เส้นทางสายไหมในพิพิธภัณฑ์ต่างประเทศ บรรพบุรุษที่ดำรงชีวิตอยู่บนผืนแผ่นดินไทยนี้ เริ่มดำเนินการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและพาณิชยกรรมกับโลกภายนอกผ่านทางบกและทางทะเลมาช้านานแล้ว จากการค้นพบทางโบราณคดีปรากฏว่า เส้นทางสายไหมทางทะเลระหว่างไทยกับจีนและอินเดีย เริ่มมีขึ้นเมื่อประมาณ 400-300 ปีก่อนคริสตกาล ชาวโรมันได้พบและเข้าใจกฎของลมมรสุมบนมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งได้อำนวยความสะดวกให้กับการเดินเรือข้ามมหาสมุทรอย่างมาก พ่อค้าต่างชาติพากันหลั่งไหลเข้ามาในไทยที่อุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ไทยก็ได้รับอิทธิพลจากทั้งจีนและอินเดียด้วย บทความนี้จะอภิปรายประวัติศาสตร์การแลกเปลี่ยนระหว่างจีนกับไทย จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือบันทึกทางประวัติศาสตร์ของประเทศทั้งสองและหลักฐานมรดกทางวัฒนธรรมและทางวัตถุ ดังเช่น ซากโบราณสถานในประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุในพิพิธภัณฑ์ เป็นต้น ปรากฏว่า ประวัติศาสตร์นี้ได้แสดงบทบาทสำคัญในเส้นทางสายไหม การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและพาณิชยกรรมระหว่างประชาชนของจีนและไทย ได้สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์อันสำคัญระหว่างประเทศทั้งสอง ดร. อมรา ศรีสุชาติ (Dr.Amara Srisuchat)  ปัจจุบันนี้ เป็นที่ปรึกษาทรงคุณวุฒิของกรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรมไทย กรรมการคณะกรรมการมรดกวัฒนธรรมโลกของไทย เคยดำรงตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์ กระทรวงวัฒนธรรมไทย เคยเข้าร่วมคณะดูงานเส้นทางสายไหมทางทะเล ที่จัดโดยองค์การยูเนสโก สหประชาชาติ ระหว่างปี พ.ศ. 2533 ถึง 2534 ประเทศไทยตั้งอยู่ใจกลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทางฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ติดทะเลอันดามัน ฝั่งตะวันออกเฉียงใต้ติดอ่าวไทย ในหนังสือเรื่อง ภูมิศาสตร์ (Geography) ที่แต่งโดยนายคลาวดิอุส พทอเลอมิว (Claudius Ptolemaeu) เมื่อศตวรรษที่ 2 ตามคริสตกาล และคำบรรยายต่อโลกเท่าที่ทราบในสมัยโน้นของนายดิโอนีซิวส์ (Dionisius, ค.ศ.1440-1502) นักทัศนาจร เคยใช้คำว่า “สุวรรณภูมิ” เป็นคำแทนพื้นที่หลักๆ ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บางครั้งก็หมายถึงเขตพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นพิเศษ คำภาษาสันสกฤตหรือภาษาบาลีคำนี้ มีความหมายว่าพื้นที่ทองคำหรือพื้นที่ที่มีทองคำ เคยปรากฏตัวในหนังสือของศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูสมัยแรกๆ เขาเล่ากันว่า ประเทศไทยดูจากแผนที่เหมือนขวานเล่มหนึ่ง พื้นที่ผืนนี้เนื่องจากทางฝั่งตะวันตก ใต้ และตะวันออก สามฝั่งติดทะเล จึงได้รับการขนานนามว่า คาบสมุทรสุวรรณภูมิ หนังสือเรื่อง “ซานตูฟู่” (《三都赋》 สรรเสริญสามราชธานี) ที่แต่งโดยนายจั่ว ซือ (左思 ค.