๑) มีทัศนคติที่ดีที่ถูกตองตอบานเมือง ๒) มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง ๓) มีคุณธรรม และ ๔) มีงาน มีอาชีพ สามารถเลี้ยงตนเองเลี้ยงครอบครวัไดและเปนพลเมืองที่ดี พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจาอยูหัว พระราชทานพระบรมราโชบายด้านการศึกษามีพระราชประสงคที่จะทรงสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการสรางคนดีของบานเมือง โดยน้อมนําพระบรมราโชบายดานการศึกษา มุง สรางพื้นฐานใหแกผูเรียน ๔ ดาน ช่วงปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมาว่าที่ร้อยโท ดร.นิคม เหลี่ยมจุ้ยผู้อำนวยการวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลกชวนไปเยือนที่วิทยาลัยพร้อมกับคณะของกลุ่มงานประชาสัมพันธ์สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.)นำโดยผอ.สุนันทา พลโภชน์ ให้ไปสัมผัสการจัดการเรียนการสอนสายอาชีพโดยน้อมนำพระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นนโยบายขับเคลื่อนคือมุ่งสร้างทัศนคติที่ดีที่ถูกต้องต่อบ้านเมืองแก่ผู้เรียน เป็นคนดีมีคุณธรรม มีงานมีอาชีพ มีความเสียสละเพื่อร่วมประกอบประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมที่นำมาซึ่งความสุขความสงบและความเจริญแก่ประเทศชาติในทุกด้าน บนพื้นฐานการยึดมั่นตามศาสตร์พระราชาแนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้วยก้าวเดินไปตามวัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามของความเป็นสังคมไทย การจัดการเรียนการสอนวิชาชีพแผนกหนึ่งที่มุ่งมั่นสืบสานพระบรมราโชบายก็คือแผนกวิชาอาหารและโภชนาการกับแผนกคหกรรมศาสตร์ตั้งแต่ระดับปวช.ไปจนถึงปวส.กับการเรียนรู้ทฤษฎีและลงมือปฏิบัติจริงจังด้านอาหารคาวหวานทั้งอาหารไทยไปจนอาหารนานาชาติ สร้างองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญด้านการผลิตอาหารตามที่สำนวนโบราณว่าไว้คือเสน่ห์ปลายจวัก หลักสำคัญที่ควบคู่ไปกับการผลิตอาหารในทุกกระบวนการตั้งแต่ปรุงรสไปจนถึงบรรจุภัณฑ์หีบห่ออย่างเชี่ยวชาญนำไปสู่การเป็นมืออาชีพป้อนตลาดอุตสาหกรรมได้อย่างยอดเยี่ยมแล้ว ที่ได้รับการปลูกฝังหล่อหลอมอย่างหนักแน่นคือความขยัน ความอดทน ไม่มุ่งอยู่ในจิตใจที่โลภมุ่งประโยชน์ตนเป็นที่ตั้ง มีสำนึกในการทำงานร่วมกับคนอื่นด้วยความรักความเมตตารู้จักให้อภัยให้ความเอื้อเฟื้อกัน โดยสรุปคือได้รับการอบรมบ่มนิสัยขณะเรียนสายอาชีวะให้เป็นคนดีอย่างเข้มข้นไปพร้อมๆกับฝึกฝนความเชี่ยวชาญด้านอาชีพ วันที่ไปเยือนวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลกอดีตเลขาธิการกอศ.ดร.บุญรักษ์ ยอดเพชร ไปร่วมชื่นชมผลการเรียนอาชีพของนักเรียนนักศึกษาเพื่อนำความรู้ความเชี่ยวชาญทางอาชีพไปเป็นเครื่องมือสร้างอาชีพ สร้างงานให้ตัวเองเพื่อสร้างฐานะครอบครัว ไม่ว่าจะจบไปแล้วยึดอาชีพอิสระหรือเป็นลูกจ้างในสถานประกอบการก็ตามสามารถให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุขตามวิถีพออยู่พอกิน ตามวิถีแห่งความเป็นคนดีคือไม่มุ่งหวังแต่การแสวงหาประโยชน์ส่วนตนเป็นที่ตั้งอันเกิดจากการได้รับการปลูกฝังความไม่โลภ การได้รับปลูกฝังความมีเมตตากรุณา ความเอื้อเฟื้อการช่วยเหลือเกื้อกูล การมีจิตอาสาเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยไปดูผลงานนักเรียนนักศึกษาในการทำอาหารคาวพื้นถิ่นอย่างหนึ่งคือ “แกงเผ็ดกล้วยมะลิอ่อง”ดร.