เรียกได้ว่าฉีกกรอบการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนาแบบเดิมๆ เมื่อทุกภาคส่วนหันมาจับมือสร้างความยั่งยืน ด้วยการนำนวัตกรรมมาบูรณาการกับการท่องเที่ยวควบคู่ไปกับการพัฒนาธุรกิจ ดังเช่น “เที่ยว 3 ธรรม ตามวิถีห้วยกระเจา” แนวคิดสุดคูลที่ บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ อินทัช นำโดย เอนก พนาอภิชน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เดินหน้าต่อยอดพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจาผ่าน งาน “เที่ยว 3 ธรรม ตามวิถีห้วยกระเจา@ ดอนแสลบ จังหวัดกาญจนบุรี ในโครงการข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช” ภายใต้ “โครงการข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ โดยได้รับเกียรติจาก สมยศ ศิลปีโยดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี, ชลาลักษณ์ บุนนาค ประธานคณะกรรมการความรับผิดชอบต่อพัฒนาอย่างยั่งยืน บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ แลกรรมการมูลนิธิพระพุทธเมตตาประชาไทยในพระบรมราชินูปถัมภ์, พัฒชรกิตติ์ สนองชาติ รองประธานวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจา และ ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและหนึ่งในผู้ก่อตั้ง Wongnai ร่วมงาน เอนก  พนาอภิชน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) * มุ่งมั่นยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนา เอนก พนาอภิชน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อินทัช ดำเนินโครงการข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช มาตั้งแต่ปี 2555 มีเป้าหมายหลักเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจที่ดีให้กับชาวนาและชุมชน สำหรับ ชุมชนรอบวัดทิพย์สุคนธาราม ตำบลดอนแสลบ อำเภอห้วยกระเจา จังหวัดกาญจนบุรี ได้เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2559 โดยรวมกลุ่มกันเป็นวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจาที่มีความเข้มแข็งได้อย่างรวดเร็ว สามารถผลิตข้าวที่ปลอดภัย ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP และอยู่ระหว่างการคัดสรรดาว OTOP จากข้าวกิโลละ 20 บาท เพิ่มมูลค่าเป็น 60 บาทในแบรนด์ “หอมกระเจา” รวมถึงได้ร่วมมือกับวัด โรงเรียน ชุมชนใกล้เคียง และหน่วยงานท้องถิ่น สร้างตลาดเกษตรโรงเรียนชาวนาเพื่อให้เป็นแหล่งรวบรวมและจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรอื่นๆ จากชุมชน ช่วยสร้างงาน กระจายรายได้ให้กับกลุ่มมากขึ้น บรรยากาศการเสวนา รองผู้ว่าฯ จ. กาญจนบุรี เยี่ยมชมตลาดเกษตรโรงเรียนชาวนา เอนกกล่าวอีกว่า ที่นี่มีความยากกว่าที่อื่นๆเพราะมีความแล้งและปลูกข้าวได้ปีละครั้ง ฉะนั้นจึงต้องช่วยทั้ง เรื่องข้าว เรื่องน้ำ และเรื่องมอบทุน อย่างไรก็ตามชุมชนที่นี่ค่อนข้างเข้มแข็งเมื่อเทียบกับที่อื่น โดยห้วยกระเจาได้ก้าวผ่านเรื่องข้าวไปเป็นเรื่องของการท่องเที่ยว ซึ่งจุดสุดท้ายอยู่ที่ความยั่งยืนของชุมชน ว่าสามารถอยู่ด้วยตัวเองได้หรือไม่ และจุดสำคัญยังอยู่ที่ ‘โมเดล’ ที่เราเลือก โดยหวังว่าจะสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้กับชาวนาอื่นๆ ในปีนี้ อินทัชได้สนับสนุนและประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ และเอกชนนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ในแนวคิด “เที่ยว 3 ธรรมตามวิถีห้วยกระเจา” เพื่อเชื่อมโยงคนไทยเข้ากับเทคโนโลยีที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ดีขึ้น โดยมีแนวทางการทำงาน 3 ด้าน 1) พัฒนาสินค้าเกษตรให้มีคุณค่าโดยใช้นวัตกรรมมาสร้างสินค้าใหม่ๆ 2) พัฒนาการท่องเที่ยวชุมชน โดยจัดทำโปรแกรมท่องเที่ยวแบบ 1 วัน และ 2 วัน รวมถึงพัฒนาเยาวชนในพื้นที่ให้เป็นยุวมัคคุเทศก์นำเที่ยว และ 3) สนับสนุนการจัดทำข้อมูลและการสืบค้นผ่าน QR Code การประชาสัมพันธ์พื้นที่ให้เป็นที่รู้จัก รวมถึงร่วมมือกับ Wongnai หนึ่งในสตาร์ทอัพของโครงการ InVent โดยอินทัช เพื่อสร้างการรับรู้ในวงกว้างทั้งในด้านสถานที่ท่องเที่ยว สินค้าพื้นถิ่น และด้านอื่นๆ” เอนกกล่าว ด้าน รัชฎาวรรณ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักประชาสัมพันธ์ อินทัช กล่าวเสริมว่า แต่ละพื้นที่มีรูปแบบการทำงานที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับประเด็นปัญหาคืออะไร ความต้องการคืออะไร พื้นที่นั้นมีศักยภาพอะไร มีอะไรอยากนำเสนอ โดยเราจะวางแนวทางร่วมกัน อินทัชจะชวนคิดและจะช่วยไกด์ สำหรับที่ห้วยกระเจานอกจากเรื่องข้าวที่ประสบความสำเร็จไปแล้ว เรายังเห็นว่าพื้นที่นี้ยังมีอะไรอีกมากมาย ซึ่งสามารถดึงบางเรื่องที่คนไม่รู้ให้รู้ได้ ประกอบกับเรามีพันธมิตรที่ดี เราจึงใช้โอกาสที่ดีคุยกับชุมชน ทางชุมชนจึงผลักดัน 2 ผลิตภัณฑ์ขึ้นใหม่ไปพร้อมๆกับการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในปีนี้ พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ * จาก‘พื้นที่แห้งแล้ง’สู่‘แหล่งท่องเที่ยว’ จุดเด่นของการต่อยอดโครงการฯในครั้งนี้ นอกจากจะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตชาวนาไทยให้กินดีอยู่ดี มีเศรษฐกิจที่ดีขึ้นตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว ยังได้นำศักยภาพของแต่ละหน่วยงานมาต่อยอดการพัฒนากลุ่มวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจา และชุมชนดอนแสลบ โดยใช้กลไกด้านนวัตกรรมการท่องเที่ยวและการพัฒนาธุรกิจชุมชน ผ่าน กิจกรรม “เที่ยว 3 ธรรม ตามวิถีห้วยกระเจา @ ดอนแสลบ จังหวัดกาญจนบุรี ในโครงการข้าวเพื่อสุขภาพโดยอินทัช” โดยร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชนสร้างมูลค่าผ่านเรื่องเล่า “เที่ยว 3 ธรรม” อย่างน่าสนใจ วัดสระกระเบื้อง โดย ธรรมที่ 1: ธรรมะ เริ่มที่การสักการะ “พระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์” ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ศูนย์รวมจิตใจของคนห้วยกระเจา เป็นพระพุทธรูปปางขอฝน ความสูง 32 เมตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระพุทธรูปแห่งบามิยันในประเทศอัฟกานิสถานที่ถูกระเบิดทำลายไป จากนั้นชมพระอุโบสถรูปแบบสถาปัตยกรรมล้านนาที่ “วัดทิพย์สุคนาราม” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธชินราช และพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์องค์จำลอง และมาตื่นตากับโบสถ์มหาอุดกับเจดีย์ทรงเครื่องที่ “วัดสระกระเบื้อง” วัดโบราณเก่าแก่ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น