ผู้สื่อข่าวรายงาน วันที่ 25 ตุลาคม 2562 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์, นายถาวร เสนเนียม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และคณะ ลงพื้นที่ จ.พังงา เพื่อลงพื้นที่กำกับ และติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคตามสั่งการของนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดหาสถานที่ก่อสร้างสนามบินภูเก็ตแห่งที่ 2ในพื้นที่ จ.พังงา
นายจุรินทร์ฯ และคณะเดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติ จ.ภูเก็ต โดยมี นายภัคพงศ์ ทวิพัฒน์ ผวจ.ภูเก็ต นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธารา ผวจ.พังงา ร.อ.ต.ธานี ชูช่วง ผอ.ท่าอากาศยานภูเก็ต, นางกัตวรรณ ตันเถียร ส.ส. จ.พังงา, นายบำรุง ปิยนามวานิณย์ นายก อบจ.จ.พังงา ให้การต้อนรับ จากนั้นรับฟังบรรยายสรุปโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานพังงา ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา ที่ห้องประชุมท่าอากาศยานภูเก็ต สรุปเนื้อหาดังนี้
ั
จ.พังงา โดย ผวจ.พังงา ได้มีการตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนฯ โครงการก่อสร้างสนามบินจังหวัดพังงา ซึ่งที่ผ่านมาท่าอากาศยานมีหนังสือถึง ผวจ.พังงา เรื่องให้ศึกษาพื้นที่ก่อสร้างสนามบินภูเก็ตแห่งที่ 2 ตามสั่งการของนายกรัฐมนตรี
โดยทาง นางลัชธิดา อาภาพันธ์ุ ฝ่ายกลยุทธองค์กรท่าอากาศยานไทย ได้ชี้แจ้งในที่ประชุมว่าท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ตในปี 2561มีจำนวนผู้โดยสาร 18,221,525 คน มีเที่ยวบิน จำนวน 118,280 เที่ยวบิน แต่สนามบินสามารถรองรับนักท่องท่องเที่ยวได้เพียง 12,000,000 คน และในอนาคตมีการคาดการณ์ขีดความสามารถของ ทภก.(ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต) สูงขึ้นตามลำดับ ทำให้มีการศึกษา ขอให้มีการขยายท่าอากาศแห่งในจังหวัดพังงา ซึ่งทางสนามบินภูเก็ตไม่สามารถขยายสนามบิน ทั้งรันเวย์ และส่วนประกอบของท่าอากาศยานฯ จึงได้เลือกพื้นที่ อำเภอโคกกลอย จังหวัดพังงาซึ่งเหมาะสมต่อการดำเนินการของอาศยานฯ นอกจากนี้ยังต้องมีการศึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องอีกหลายด้านเพื่อให้ครอบคลุมปัญหาด้านต่างๆ ซึ่งในโครงการก่อสร้างสนามบินแห่งใหม่จะมีรันเวย์ 2รันเวย์ สามารถรองรับจำนวนเที่ยวบินได้มาก และพื้นที่ที่สามารถขยายความยาวรันเวย์ให้รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ได้ มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารในเฟสแรกจำนวนประมาณ 22.5 ล้านคนต่อปี งบประมาณ 79,518.12 ล้านบาท ส่วนเฟส 2 ขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร 25 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณ 1,071.07 ล้านบาท
