เมื่อวันที่ 29 ต.ค. นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดงานกิจกรรมสืบสานการอนุรักษ์ข้าวพันธุ์พื้นเมืองจังหวัดยโสธร ภายใต้โครงการสร้างกระแสการรับรู้และการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนการเกษตรปลอดภัย เกษตรอินทรีย์และเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีนายวิรัตน์ ภานนท์ สหกรณ์จังหวัดยโสธร พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร เกษตรกรและชาวบ้านในพื้นที่เข้าร่วมเปิดกิจกรรม จำนวน กว่า 350 คน โดยสำนักงานสหกรณ์จังหวัดยโสธร ได้เข้าร่วมจัดนิทรรศการให้ความรู้ในเรื่องการกระบวนการผลิตข้าวปลอดภัย ข้าวอินทรีย์ การตลาด ตลอดจนการส่งเสริมการรวมกลุ่มด้วยวิธีการสหกรณ์ ณ กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาข้าวพันธุ์พื้นเมือง ตำบลกำแมด อำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร นางสาวสิริมา วัฒโน รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร กล่าวว่า ตามนโยบายของจังหวัดยโสธร ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องเกษตรอินทรีย์มาโดยตลอด เกษตรกรมีการทาเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน กลุ่มเกษตรกร ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร เริ่มค้นหาพันธุ์ข้าวพื้นบ้าน ที่หายไปจากชุมชนตั้งแต่ปี 2548 เนื่องจากในอดีตมีพันธุ์ข้าวที่ปลูกในชุมชนมากกว่า 62 สายพันธุ์ แต่ตั้งแต่ปี 2540-2548 เหลือพันธุ์ข้าวที่ปลูกในชุมชนเพียง 2 สายพันธุ์ซึ่งเป็นพันธุ์ที่หน่วยงานภาครัฐส่งเสริมให้ปลูกเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด จึงทำให้วัฒนธรรมชุมชนที่ผูกพันกับข้าวสายพันธุ์ต่างๆ เริ่มหายไป ด้วยเหตุนี้กลุ่มเกษตรกร 12 ครอบครัว จึงรวมกลุ่มกันเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน โดยได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิข้าวขวัญ เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน และศูนย์วิจัยข้าวจังหวัดอุบลราชธานีหนุนเสริมกระบวนการปรับปรุงพันธุ์ การบันทึกลักษณะพันธุ์ทุกช่วงระยะเวลาของการปลูกข้าว การบันทึกแหล่งที่มา การเตรียมพันธุ์ การบันทึกดินที่ปลูก การบันทึกลักษณะประจำพันธุ์ จนเกษตรกรสามารถปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้มีคุณสมบัติตามความต้องการของชุมชน ต่อมาในปี 2551 กลุ่มเกษตรกรของบสนับสนุนงานวิจัยจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่นเพื่อศึกษาการขยายผลการฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านผ่านวัฒนธรรมท้องถิ่นกลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมือง ต.กำแมด อ.กุดชุม จ.ยโสธร กำหนดเงื่อนไขในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว คือ 1.ผลิตเมล็ดพันธุ์ในระบบอินทรีย์ 2.ผลิตไม่เกิน 3 ไร่ ต่อ 1 สายพันธุ์ ต่อ 1 ครอบครัว หากกรณีสมาชิกที่มีความตั้งใจและผลิตได้ดีทางกลุ่มอนุโลมให้สามารถผลิตได้ไม่เกิน 5 ไร่ 3. เก็บเกี่ยวด้วยมือและนวดด้วยมือ 4.สมาชิกจะต้องยินยอมให้กรรมการลงไปสุ่มตรวจ ระยะเวลาต่อมาสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ได้เข้ามาทำงานในพื้นที่ตำบลกำแมด โดยมีทุนสนับสนุนให้กลุ่มทำหน้าที่ตรวจและตั้งโรงเรียนชาวนา ซึ่งเกิดจากความร่วมมือโดยเกิดความร่วมมือระหว่างสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) ศูนย์วิจัยข้าวอุบลราชธานี และเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกภาคอีสาน ผ่านศูนย์ปราชญ์ชาวบ้าน นายบุญส่ง มาตขาว ต่อมากลุ่มได้มีการตรวจคุณค่าข้าวพื้นบ้านโดยได้รับการสนับสนุนสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) สนับสนุนงบประมาณ 1,000,0000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายให้กับมหาวิทยาลัยมหิดลทำการตรวจคุณค่าข้าว ส่วนปี 2557 กลุ่มประสบปัญหาไม่มีโรงเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวตามมาตรฐานที่หน่วยงานภาครัฐกำหนด กลุ่มวิสาหกิจฯ จึงของบประมาณสนับสนุนเพื่อสร้างโรงเก็บรวบรวมเมล็ดพันธุ์ข้าวจากสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) จำนวนกว่า 3 ล้านบาท จังหวัดยโสธร มีพี่น้องเกษตรกรทำเกษตรอินทรีย์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางถึงแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดยโสธร ทำให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คัดเลือกให้จังหวัดยโสธรเป็นจังหวัดต้นแบบในการขับเคลื่อนและขยายผลการทาเกษตรอินทรีย์ ทั้งด้านการเพิ่มจำนวนเกษตรกร จานวนพื้นที่เกษตรอินทรีย์ จานวนผลผลิต การแปรรูป จากผลผลิต และองค์ความรู้ด้านต่างๆ จากการทำเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ แนวคิดพื้นฐานของเกษตรอินทรีย์ คือ การทำการเกษตรแบบองค์รวม ที่ให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศการเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของดิน การรักษาแหล่งน้ำให้สะอาด และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพของฟาร์ม ทั้งนี้ แนวทางเกษตรอินทรีย์อาศัยกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศในการทำการผลิตเกษตรอินทรีย์ปฏิเสธการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชและปุ๋ยเคมี เนื่องจากสารเคมีการเกษตรเหล่านี้มีผลกระทบต่อกลไกและกระบวนการของระบบนิเวศ นอกเหนือจากการปฏิเสธการใช้สารเคมีการเกษตรแล้ว เกษตรอินทรีย์ยังให้ความสำคัญกับการสร้างสมดุล ของวงจรของธาตุอาหาร การประหยัดพลังงาน การอนุรักษ์ระบบนิเวศการเกษตร และการฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย ทั้งนี้ กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าวพื้นเมืองจังหวัดยโสธร หันมาทาเกษตรอินทรีย์และเริ่มค้นหาพันธุ์ข้าวพื้นบ้านที่หายไปจากชุมชน จึงได้รวมกลุ่มกันเพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้าน โดยได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานราชการและภาคเอกชน เพื่อศึกษาการขยายผลการฟื้นฟูและอนุรักษ์พันธุ์ข้าวพื้นบ้านผ่านวัฒนธรรมท้องถิ่นจนถึงปัจจุบันนี้