สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ Fan Page ได้โพสต์เฟซบุ๊กเชิญชวนชม คืนนี้ มีฝนดาวตกลีโอนิดส์ #ราชาแห่งฝนดาวตก โดยระบุ “18 พ.ย. หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป ถึงรุ่งเช้า 19 พ.ย. 62 อัตราการตกสูงสุดเฉลี่ย 15 ดวงต่อชั่วโมง แต่...มีแสงจันทร์รบกวน สังเกตได้ยาก “#ฝนดาวตกลีโอนิดส์” หรือ “#ฝนดาวตกกลุ่มดาวสิงโต” เป็นฝนดาวตกที่เกิดในเดือนพฤศจิกายนของทุกปี สำหรับปีนี้ มีอัตราการตกสูงสุดในคืนวันที่ 18 พ.ย. 62 หลังเที่ยงคืนเป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้าวันที่ 19 พ.ย. 62 ศูนย์กลางการกระจายอยู่บริเวณกลุ่มดาวสิงโต ปรากฏทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ในคืนดังกล่าวตรงกับช่วงดวงจันทร์แรม 6 ค่ำ จึงมีแสงจันทร์รบกวนตลอดคืน ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เกิดจากสายธารเศษฝุ่นของดาวหาง 55พี เทมเพล-ทัตเทิล (55P Tempel-Tuttle) ที่ยังหลงเหลืออยู่ในวงโคจรของดาวหางตัดผ่านวงโคจรของโลก ทำให้เศษฝุ่นของดาวหางเหล่านั้นเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก เกิดการเผาไหม้จนเห็นเป็นแสงสว่างวาบคล้ายลูกไฟวิ่งพาดผ่านท้องฟ้า ทิศทางวงโคจรของฝนดาวตกลีโอนิดส์สวนทางกับทิศทางวงโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์ ทำให้ความเร็วของเม็ดฝุ่นที่เข้ามาเสียดสีกับบรรยากาศโลกมีความเร็วค่อนข้างมาก สูงถึง 71 กิโลเมตรต่อวินาที ฝนดาวตกลีโอนิดส์ เป็นฝนดาวตกที่มีความสว่างมากที่สุด จึงได้รับการขนานนามว่า “ราชาแห่งฝนดาวตก” #LeonidsMeteorShower2019” ขอบคุณเรื่องภาพจากเพจ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