นายสมัย โชติสกุล ผู้ตรวจการกระทรวงคมนาคม ได้ชี้แจงเรื่องพื้นที่ ที่ทาง ทอท.เตรียมเสนอ ครม. เพื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนในการดำเนินการ ใช้พื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ จนถึง 7,300ไร่ จำนวน 2 รันเวย์ ระยะห่างของรันเวย์ทั้ง 2 รันเวย์ 1,500 เมตร กว้าง 2,000เมตร ยาว 4,000เมตร รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ มีเที่ยวบินหลายไฟล์ที่ต้องลงสนามบินกระบี่ทั้งที่ผู้โดยสารต้องการเข้าพักอาศัยและท่องเที่ยวที่จังหวัดพังงาและจังหวัดภูเก็ต โดยพื้นที่ก่อสร้างฯ อยู่ที่ หมู่ที่ 11 บ.ท่าปากแหว่ง ต.โคกกลอย จำนวน 5,386ยาวไปถึงบ้านในหยง ต.หล่อยูง จำนวน 2,079ไร่ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุม แสดงความเห็นเรื่อง การก่อสร้างให้รถไฟรางเบาจากสนามบินถึงสถานนี ต.ท่าอยู่ ปละรถไฟรางคู่จาก ต.พุนพิน ถึงสถานี ต.ท่าอยู่ ให้สามารถเชื่อมโยงได้อย่างสะดวกต่อนักท่องเที่ยว
ซึ่งทางบริษัทท่าอากาศยานไทยจำกัด (มหาชน)ได้กล่าวว่าในส่วนของ ทอท. ได้ทำแผนพร้อมเสนอหากรัฐบาลให้เป็นผู้ดำเนินการจะใช้เวลา 2 ปีในการศึกษา 3 ปีในการทำประชาพิจารณ์ 3 ปีในการจัดหาและและเวนคืนที่ดิน (ซึ่ง ทอท.ไม่สามารถเวรคืนเองได้) และ 3-4ปีในการก่อสร้าง และจะสร้างเสร็จในปี 2576
ต่อมา นายจุรินทร์ฯ สอบถามในที่ประชุมว่าใครเป็นผู้ดำเนินการระหว่าง ทอท. หรือ กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งปัจจุบันยังไม่แน่ชัดว่าหน่วยไหนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินโครงการที่ ซึ่งทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับ ครม.จะเห็นชอบอนุมัติให้ ทอท. หรือ ทย. เป็นผู้ดำเนินการ จากนั้น นายถาวร เสนเนียมฯ ได้แจ้งให้ ทอท.ทำหนังสือถึงกระทรวงคมนาคม เสนอ นายถาวร ฯ เป็นผู้ดำเนินการทำหนังสือสอบถามความชัดเจน
นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธารา ผวจ.พังงา กล่าวว่า จังหวัดพังงาหากมีสนามบินก็จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาในด้าน คมนาคม เศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ซึ่งการพิจารณาอยู่ในดุลยพินิจ ของคณะทำงาน สำหรับจังหวัดพังงาในด้านคมนาคม มีโครงข่ายการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟสายใหม่เชื่อมโยงสองฝั่งทะเล
เวลา16.30 นายจุรินทร์ฯ และคณะ เดินทางลงพื้นที่ก่อสร้างท่าอากาศยาน หมู่ที่ 11 บ้านท่าปากแหว่ง ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา โดยมี นายอำเภอตะกั่วทุ่ง ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ขนส่ง ทางหลวงชนบท แขวงทางหลวง และที่ดินจังหวัดพังงา และประชาชนให้การต้อนรับประมาณ ๒๐๐ คน
นายบัญชา ธนูอินทร์ นายอำเภอตะกั่วทุ่งบรรยายสภาพในพื้นทุ่ง สงวนเลี้ยงสัตว์จำนวนกว่า 8,000ไร่ สภาวะปัจจุบัน ทุ่งสงวนมีเนื้อที่สำรวจได้เพียงจำนวน 5,500 ไร่ ที่เหลืออีก 1,800 ไร่ เป็นที่ที่มีเอกสารสิทธิต้องเวนคืน โดยในพื้นที่ส่วนหนึ่งเป็นโรงเรียนบ้านในหยง มัสยิดบ้านในหยง กุโบร์บ้านในหยง กุโบร์บ้านท่าปากแหว่ง
จากนั้น นายจุรินทร์ฯ ได้ให้สัมภาษณ์ ทางกระทรวงคมนาคมต้องพิจรณาหาผู้ดำเนินการระหว่าง ทอท. และ ทย. ซึ่งจะทำให้ระยะเวลาแตกต่างกันทั้งงบประมาณและระยะเวลาการดำเนินการ หากสนามบินพังงาแล้วจะเป็นสนามบินขนาดใหญ่รองรับผู้โดยสารได้มากกว่าท่าอากาศยานภูเก็ตกว่า 1 เท่าตัว
ขนกวรรณ พรหมทองผู้สื่อข่าวพังงาโทร 082-1569162





