การมีความหลายหลาย และการยอมรับในความแตกต่าง (Inclusive and Diversification) เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการสร้างความสำเร็จให้กับธุรกิจ ทั้งในด้านการมีผลประกอบการที่ดีขึ้น การเป็นองค์กรที่เป็นที่ต้องการของผู้มีความสามารถ และการรักษาพนักงานที่มีความรู้ความสามารถให้อยู่กับองค์กรได้มากที่สุด รวมไปถึงการมีนวัตกรรมใหม่ที่สามารถตอบสนอง และเข้าถึงผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น จากข้อมูลของกระทรวงต่างประเทศ เมืองไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศทั่วโลกที่มีจำนวนผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงมากที่สุด โดยในปี 2559 ค่าเฉลี่ยทั่วโลกของ CEO ของผู้หญิงคือ 24% ในขณะที่ประเทศไทยมีถึง 37% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดี สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนหรือ Sustainable Development Goals SDGs” ประการที่5 ขององค์การสหประชาชาติ ว่าด้วยความเสมอภาคทางเพศ (Gender Equality) สำหรับบริษัท ฟิลลิป มอร์ริส เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด (PMTT) บริษัทในเครือของฟิลลิปมอร์ริส อินเตอร์เนชั่นแนล อิงค์ (พีเอ็มไอ) ภายใต้การบริหารของ เจอรัล มาร์โกลิส กรรมการผู้จัดการ PMTT เผยว่า บริษัทมีพนักงานประมาณ 400 คน และเป็นส่วนหนึ่งของพนักงานพีเอ็มไอกว่า 77,000 คนจากทั่วโลก ซึ่งมีความหลากหลายทางวัฒนธรรม และเชื้อชาติมากกว่า 100 สัญชาติ และ 80 ภาษาที่ทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ครอบคลุม เปิดกว้าง มีความเคารพซึ่งกันและกัน สนับสนุนให้พนักงานได้สนุกกับการทำงาน และเติมเต็มประสบการณ์ พร้อมเรียนรู้ พัฒนาตนเองเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงต่อองค์กร ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจทุกราย เพื่อมุ่งสู่สังคมไร้ควัน (Smoke-Free Future)ไปด้วยกัน ทั้งนี้ด้วยวิสัยทัศน์ในการสร้างสังคมไร้ควัน(Smoke-Free Future)ของพีเอ็มไอ ที่ต้องการนำผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงต่อสุขภาพน้อยกว่าการสูบบุหรี่อย่างต่อเนื่องมากแทนที่บุหรี่ให้เร็วที่สุด การใช้ประโยชน์จากสไตล์ที่มีความแตกต่างกัน จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และให้มุมมองที่แตกต่างออกไปในการสร้างผลกระทบเชิงบวกที่แท้จริงต่อผู้สูบบุหรี่ 1 พันล้านคนทั่วโลก “หัวใจสำคัญของกลยุทธ์ด้านการบริหารบุคคลของพีเอ็มไอ นอกจากการพัฒนาบุคลากรในด้านความรู้ความสามารถ และทักษะด้านเทคโนโลยีแล้วยังให้การสนับสนุนบรรยากาศที่สร้างความเสมอภาคการไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าเพศใด โดยปัจจุบันพีเอ็มไอ มีผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารขององค์กรกว่า 35% จากอัตราส่วนพนักงานหญิงทั้งหมด 42% ทั่วโลก และเพิ่มขึ้นถึง 6% นับตั้งแต่ปี 2559 และพีเอ็มไอตั้งใจที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งดังกล่าวให้ได้ 40% ภายในปี 2565” อย่างไรก็ตามในปี 2562 พีเอ็มไอ เป็นบริษัทแรกในโลก และประเทศไทยได้การรับรอง EQUAL-SALARY Certification โดยผู้ตรวจสอบจาก PWC ที่ได้รับการรับรองโดย Equal Salary Foundation ให้เป็นบริษัทที่จ่ายค่าตอบแทนพนักงานทุกระดับ ทุกเพศทุกวัยอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งถือเป็นมาตรฐานพื้นฐานสำคัญความเท่าเทียมกัน และเป็นก้าวแรกที่ดีในการสร้างสถานที่ทำงานให้มีความสมดุลมากขึ้น