วันที่ 5 พ.ย.นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความในเพจเฟซบุ๊กชื่อ Thirachai Phuvanatnaranubala ระบุว่า...“เหมืองทองใหญ่ประเทศอื่นไม่รบกวนชุมชน” การเปรียบเทียบเหมืองทองคำอัคราที่พิจิตรกับเหมือง 5 อันดับของโลก จะเห็นความแตกต่าง รูป 1 เนื่องจากสายแร่ในไทยอยู่ตื้นแต่กินพื้นที่กว้าง รูปทรงของเหมืองจึงเป็นรูปกะทะที่ปากกว้างมาก เป็นแผลหน้าดินขนาดใหญ่ รูป 2 จะเห็นได้ว่าเหมืองอัคราอยู่ท่ามกลางนาข้าว จึงมีชาวบ้านอยู่อาศัยรอบบริเวณเหมือง รูป 3 เหมือง Grasberg ในอินโดนีเซียที่ผลิตทองคำอันดับหนึ่งของโลก รูป 4 ตั้งอยู่ในหุบเขา ด้านหนึ่งเป็นป่า อีกด้านหนึ่งเป็นภูเขา จึงไม่มีปัญหากระทบต่อชาวบ้าน รูป 5 เหมือง Muruntua ในอุซเบกิสถาน ที่ผลิตทองคำอันดับสองของโลก รูป 6 ตั้งอยู่ในทะเลทราย จึงไม่มีปัญหากระทบต่อชาวบ้าน รูป 7 เหมือง Gold strike ในรัฐเนวาดา สหรัฐ ที่ผลิตทองคำอันดับสามของโลก รูป 8 ตั้งอยู่ในทะเลทราย จึงไม่มีปัญหากระทบต่อชาวบ้าน รูป 9 เหมือง Olympiada ในรัสเซีย ที่ผลิตทองคำอันดับสี่ของโลก รูป 10 ตั้งอยู่ในป่า จึงไม่มีปัญหากระทบต่อชาวบ้าน รูป 11 เหมือง Lihir ในปาปัวนิวกินี ที่ผลิตทองคำอันดับห้าของโลก รูป 12 ตั้งอยู่บนเกาะเล็กแยกต่างหากจากแผ่นดินใหญ่ จึงไม่มีปัญหากระทบต่อชาวบ้านไทยจะเอาดีด้านเหมืองแร่ได้ยาก ไม่ว่าแร่ชนิดใด เพราะเหมืองอยู่ติดชุมชน อยู่ท่ามกลางพื้นที่เกษตรกรรม และบางแห่งมีผลต่อการท่องเที่ยว จะยกเว้นก็เฉพาะปิโตรเลียมที่ขุดเป็นหลุมเพื่อเอาจากใต้ดินเท่านั้น การที่นายสุริยะอ้างว่าสามารถให้ใบอนุญาตใหม่ได้ เพราะกฎหมายใหม่เข้มงวด ก็รับฟังไม่ได้ เพราะมาตรฐานการทำงานของข้าราชการไทยต่ำ ไม่จริงจัง และจากสภาพที่เหมืองในไทยถูกล้อมโดยชุมชน ถ้าจะควบคุมมลพิษแบบเกือบ 100% ก็ย่อมจะทำให้ต้นทุนโดยรวมสูงกว่าประเทศที่เหมืองอยู่ห่างไกลผู้คน