ต่อด้วย “วัดโบสถ์” โบราณสถานร้างอายุ 300 ปี ศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนปลาย ประกอบด้วยอุโบสถ 1 หลัง เจดีย์ประธานทรงระฆัง 1 องค์ และเจดีย์รายไม่น้อยกว่า 37 องค์ มีกำแพงแก้วล้อมรอบ ก่อนปิดท้ายที่ “วัดบ้านพนมนาง” โบสถ์เก่าอายุ 300 ปี สร้างด้วยหินวางเรียงรายซ้อนกัน ขนาบข้างด้วยกำแพงแก้วสูงตระหง่าน วัดบ้านพนมนาง ธรรมที่ 2 : ธรรมชาติ ท้าทายคนชอบปีนเขากับการเดินไต่เขากว่า 1,500 ขั้นบันได เรียนรู้การทำภูเขาเปียก หรือที่ชาวบ้านรู้จักกันในชื่อ “เขาขวาง” หรือ “เขาฝาง” ตั้งอยู่บริเวณวัดทิพย์สุคนธารามในอดีตเป็นภูเขาหัวโล้นแห้งแล้งไม่สามารถสร้างประโยชน์กับวัดและชุมชนได้ ภายหลังการจัดสร้างพระพุทธเมตตาประชาไทยไตรโลกนาถคันธารราฐอนุสรณ์ ชาวดอนแสลบและหน่วยงานในพื้นที่จึงมีแนวคิดจัดทำระบบภูเขาเปียกอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้นโดยน้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาฟื้นฟูภูเขาให้กลับมามีสภาพสมบูรณ์ เป็นแหล่งอาหารของคนในพื้นที่ ผลิตภัณฑ์จากวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจา ธรรมที่ 3 : วิถีวัฒนธรรม เรียนรู้การทำนาในพื้นที่แล้ง การปลูกเมล่อน อาหารพื้นถิ่น เช่น ไก่กระทอก แกงหน่อไม้ดองถั่วเขียว และน้ำพริกมะสัง เป็นต้น รวมถึงสามารถซื้อหาของฝากที่เป็นเอกลักษณ์ของห้วยกระเจาได้ที่ตลาดเกษตรโรงเรียนชาวนา วิสาหกิจชุมชนหอมกระเจา เปิดขายทุกเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าจากเกษตรกรในชุมชนที่ปลอดภัยไร้สารเคมี ดีต่อสุขภาพของผู้บริโภค อาทิ ข้าวหอมกระเจา, ผักและผลไม้ตามฤดูกาล และผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเห็ด เช่น แหนมเห็ด ข้าวเกรียบเห็ด และโยเกิร์ตเห็ด เป็นต้น นอกจากนี้ ตลาดฯ ยังเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานของผู้สนใจ รวมถึงเป็นแหล่งฝึกอาชีพให้กับลูกหลานห้วยกระเจาได้เข้ามาค้าขาย โดยได้เชื่อมการทำงานกับโรงเรียนห้วยกระเจาพิทยาคม และโรงเรียนวัดบ้านพนมนาง นำนักเรียนมาอบรมยุวมัคคุเทศก์ เพื่อบอกเล่าเรื่องราวของชุมชนให้นักท่องเที่ยวได้รู้จัก ผลิตภัณฑ์ชุมชนปลอดสารเคมี พัฒชรกิตติ์ สนองชาติ รองประธานวิสาหกิจชุมชนหอมกระเจา กล่าวว่า หลังจากอินทัช เข้ามาสนับสนุนกระบวนการในการเพิ่มมูลค่าสินค้า ทำให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ข้าวของเราที่ผลิตขึ้นมาทุกวันนี้ไม่พอจำหน่าย จึงได้จับมือกับวิสาหกิจชุมชนอื่นๆที่ปลูกข้าวเพื่อสุขภาพ คือไม่ใช้สารเคมี ซึ่งอยู่ในมาตรฐานชุมชนหอมกระเจา โดยจะเป็นผู้ดูแลและขยายเครือข่ายในการปลูกข้าวเพื่อรองรับตลาด นอกจากนี้ในอนาคตเราจะส่งต่อโครงการเหล่านี้ไปยังคนรุ่นต่อไป พัฒนาสินค้าให้มีความหลากหลาย และเน้นการขายสินค้าเพื่อสุขภาพ อาหารปลอดสารเคมีเป็นมิตรกับผู้บริโภคอีกหนึ่งโครงการสร้างสรรค์ ที่เชื่อมโยงการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้กับการดำเนินโครงการที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวนาไทยให้ดีขึ้นทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ และนำไปสู่การพัฒนาอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน