ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม หรือ MPI เดือน ก.ย.อยู่ที่ 97.5 หดตัวลงร้อยละ 4.7พิษสงครามการค้า บาทแข็ง ขณะที่ “สศอ.”ระบุมะกันตัดจีเอสพีไทยผลกระทบไม่มาก พร้อมประเมินผลกระทบและแถลงเดือน พ.ย.นี้ นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนก.ย.62 อยู่ที่ระดับ 97.5 หดตัวลงร้อยละ 4.7 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตเดือนก.ย.62 อยู่ที่ร้อยละ 63.87 ส่งผลให้ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมไตรมาส 3 ปีนี้ เมื่อเทียบจากช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 99.35 หดตัวลงร้อยละ 4.15 ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ร้อยละ 64.98 สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการผลิตเดือนก.ย.62 ได้แก่ ผลกระทบของสงครามการค้าส่งผลให้เศรษฐกิจโลกชะลอตัว ส่งผลต่อเนื่องมายังการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมไม่นับรวมทองคำ หดตัวลงร้อยละ 1.6 อีกทั้งยังเป็นผลจากดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมเดือนก.ย.62 จัดทำโดย ส.อ.ท.ปรับตัวลดลงต่ำสุดในรอบ 12 เดือน นับตั้งแต่เดือนตุลาคม 2561 และผลจากดัชนีรายได้เกษตรกรเดือนก.ย.62 ขยายตัวร้อยละ 4 ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ทั้งนี้อุตสาหกรรมสำคัญที่ส่งผลบวกต่อ MPI เดือนก.ย.62 ได้แก่ เบียร์ ผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา เฟอร์นิเจอร์ขยายตัวร้อยละ 12.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาเม็ดพลาสติกปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ส่วนอุตสาหกรรมที่ส่งผลลบต่อ MPI ได้แก่ ยางและอื่นผลิตลดลงร้อยละ 21.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา การกลั่นปิโตรเลียม ผลิตลดลงร้อยละ 11.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ส่วนรถยนต์ การผลิตลดลงร้อยละ 5.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมา ส่วนกรณีสหรัฐประกาศตัดสิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรทางการค้า (จีเอสพี) สินค้าส่งออกของไทยไปสหรัฐที่เคยให้บางรายการเมื่อวันที่ 25 ต.ค.ที่ผ่านมา สศอ.คาดว่าส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าของไทยไม่มาก โดยกระทรวงพาณิชย์ระบุว่ากระทบส่งออกน้อยเพียงร้อยละ 0.01 เท่านั้น ซึ่งที่ผ่านมาประเทศไทยเคยถูกสหรัฐฯตัดจีเอสพีก่อนหน้านี้ ผู้ประกอบการก็ปรับตัวได้ โดยขณะนี้สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)และ สศอ.อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล เบื้องต้นสหรัฐฯให้จีเอสพีสินค้าส่งออกจากไทย 573 รายการ ผู้ส่งออกไทยมีการใช้สิทธิจีเอสพีในส่วนผู้ผลิตสินค้าอุตสาหกรรม 350 รายการ จากการใช้สิทธิ์ของผู้ผลิตสินค้าไทยทั้งหมด 355 ราย โดยอีก 5 รายไม่ใช่ภาคอุตสาหกรรม ซึ่ง สศอ.จะแถลงการประเมินผลกระทบอีก 1 เดือนนับจากนี้ไป สำหรับทางออกแก้ผลกระทบจากการถูกสหรัฐตัดจีเอสพี ได้แก่ การเร่งหาตลาดใหม่ พัฒนาสินค้าด้วยการออกแบบและนวัตกรรมใหม่ๆให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากขึ้น และหากผู้ผลิตสินค้าไทยสามารถปรับตัวและพัฒนาตนเองจนสินค้าของไทยสามารถแข่งขันได้จะเป็นประโยชน์กับผู้ประกอบการและประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไปในอนาคต หรืออีกทางที่อาจเป็นไปไดยาก คือ เจรจาขอ ปรับขึ้นราคา "มาตรการกีดกันทางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีนส่งผลให้เศรษฐกิจและการค้าโลกเกิดชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง และส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังและติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งเดือนตุลาคมนี้รัฐบาลออกหลายมาตรการกระตุ้น เช่น ส่งเสริมการท่องเที่ยวทั้งนักท่องเที่ยวในประเทศและต่างประเทศ มาตรการชิมช้อปใช้ เฟส 2 คาดว่าจะช่วยเพิ่มความต้องการซื้อจากทั้งการบริโภคในประเทศและการส่งออกภาคบริการแก่นักท่องเที่ยวต่างประเทศ โดยคาดว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยกระตุ้น"