บุญรักษ์ได้เน้นย้ำให้ผู้เรียนทุกคนพร้อมด้วยคณะครูอาจารย์ได้มุ่งจัดการเรียนการสอนโดยน้อมนำเอาแนวพระราชดำริหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นภูมิปัญญานำไปสู่ความเป็นผู้มีฝีมือท่ามกลางจิตสำนึกที่ดีงามต่อสังคมส่วนรวมตามพระบรมราโชบายด้วย ดร.บุญรักษ์และผอ.นิคมดูการปรุงแกงเผ็ดกล้วยมะลิอ่องโดยกลุ่มนักเรียนนักศึกษาแผนกอาหารและโภชนาการ รวมถึงอาหารคาวหวานพื้นถิ่นจังหวัดพิษณุโลกอย่างอื่นจากผลกล้วยประจำถิ่นคือกล้วยมะลิอ่องอันเป็นกล้วยน้ำว้าชนิดหนึ่งด้วย อดีตเลขากอศ.และผอ.นิคมลองทำแกงเผ็ดกล้วยมะลิอ่อง โดยมีนักเรียนนักศึกษาคอยให้คำแนะนำวิธีการและการผสมเครื่องปรุง เช่นนำผลกล้วยดิบมาแกงลักษณะคล้ายแกงเผ็ดใส่กระทิเป็นอาหารคาวแบบโบราณดั้งเดิมของคนพื้นถิ่นจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดใกล้เคียง รสชาติกลมกล่อมไม่เผ็ดจัดนักเป็นการสืบสานอาหารคาวท้องถิ่นดังกล่าว โดยวิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก จัดการเรียนการสอนด้านอาชีพบรรจุไว้ในหลักสูตรอาหารคาวและหวานของแผนกคหกรรมศาสตร์ ให้นักเรียนนักศึกษาระดับปวช.และปวส.ได้เลือกเรียนต่อเนื่อง วัตถุดิบที่ใช้ประกอบเป็นแกงเผ็ดกล้วยมะลิอ่องคือกล้วยมะลิอ่องดิบต้ม ปลาย่าง กะทิสด พริกแกง น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ เกลือ มะเขือพวง พริกสดเขียวและแดงแล้วก็ผิวมะกรูด อดีตเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษากอศ.บอกว่า วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลกเน้นการจัดการการเรียนการสอนทำอาหารพื้นถิ่น ให้เยาวชนคนรุ่นหลังรู้จัก ทำกันได้ไม่ว่าจะทำรับประทานกันเองในครอบครัวหรือจะนำไปทำเป็นเชิงพาณิชย์ก็ได้ แม้ว่าจะเป็นอาหารพื้นถิ่นแต่มีรสชาติกลมกล่อมคนในท้องถิ่นอื่นก็เชื่อว่าจะชื่นชอบเมื่อได้รับประทาน ที่สำคัญยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีประเพณีที่ดีงามของพื้นถิ่น และยิ่งสืบลึกลงไปแล้วอาหารพื้นถิ่นดังกล่าวยังมีส่วนดึงชาวจังหวัดพิษณุโลกและประชาชนคนไทย รวมถึงดึงเยาวชนคนรุ่นใหม่เห็นความสำคัญอันก่อประโยชน์แก่การดำรงชีวิตอย่างมีความร่มเย็นเป็นสุขกับการตระหนักถึงวัตถุดิบแทบทุกอย่างที่ประกอบกันเป็นแกงกล้วยมะลิอ่องคือทรัพยากรธรรมชาติ วัตถุดิบคือพืชผักหลากหลายชนิด อันเป็นองค์ประกอบหนึ่งของต้นไม้ทรัพยกรธรรมชาติ การสืบสานอาหารพื้นถิ่นอย่างแกงเผ็ดกล้วยมะลิอ่อง จึงเป็นการปลูกฝังให้ประชาชนเฉพาะอย่างยิ่งชาวท้องถิ่นต้องปลูกพืชที่เป็นวัตถุดิบ และเมื่อผลผลิตดังกล่าวขยายไปเป็นเชิงพาณิชย์ได้ ย่อมต้องปลูกพืชที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ที่สำคัญวัตถุดิบที่ว่าไม่ได้ทำประโยชน์แก่นำมาแกง