ศ.250-305) เมื่อศตวรรษที่ 3 ตามคริสตกาล เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ของจีนเล่มแรกที่ปรากฏคำว่า “จินหลิน” (金邻 สุวรรณภูมิประเทศเพื่อนบ้าน) ในศตวรรษที่ 7 ตามคริสตกาล นายหลี่ ซ่าน (李善, ค.ศ. 630—689) นักวิชาการที่มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์ถัง ให้อรรถาธิบายหนังสือโบราณเรื่อง “ฝูหนันอี้อู้จื้อ” (《扶南异物志》 จดหมายเหตุของแปลกที่ฝูหนัน) ซึ่งมีตอนหนึ่งบันทึกว่า “จินหลิน มีอีกชื่อว่า จินเฉิน ห่างจากฝูหนันไปได้ 2,000 กว่าลี้ ที่นั่นผลิตเงิน ประชาชนส่วนใหญ่นิยมล่าช้าง ได้ทั้งเป็น จะขี่ นั่ง ตายก็เอางาของมัน” ปรากฏชัดเจนต่อมาว่า ช้างและงาช้างกลายเป็นสินค้าสำคัญอย่างหนึ่งของไทยที่จำหน่ายไปยังประเทศฝ่ายตะวันออกและฝ่ายตะวันตก รวมทั้งประเทศจีน ถึงแม้ว่าพ่อค้าต่างชาติที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปที่นั่น เพราะทรัพยากรธรรมชาติที่อุดม จะเรียกที่นั่นว่า “สุวรรณภูมิ” ก็ตาม แต่ที่นั่นเองไม่ได้มีทองคำปริมาณมาก เครื่องทองสัมฤทธิ์ที่ช่างท้องถิ่นนั้นทำมีสีใกล้เคียงกับทองคำ จึงได้รับความนิยมชมชอบจากประเทศที่อยู่ห่างไกลและนักเดินเรือข้ามมหาสมุทร ดังนั้น “สุวรรณภูมิ” ชื่อนี้แอบแฝงถึงพื้นที่ผืนนี้มีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดม มีทองคำหรือสัมฤทธิ์สีทองตามนิทานที่เล่าต่อๆ กัน คนไทยเรียกชื่อประเทศตนเองตั้งแต่ปี ค.ศ. 1292 ว่า “เมืองไทย” ซึ่งดูจากคำที่จารึกในศิลาจารึกด้วยอักษรไทยชิ้นแรกสมัยราชวงศ์สุโขทัยแล้ว “เมือง” ในสมัยโบราณมีความหมายว่า “แดน ประเทศ” ส่วนคำว่า “ไทย” มีความหมายว่า “ชื่อชนเผ่า คน คนอิสระ หรือ นักสันติภาพนิยม” ความหมายสุดท้ายมีความหมายตรงกับคำว่า “泰” ในภาษาจีน กล่องบรรจะพระคัมภีร์"เรือสำเภาจีนกับเรือกลไฟเดินเรือจากจีนมาถึงประเทศไทย" ส่วนคำว่า “จีน” ในฐานะชื่อประเทศ คนไทยใช้กันมาหลายศตวรรษแล้ว แต่ในหลายพันปีก่อนหน้านั้น จีนถูกคนที่นั่นเรียกว่า “Cīna” ในศิลาจารึกภาษาสันสกฤตวัดมเหยงคณ์ที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช ทางภาคใต้ของไทย ก็มีคำนี้แล้ว ประวัติศาสตร์ของศิลาจารึกเหล่านั้นย้อนได้ถึงศตวรรษที่ 6 ตามคริสตกาล ปัจจุบันนี้มีความเห็นพ้องกันทั่วไปว่า คำว่า “Cīna” ที่เก่าแก่ที่สุดพบในพระคัมภีร์ภาษาสันสกฤตเมื่อศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ตัวอย่างเช่น หนังสือประพันธ์มหากาพย์อินเดียเรื่อง “มหาภารตะ” ศิลาจารึกภาษาสันสกฤตในวัดมเหยงคณ์ได้บันทึกเรื่องราวการถวายภัตตาหารและของขวัญให้พระสงฆ์และนักพรตพราหมณ์ ในวัดดังกล่าวมีการประดับธวัชจีน ก็คือตุงจีน หรือ ตุงผ้าไหมจีน โชคดีที่มีนักเดินทะเลและนักเขียนบันทึกการทัศนาจรของจีนที่เคยไป “ทะเลจีนใต้” ทำให้ชื่อท่าเรือ เมืองหรืออาณาจักรบนคาบสมุทรสุวรรณภูมิที่มีการติดต่อกับจีน เริ่มบันทึกไว้ในเอกสารบันทึกทางการของจีน ตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ตามคริสตกาล บางชื่อเป็นคำภาษาอินเดียที่พบในศิลาจารึก ศีลศาสนาหรือบทประพันธ์ บางชื่อใช้ในข้อมูลประวัติศาสตร์ภาษาจีนเท่านั้น นักวิชาการชื่อดังหลายท่าน ได้นำชื่อในข้อมูลประวัติศาสตร์จีน และชื่อในข้อมูลประวัติศาสตร์ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน อินเดีย เปอร์เซีย และอาหรับ ไปเชื่อมโยงกับการค้นพบทางโบราณคดีของหลายที่ โถเซรามิกเคลือบสีเขียวที่ค้นพบใน “Gēluó” (กระ) ในศตวรรษที่ 1 ตามคริสตกาล คำว่า Takkolla บันทึกไว้ในหนังสือศาสนาพุทธเรื่อง “ต้าอี้ซื่อ” (การตีความใหญ่) และหนังสือในศตวรรษที่ 2 ตามคริสตกาล เรื่อง “ภูมิศาสตร์” (Geography) ต่อมาคำว่า Takkolla เปลี่ยนเป็น Kalāh/Qāqullah ในข้อมูลประวัติศาสตร์อาหรับในศตวรรษที่ 8–9 ตามคริสตกาล ซึ่งตรงกับ “Gēluó/Gèluó” (哥罗/个罗) ในหนังสือประวัติศาสตร์จีน คำว่า Gēluó หรือ Kalāh มาจากเสียง “กระ” ในคำภาษาไทย กระ หมายถึง แม่น้ำกระบุรี คอคอดกระและพื้นที่ในจังหวัดระนองชายฝั่งทะเลตะวันตกของคาบสมุทรตอนบนของไทย ในบทประพันธ์ภาษาทมิฬ เมื่อศตวรรษที่ 14 ตามคริสตกาล Takkoli หมายถึง ไม้กฤษณาชนิดหนึ่ง ที่พื้นที่ดังกล่าวได้พบผลิตภัณฑ์และลูกปืนกระจกตะวันออกกลาง รูปแกะสลักของอินเดียและเครื่องเคลือบดินเผาของจีน ซึ่งแสดงว่าที่นั่นเคยเป็นจุดรวมการค้าสินค้าของตะวันออกและตะวันตก ในจำนวนนั้น โถเซรามิกเคลือบสีเขียว (绿釉炻罐) ที่ผลิตในโรงผลิตกระเบื้องเคลือบหลวง “โถงกวนเหยา” (铜官窑) เป็นสินค้าเด่นที่ส่งออกจากภาคใต้ของจีนผ่านทางน้ำสู่ประเทศดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันนี้แสดงโชว์ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติถลางจังหวัดภูเก็ต หนังสือเรื่อง “ซินถังซู” (หนังสือบันทึกราชวงศ์ถังใหม่) ที่เขียนเสร็จเมื่อปี ค.ศ. 1060 ได้บันทึกประวัติศาสตร์ระหว่างปี ค.ศ. 785 ถึงปี ค.ศ. 800 ซึ่งบอกเราว่า “ทหารของเขา (哥罗, Gēluó, โก-ลก) ใช้คันธนู ลูกธนู หอกยาวและหอก (ธรรมดา) ประดับธงทหารด้วยขนนกยูง ทุกครั้งที่ออกศึก ช้างร้อยเชือกเป็นหนึ่งกอง ช้างเชือกหนึ่งมีร้อยคน อานช้างเป็นเหมือนกรงขนาดธรณีประตู สี่คนถือคันธนูและหอกยาวอยู่ในนั้น อัตราภาษีเท่าเงินแท้สองบาท ไม่มีไหมหรือป่าน มีแต่ฝ้าย สัตว์เลี้ยงมีวัวควายจำนวนมากแต่ม้ามีจำนวนน้อย...