วันที่ 10 พ.ย.62 ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ รองคณบดี คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความในเพจเฟซบ๊กชื่อ Thon Thamrongnawasawat ระบุว่า...อธิบายเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นหากคนไทยลอยกระทงอย่างไม่เข้าใจและไม่รับผิดชอบต่อพระแม่คงคา โดยใช้ “มาเรียม” เป็นผู้รับกรรม 1. กระทงครอบหัวกระทงบางชนิดแม้ใช้วัสดุจากธรรมชาติ แต่ถ้ามีจำนวนมากและไม่ได้เก็บให้หมด อาจตกค้างหลุดลอดลงทะเล และอยู่ในทะเล 2-3 สัปดาห์ เพราะฉะนั้น ลดจำนวนกระทง เช่น 1 ครอบครัว/1 กระทง พยายามเก็บและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี 2. เหรียญในปาก เป็นตัวแทนของวัสดุแปลกปลอมย่อยสลายไม่ได้ เช่น โฟม เหรียญ เศษพลาสติก ฯลฯ เมื่อลงไปตกค้างอยู่ในธรรมชาติ มีโอกาสที่สัตว์ทะเลจะกินเข้าไปสูงควรหลีกเลี่ยงการลอยกระทงทุกแบบที่มีวัสดุไม่ย่อยสลายในธรรมชาติอยู่ในนั้น เช่น กระทงโฟม และไม่ควรใส่วัสดุไม่ย่อยสลายลงไปในกระทง เลือกกระทงที่เหมาะสม เช่น กระทงน้ำแข็ง/ดอกไม้ ไม่ต้องห่วงเรื่องความเย็นทำอันตรายสัตว์น้ำ เพราะปริมาตรน้ำในแม่น้ำลำคลองเยอะกว่ามาก 3. กาบ/หยวกกล้วยติดเข็มหมุดกระทงที่ทำจากวัสดุธรรมชาติ บางครั้งอาจมีวัสดุเพื่อใช้กลัด/ติด ฯลฯ ซึ่งวัสดุเหล่านี้นอกจากเป็นอันตรายต่อน้องๆ สัตว์ทะเล ยังอาจเป็นอันตรายต่อน้องๆ ลูกหลานเรา ผู้จะไปเล่นน้ำริมหาดเศษวัสดุที่แหลม อาจปักตามร่างกาย ตามจมูกน้องมาเรียมผู้ไถหน้ากินหญ้าตามพื้นทะเล และติดอยู่ตรงนั้น (ดูจมูกมาเรียมสิครับ)ก่อนซื้อกระทง สังเกตให้ดี ระวังวัสดุพวกนี้ 4. ริบบิ้นคล้องหาง แม้กระทงบางอย่างจะเป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ เช่น กาบกล้วย แต่วัสดุตกแต่งที่ย่อยสลายไม่ได้ เช่น ริบบิ้น แผ่นพลาสติกประดับ ฯลฯ คือขยะทะเล ส่งผลต่อระบบนิเวศและสัตว์หายากลอยกระทงอย่างเคารพต่อพระแม่คงคา สังเกตให้ดี หลีกเลี่ยงกระทงแฝงขยะทะเล 5. ลอยอย่างไรไม่ให้ทำร้ายแม่น้ำ/ทะเล ไปร่วมงานลอยกระทง กระจายรายได้สู่ชาวบ้าน พกถุงผ้า ถือแก้วใช้แล้วล้าง ร่วมลอยด้วยใจ ออนไลน์ หรือใช้กระทงน้ำแข็ง จัดกิจกรรมเก็บขยะ/หรือเก็บเองแม้อยู่คนเดียวในวันนั้น ฯลฯนั่นคือความเคารพนบนอบที่แท้จริงต่อแม่น้ำและทะเลไทย เป็นความรักความจริงใจที่เรามีให้น้องมาเรียมและเพื่อนของเธอครับ