ยังทำอาหารทั้งคาวและหวานได้อีกมากมายเป็นอาหารของคนไทยอยู่แล้ว ว่ากันว่าวันนี้มีผู้ไปเยือนพิษณุโลกรู้จักรสชาติแกงมะลิอ่องเป็นอย่างดีมักแสวงหารับประทานกัน จึงเท่ากับเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวไปในตัว กล้วยมะลิอ่องก็คือกล้วยน้ำว้า คนไทยนิยมรับประทานแบบกล้วยสุกด้วยเพราะมีประโยชน์กับสุขภาพอย่างยิ่ง ผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลกนายนิคม เหลี่ยมจุ้ยบอกว่าสาขาวิชาอาหารและโภชนาการจำเป็นต้องจัดการเรียนการสอนรองรับรวมไปถึงสาขาคหกรรมด้วย ทำให้มีนักเรียนนักศึกษาสนใจเรียนมากขึ้นจึงจำเป็นต้องให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถเป็นพ่อครัวแม่ครัวอาชีพได้เพื่อที่เอาไปประกอบอาชีพได้เลย “การจัดการเรียนการสอนเน้นสนองพระบรมราโชบายพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานไว้เพื่อสร้างพื้นฐานผู้เรียน 4 ประการ ด้วยทรงมุ่งหวังให้สถานศึกษาสร้างคนดีของบ้านเมืองด้วยทรงตั้งพระราชหฤทัย สืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร คือการสร้างทัศนคติที่ดี หล่อหลอมการเป้นคนมีระเบียบวินัย มีงานทำ ประกอบกิจกรรมที่ก่อประโยชน์ต่อสังคม” ผอ.วิทยาลัยอาชีวศึกษาพิษณุโลก กล่าวทิ้งท้ายว่ากล้วยมะลิอ่องปลูกกันในจังหวัดพิษณุโลกเยอะ และปลูกได้ทั่วไป ประโยชน์ของกล้วยตั้งแต่ต้นไปจนผลทำประโยชน์ได้ทั้งหมด แล้วกล้วยตากบางกระทุ่มที่โด่งดังคนนิยมทั้งประเทศหลักเลยก็ทำจากกล้วยมะลิอ่องนี่แหละ แล้วกล้วยทุกชนิดมีคุณประโยชน์ในการซับน้ำไว้ใต้ดินดีที่สุด ปลูกง่ายที่สุดไม่มีขั้นตอนยุ่งยากอะไรเลย กล้วยผลสุกก็มีประโยชน์แก่สุขภาพสำหรับคนรับประทานประจำ ลักษณะ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องมีลักษณะพิเศษ คือ มีลำต้นสูง 3.5 เมตร เส้น ผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ก้านลำต้น ด้านนอกสีเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างป้อมม้วนงอขึ้น ปลายม้วน ด้านบนมีสีแดงอมม่วง สีนวล ด้านล่าง สีแดงเข้ม ผล เครือหนึ่งมี 8-16 หวี ๆ หนึ่ง มี 10-16 ผล ผลมีเหลี่ยมเล็กน้อย ถ้าแก่จัดค่อนข้างกลม ผลกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 11-13 เซนติเมตร เปลือกบาง มีสีเหลืองนวล เนื้อ ขาว ไส้กลางมีสีขาว เนื้อนุ่ม มี รสหวานจัด ไม่มีเมล็ด โครงการตามพระราชดำริ จัดตั้งโครงการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม บริเวณทุ่งทะเลแก้ว จังหวัดพิษณุโลก โดยคัดเลือก ต้นพันธุ์จากสวนกล้วยน้ำว้า พันธุ์มะลิอ่อง ของกำนัน ประภาส สิงหลักษณ์ บ้านเกาะคู ตำบลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันเกษตรกรได้ขยายพื้นที่การปลูกกล้วยน้ำว้า พันธุ์มะลิอ่อง สำหรับอุตสาหกรรมกล้วยตาก ซึ่ง นอกจากจะดำเนินการในจังหวัดพิษณุโลกแล้ว ยัง ขยายพันธุ์ไปยังจังหวัดอื่นๆ ด้วย เช่น พิจิตร สุโขทัย เชียงใหม่ เป็นต้น ความสำคัญทางเศรษฐกิจสามารถให้ผลผลิตได้เป็นจำนวนมากและนำ ไปทำกล้วยตาก จนเป็นอาชีพที่สำคัญอย่าง หนึ่งของชาวจังหวัดพิษณุโลก