วันนี้​(1พ.ย.62)เพจ"ข่าวจริงประเทศไทย"ได้เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์กระทรวงดิจิทัลฯเนื้อหาว่า ?? กระทรวงดิจิทัลฯ เปิดศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) หนุนคนไทยรู้เท่าทันข่าวปลอม ​ ?? นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิด “ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม” (Anti-Fake News Center) วันนี้ (1 พ.ย. 62) เน้นข่าวที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินประชาชนในวงกว้าง แนะประชาชนรู้เท่าทัน "ข่าวไหนปลอมข่าวไหนจริง" ? ย้ำ!! “ข่าวปลอม” ไม่ใช่แค่ข่าวที่ถูกนำเสนอในรูปแบบของการรายงานข่าวเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จทุกรูปแบบ ที่สุ่มเสี่ยงจะสร้างความเสียหายต่อประชาชนวงกว้าง ??อย่างล่าสุดกรณี แชร์ลูกโซ่ ก็เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของการให้ข้อมูลอันเป็นเท็จ เรื่องผลตอบแทนที่ผู้ลงทุนจะได้รับสูงจนคนจำนวนมากหลงเชื่อและตกเป็นผู้เสียหาย ซึ่งข้อมูลแบบนี้อาจเข้าข่ายต้องถูกตรวจสอบเช่นเดียวกัน ?? มาแยกประเภท “ข่าวปลอม” ที่มีผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินต่อประชาชนโดยตรง หลัก ๆ มี 4 กลุ่ม ดังนี้ 1️ ข่าวกลุ่มภัยพิบัติ (น้ำท่วม แผ่นดินไหว เขื่อนแตก สึนามิ ไฟไหม้) 2️ ข่าวกลุ่มเศรษฐกิจ การเงินการธนาคาร/หุ้น 3️ ข่าวกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ วัตถุอันตราย เครื่องสำอาง รวมถึงสินค้าและบริการที่ผิดกฎหมายอื่นๆ 4️ ข่าวกลุ่มนโยบายรัฐบาล /ข่าวสารทางราชการ/ ความสงบเรียบร้อยของสังคม/ขัดศีลธรรมอันดี และความมั่นคงภายในประเทศ ??การพิจารณาข่าวปลอม จะนำข้อมูลข่าวสารที่เป็นกระแสและถูกส่งต่อบนโลกออนไลน์ มาวิเคราะห์ หากพบว่าเป็น "ข่าวปลอม" จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้ข้อมูลที่ถูกต้องเป็นจริง เพื่อเผยแพร่ต่อสาธารณชน โดยตั้งเป้า “ประชาชนจะสามารถตรวจเช็คข่าวปลอมหลังรับแจ้งได้ภายใน 2 ชั่วโมง” ? ยึดหลักเกณฑ์ (code-of-principles ) ดังนี้ 1️ ความเที่ยงธรรมและปราศจากอคติในการคัดเลือกข่าว 2️ ความเป็นส่วนบุคคลกับสิทธิเสรีภาพของการนำเสนอข่าว 3️ การขัดกันด้านผลประโยชน์ และผลประโยชน์ทับซ้อน ไม่นำไปสู่ความขัดแย้ง 4️ ให้ความเป็นธรรมแก่ฝ่ายที่ถูกพาดพิงและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเท่าเทียมกัน 5️ สามารถอธิบายกระบวนการพิสูจน์ การตรวจสอบ แหล่งที่มาของบทความและข้อเท็จจริงต่าง ๆ ได้ 6️ มีความรู้เกี่ยวกับข่าวนั้น ๆ ประชาชนสามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงในด้านต่าง ๆ ได้อย่างเปิดเผย ซื่อสัตย์ และโปร่งใส 7️ เป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ขึ้นต่ออิทธิพลของหน่วยงานหรือองค์กรใด ๆ ▶️▶️ การตรวจสอบจะใช้กลไกคณะกรรมการประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม ที่กระทบต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินประชาชน โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และสื่อมวลชน ร่วมดำเนินการตรวจสอบ ✅✅ รมว.ดิจิทัล ย้ำ ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม (Anti-Fake News Center) เป็นกลไกตรวจสอบ ข้อมูลที่เผยแพร่บนสื่อสังคมออนไลน์และระบบอินเทอร์เน็ต หากพบ “ข่าวปลอม” จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบข้อมูล และชี้แจงข้อเท็จจริง ผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น สำนักข่าวไทย สมาคมนักข่าว หรือสื่อหน่วยงานอื่น ๆ เครือข่ายภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน อย่างทันท่วงที ✅✅ นอกจากนี้ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เปิดตัวศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (PCT) เพื่อเป็นอีกหนึ่งกลไกในการดำเนินการตามกฎหมาย กับผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จที่สร้างความเสียหายให้กับประชาชน ? ? หากพบข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จ สามารถช่วยกันตรวจสอบโดยแจ้งเบาะแสได้ที่ ?? ศูนย์รับแจ้งข่าวปลอม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ชั้น6) ? www.antifakenewscenter.com ? Line : @ANTIFAKENEWSCENTER ? Facebook : ANTI-FAKE NEWS CENTER ? Twitter : AFNCTHAILAND #ข่าวจริงประเทศไทย #ศูนย์รับแจ้งข่าวปลอม #ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AntiFakeNewsCenter #ข่าวลวง #กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม #ข่าวปลอม #สำนักงานตำรวจแห่งชาติ