ถือเป็นรากฐานความสำเร็จขององค์การในการก้าวเข้าสู่สังคมไร้ควัน นอกจากนี้ยังได้รับรางวัลอื่นที่ได้รับอาทิ Thailand Best Employer Brand Award 2018-Organisation with Innovative HR Practices,Asia’s Best Employer Brand Awards 2018,Top Employer Thailand2019,Asia Recruitment Award 2019-Bronze Winner for Most Innovative and Sustainable Office Desige และHR Asia:Best Companies to Work for in Asia 2019 Awards (Thailand Edition) ณัจยา โชติกเสถียร ผู้อำนวยการฝ่ายทรัพยากรบุคคล และวัฒนธรรมองค์กร PMTT กล่าวว่า ความมุ่งมั่นของ PMTT ในการสร้างความเท่าเทียมอย่างไม่เลือกปฏิบัติไม่ว่าเป็นเพศใดนั้น เราตั้งเป้าหมายในการจ้างพนักงานผู้หญิง และผู้ชาย ในอัตราส่วน 50:50 เพื่อเริ่มต้นสร้างสมดุล โดยจะมุ่งจำกัดอคติ และการเหมารวม (stereotyping) ในกระบวนการจ้างงาน และการประเมินผลงานพนักงาน รวมทั้งยังให้การสนับสนุนการพัฒนา และความก้าวหน้าของพนักงานในทุกระดับ ทุกเพศ และทุกวัย ขณะที่ยังบรรยากาศการทำงานยังได้ให้ความยืดหยุ่น (Flexible work environment) ซึ่งรวมถึงการเปิดกว้างเรื่องการแต่งตัว ให้อิสระในการทำงานทีไหนก็ได้ในวันศุกร์ ออกแบบสวัสดิการที่ยืดหยุ่นสำหรับพนักงานทุกเทศ และทุกวัน เพื่อให้พนักงานมีอิสระในการทำงานมากขึ้น และช่วยเหลือความสมดุลระหว่างการทำงาน และชีวิตส่วนตัว ทั้งนี้เพื่อต้องการได้มาซึ่งพนักงานองค์กรที่มีความรู้ ความสามารถมาร่วมงาน และที่สำคัญต้องการที่จะได้พนักงานที่หลากหลาย โดยองค์กรพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของพนักงานทุกคน ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างมากในการที่จะมุ่งสู่เป้าหมายขององค์กรได้สำเร็จ “ความหลายหลายในเพศชาย-หญิง ในองค์กรที่มีความเหมาะสมเป็นเรื่องที่สำคัญ รวมทั้งการรับฟังความคิดคิดเห็นของทุกคนในองค์กร เป็นเรื่องที่บ.ฟิลลิป มอร์ริสฯให้ความสำคัญมาก ไม่ใช้เฉพาะที่ประเทศไทย แต่เป็นทั่วโลก” โดยปัจจุบันพนักงานผู้หญิงในพีเอ็มไอส่วนของระดับผู้จัดการขึ้นไปทั่วโลกปี2018 อยู่ที่ 35% โดยตั้งเป้าหมายในปี 2022 จะเพิ่มขึ้นเป็น 40% เพราะต้องการที่จะสร้างความสมดุลในองค์กรให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ขณะที่ในประเทศไทยถือว่าอยู่ในระดับที่ดี โดยมีระดับผู้จัดการขึ้นไปอยู่ที่49% เกินเป้าหมายของบริษัทโดยรวม แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่เป็นการยืนยันถึงหลักปฏิบัติต่างๆที่สร้างความสมดุลในองค์กร คือการจ่ายเงินค่าจ้างพนักงานเท่าเทียมกันหรือทั้งในเพศชาย-หญิง โดยมีการตรวจสอบจากองค์กรภายนอกมาวิเคราะห์ตรวจสอบอย่างละเอียด ซึ่งผลจากการตรวจสอบก็ได้รับการรับรองในเรื่องของความเท่าเทียมกันอย่างดี อีกทั้งยังเป็นบริษัทฯแรกของโลกที่ได้รับการรับรอง นอกจากเรื่องของการจ่ายเงินค่าจ้างพนักงานเท่าเทียมกันหรือทั้งในเพศชาย-หญิง ยังมีจุดแข็งของบริษัทฯในเรื่องการสร้างบรรยากาศในที่ทำงานที่อำนวยความสะดวกให้กับพนักงานมากที่สุด อาทิ การเข้างานได้ตั้งแต่ 07.00-10.00 น.เพื่อให้พนักงานสามารถบริหารเวลาการทำงานกับตนเองได้อย่างเหมาะสม,อำนวยความสะดวกในเรื่องอุปกรณ์ในการทำงาน,การสร้างกิจกรรมร่วมกันในทุกวันพุธ และการให้เงินสวัสดิการพิเศษรายปีกับพนักงานทุกคนที่สามารถนำไปใช้ตามตามต้องการของตนเองได้ ซึ่งเป็นจุดแข็งในการสร้างบรรยากาศในการทำงานให้กับองค์กร และไม่ทำให้พนักงานที่มีความสามารถขององค์กรไหลออกไปยังบริษัทอื่น โดยในปีที่ผ่านมาบริษัทฟิลลิป มอร์ริสฯ ได้รับการจัดอันดับว่าเป็นบริษัทที่มีคนอยากมาร่วมงาน 1 ใน 20 บริษัทในประเทศไทย