ถ้าผู้ชายจะแต่งเมีย ต้องให้หมากเป็นสินสอด บางทีให้มากถึงสองร้อยจาน ผู้หญิงแต่งงานแล้ว เปลี่ยนใช้นามสกุลของสามี เครื่องดนตรีมีพิณผีผา ขลุ่ย ฉาบทองเหลือง กลองเหล็ก แตรหอยสังข์ คนตายแล้วเผา เก็บอัฐิในแจกันทองคำจมลงทะเล” สิ่งที่น่ากล่าวถึงคือ ประเพณีนิยมและผลิตภัณฑ์พื้นเมืองที่บันทึกในหนังสือภาษาจีนดังกล่าวสืบทอดมาจนทุกวันนี้ ตระกูลจีนในอาณาจักรผานผาน (Pán-Pán) อาณาจักรผานผาน (Pán-Pán, 盘盘国) อยู่ในต้นศตวรรษที่ 6 หนังสือ “เหลียงซู” (หนังสือบันทึกราชวงศ์เหลียง) บันทึกไว้ว่า อาณาจักรนี้เคยส่งทูตมาเยือนจีนในปี ค.ศ. 529 โดยได้ถวาย รูปแกะสลักงาช้าง พระสถูปแก้บน ของหอมอะโรเมติกสิบกว่าชนิด รวมทั้งไม้กฤษณา ไม้จันทน์ เป็นต้น เป็นพระราชบรรณาการ ทูตพิเศษอีกท่านหนึ่งของอาณาจักรผานผานมาถึงประเทศจีนในปี ค.ศ. 536 โดยได้ถวายพระสารีริกธาตุและพระเจดีย์ขนาดเล็กที่มีลวดลายวาดจากอาณาจักรโพธิ์ และถวายใบโพธิ์ ขนมหวาน และน้ำหอม เป็นต้น เป็นพระราชบรรณาการ ทูตอาณาจักรผานผานยังได้ถวายพระราชบรรณาการให้ราชสำนักของราชวงศ์สุยในระหว่างปี ค.ศ. 605 ถึง ปี ค.ศ. 617 พระยี่จิ้ง พระที่มีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์ถัง เรียกอาณาจักรนี้ในหนังสือประพันธ์ของท่านว่า “เผินเผิน” หนังสือเรื่อง “จูฟานจื้อ” (จดหมายเหตุบรรดาชนกลุ่มน้อยตามชายแดน) เรียกอาณาจักรนี้ว่า “Rìluótíng” "ตาลปัตรพัดผ้าไหมปักลาย"ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่กรุงเทพฯ อาณาจักรผานผานเป็นไปได้ว่า ตั้งอยู่ที่คาบสมุทรสทิงพระ จังหวัดสงขลา ชายฝั่งทะเลตะวันออกทางภาคใต้ของไทย ที่นั่นได้ค้นพบเครื่องกระเบื้องดินเผายุคตั้งแต่สมัยอู่ไต้ (ห้าราชวงศ์) ถึงราชวงศ์ชิงจำนวนมากมาย ตลอดจนพระพุทธรูปเจ้าแม่กวนอิมสมัยราชวงศ์ถังที่ไม่มีพระเศียรองค์หนึ่ง โบราณวัตถุเหล่านี้แสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดสงขลา ในหนังสือทหารของจีนสมัยปี ค.ศ. 1621 เรื่อง “อู่เป้ยจื้อ” (จดหมายเหตุอาวุธยุทโธปกรณ์) ระบุชื่อ “สงขลา” ว่า “Sūn-gū-nă” (ซุนกูหน่า) แผนที่ของฝ่ายตะวันตกในยุคเดียวกันระบุว่า Sungora หรือ Singora ซึ่งหมายถึง จังหวัดสงขลาในราชอาณาจักรสยามตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 18 ตระกูลจีนที่มาจากเมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฮกเกี้ยน ตระกูลหนึ่งตั้งรกรากอยู่ที่นั่น และประกอบการค้าจีน-ไทย ตระกูลนี้ร่ำรวยมากขึ้น กษัตริย์แห่งสยามทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าแต่งตั้งหัวหน้าตระกูลนี้ให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลาสืบทอดตลอดไป สุสานบรรพบุรุษแบบจีนของพวกเขาตั้งอยู่ในอำเภอสิงหนครจังหวัดสงขลา มีลูกหลานของตระกูลไปเซ่นไหว้ตลอดมา หนึ่งในบ้านเก่าที่หลงเหลืออยู่ของพวกเขาคือ สิ่งปลูกสร้างสไตล์จีนดัดแปลง