างกันจากแสงไฟในเมือง เนื่องจากจุดแต่ละจุดในภาพเคลื่อนที่เร็วกว่าวัตถุบนท้องฟ้าในช่วงเวลานั้น เช่น เส้นสีส้มที่บางลงและเฉดสีเข้มเป็นไฟถนนในประเทศแองโกลาและคองโก ดาวฤกษ์ที่อยู่ใกล้กับขั้วฟ้าเหนือ (มุมบนซ้าย) เป็นเส้นโค้งสั้นๆ ในขณะที่ดาวฤกษ์ที่อยู่ห่างออกมามีระยะเชิงมุมเพิ่มขึ้น ความยาวเป็นรัศมีวงกลมจึงมีขนาดใหญ่มากขึ้น ในที่สุดเส้นทางของดาวก็ยาวพอที่จะตกลงไปใต้โลกอย่างที่เห็นในภาพ เส้นทางของแสงที่เป็นจุดห่างๆ ผ่านส่วนโค้งบนท้องฟ้า เป็นดาวเทียมที่เคลื่อนที่ผ่านไปในช่วงเวลาที่ถ่ายภาพ บริเวณกลางภาพเป็นส่วนโค้งของโลกที่ปรากฏเป็นจุดแสงสีขาวอมฟ้าหลากหลายตำแหน่ง นั่นคือสายฟ้าแลบจากพายุฝนฟ้าคะนองเหนือประเทศแอฟริกากลาง เส้นโค้งสีเขียวแกมเหลืองจางๆ ที่อยู่เหนือชั้นบรรยากาศโลกเรียกว่าแสงเรืองท้องฟ้า (Airglow) ทอดยาว 80 ถึง 645 กิโลเมตร เกิดจากการสะท้อนแสงจากพื้นโลกขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศ คริสตินา ค็อกค์ นักบินอวกาศของนาซา เป็นผู้ถ่ายภาพทั้งหมด 400 ภาพ ในเวลา 11 นาที จากสถานีอวกาศนานาชาติที่กำลังเคลื่อนที่เหนือประเทศนามิเบียสู่ทะเลแดง เมื่อนำภาพหลายภาพมารวมกัน ทำให้ได้ภาพถ่ายลักษณะนี้ คริสตินาประจำการอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติเป็นเวลาประมาณ 8 เดือน เพื่อเปลี่ยนแบตเตอรี่บางส่วนสำหรับแผงเซลล์สุริยะ ระหว่างนั้นเธอก็ได้บันทึกภาพสวย ๆ มาให้คนบนโลกได้ชื่นชมกัน เรียบเรียง : วทัญญู แพทย์วงษ์ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ สดร. อ้างอิง https://www.universetoday.com/…/time-lapse-captured-from-…/ ขอบคุณเรื่อง-ภาพจาก เฟซบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page