ซึ่งได้จดทะเบียนเป็นโบราณสถานประวัติศาสตร์แห่งชาติ และใช้เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์แห่งชาติจังหวัดสงขลาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1982 พิพิธภัณฑ์แห่งนี้มีชื่อเสียงโด่งดังด้วยโบราณวัตถุและเฟอร์นิเจอร์จีนที่เก็บสะสมมากมาย ความทรงจำวัฒนธรรมจีนที่กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรสยาม (ราชอาณาจักรไทยในต่อมา) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1782 ใช้ชื่อภาษาจีนว่า “มั่นกู่” ซึ่งมาจากคำว่า “Bangkok” ในภาษาอังกฤษ ในระยะแรกของราชวงศ์กรุงเทพฯ (ค.ศ. 1782-1851) ชาวจีนที่ร่ำรวยเข้าสู่สังคมไฮโซ บางคนแต่งงานกับพระราชวงศานุวงศ์ กษัตริย์องค์แรก (พระรามหนึ่ง) และ กษัตริย์องค์ที่สอง (พระรามสอง) ของราชวงศ์กรุงเทพฯ ทรงสนพระทัยวรรณคดีจีนมาก จึงทรงโปรดเกล้าให้นักวิชาการแปลวรรณคดีจีนเรื่อง “สามก๊ก” และ เรื่อง “การแต่งตั้งเทวดา” วรรณคดีจีนเป็นแหล่งที่มาของแรงบันดาลใจในการสร้างงานศิลปะ ที่กรุงเทพฯ มีสิ่งปลูกสร้างแบบจีนคลาสิกส์หลังหนึ่ง ได้อรรถาธิบายข้อนี้อย่างดีเยี่ยม ภาพผนังผืนเดียวบนสิ่งปลูกสร้างนี้ เป็นฉากในพงศาวดารเรื่อง “การแต่งตั้งเทวดา” (ภาพ 1) สิ่งปลูกสร้างหลังนี้ มีความเป็นไปได้มากที่เป็นศาลเจ้าเซ่นไหว้บรรพบุรุษในวังหน้าระหว่างปี ค.ศ. 1864–1865 ซึ่งปัจจุบันนี้จัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่กรุงเทพฯ วัดยานนาวาที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่สาม (พระราม 3) ที่กรุงเทพฯ ถูกใช้เป็นห้องโถงใหญ่หลักในการชุมนุม มีลักษณะที่เด่นที่สุดคือ โครงสร้างรูปทรงเรือ พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชโองการให้สร้างจำลองเรือสำเภาจีนที่ยาว 40 กว่าเมตรด้วยคอนกรีต เพื่อรำลึกถึงเรือสำเภาจีน เพราะเรือสำเภาจีนจำนวนมากถูกนำไปใช้ในการทำการค้ากับจีน ซึ่งได้นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ราชอาณาจักรของพระองค์ เรือกลไฟได้ทดแทนเรือสำเภาจีนในระยะหลังของรัชกาลที่สาม เมื่อต้นศตวรรษที่ 20 มีช่างจีนคนหนึ่งได้ทำกล่องฝังมุกใบหนึ่งเพื่อบรรจุพระคัมภีร์ บนกล่องได้วาดรูปสภาพจำลองเรือสำเภาจีนกับเรือกลไฟเดินเรือจากจีนมาถึงประเทศไทย กล่องบรรจุพระคัมภีร์ใบนี้ได้รับความเชื่อถือว่า เป็นเครื่องฝังมุกที่ดีที่สุด ซึ่งปัจจุบันเก็บสะสมไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงเทพฯ ในยุคดังกล่าว การถวายของขวัญที่มีคุณภาพที่ดีที่สุดแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อทำบุญเป็นที่นิยมกันมากทั่วไปในประเทศไทย พระมหากษัตริย์และพระราชวงศานุวงศ์ของไทยมักจะถวายพัดยศตาลปัตรที่ใช้ในกิจกรรมสำคัญแด่พระภิกษุสงฆ์ โดยเฉพาะตาลปัตรที่ทำขึ้นสำหรับโอกาสพิเศษ โรงผ้าไหมจีนที่กรุงเทพฯ เคยรับพระราชโองการให้ผลิตพัดยศพิเศษชนิดหนึ่ง เช่น ในปี ค.ศ. 1873 ในพระราชพิธีราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์จุฬาลงกรณ์ (รัชกาลที่ห้า ค.ศ. 1868-1910) และพระราชพิธีอื่นๆ ในยุครัชกาลที่ห้า พระองค์ทรงถวายตาลปัตรพัดผ้าไหมปักลายที่ใช้ในพระราชพิธี (ภาพ 3) ถวายให้พระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งที่มีฐานะสูงมาก ซึ่งตาลปัตรใบนี้ปัจจุบันแสดงไว้ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติกรุงเทพฯ ภาพผนังพงศาวดาร "การแต่งตั้งเทวดา" ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติที่กรุงเทพฯ สรุป มรดกที่มีตัวตนบางอย่างของไทย เช่น ซากโบราณสถาน สถานที่ทางประวัติศาสตร์และผลงานศิลปะที่ค้นพบในนั้น ตลอดจนผลงานศิลปะที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งหาร่องรอยได้จากหนังสือประวัติศาสตร์ของจีนและไทยเหล่านั้น เป็นพยานหลักฐานพิสูจน์ประวัติศาสตร์ระยะแรกๆ ของจีนกับไทย และยุคทองการค้าและการไปมาหาสู่ทางวัฒนธรรมระหว่างทั้งสองประเทศผ่านเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเลที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 3 ตามคริสตกาล ซึ่งได้สะท้อนให้เห็นประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์จีน-ไทยในด้านต่างๆ ในยุคสมัยต่างๆ ที่มีมาช้านาน ราชสำนักและพ่อค้าภาคเอกชนของจีนเคยมีการไปมาหาสู่ทางการค้ากับราชสำนักและองค์กรภาคเอกชนของไทย ชาวจีนได้รับผลประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากไทย โดยเฉพาะงาช้าง เขาแรด ไพลิน และผลิตภัณฑ์ไม้ในป่าที่เป็นสมุนไพร ชาวไทยได้ของที่มีชื่อเสียงและมีราคาแพง เช่น เครื่องเคลือบดินเผา เครื่องลายคราม และผ้าไหม เพื่อใช้ในท้องถิ่น และส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศไทยจึงกลายเป็นตลาดระหว่างประเทศในภูมิภาคตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ถึงศตวรรษที่ 18 ตั้งแต่ชุมชนชาวจีนตั้งขึ้นในประเทศไทยเป็นต้นมา นักธุรกิจชาวจีนได้แสดงบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของไทย ช่างไทยประยุกต์ใช้สไตล์ศิลปะแบบจีนยุคต่างๆ ในการทำผลงานศิลปะของตนเอง ผลงานศิลปะต่างๆ ที่ค้นพบในแดนของประเทศไทย ได้สะท้อนให้เห็นถึงความกลมกลืนระหว่างสไตล์ทางศิลปะและประเพณีนิยมของอินเดีย ยุโรป จีน และไทย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพล แรงบันดาลใจ และนวัตกรรมที่ข้ามวัฒนธรรม ทั้งหมดเหล่านั้น ต่างได้ประโยชน์จากบทบาทการเชื่อมโยงของเส้นทางสายไหมทั้งนั้น (เขียนโดย ดร. อมรา ศรีสุชาติ แปลโดย อาจารย์ฟาน จูน) (หนังสือพิมพ์กวางหมิงรึเป้า ฉบับวันที่ 24 เมษายน 2562 หน้า 12)