ที่ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดพังงา ต.ถ้ำน้ำผุด อ.เมือง จ.พังงา นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผวจ.พังงา ร่วมกับ คณะทำงานขับเคลื่อนการก่อสร้างสนามบินจังหวัดพังงา โดยมีส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้ง นายอำเภอตะกั่วทุ่ง ตำรวจ ฝ่ายปกครอง ขนส่ง ทางหลวงชนบท แขวงทางหลวง ในการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติพังงา เบื้องต้นในส่วนของจังหวัดพังงามีการแต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนฯ โครงการก่อสร้างสนามบิน ท่าอากาศยานนานาชาติพังงา โดย บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีเจ้าหน้าที่ ทอท. เข้าร่วมในการxit=6, เริ่มจากความจำเป็นในการก่อสร้าง สนามบินท่าอากาศยานนานาชาติพังงา พบว่าขีดความสามารถของ ท่าฯภูเก็ตในปี 2561 มีจำนวนผู้โดยสาร 18,221,525 คน มีเที่ยวบิน 118,280 เที่ยวบิน มีการคาดการณ์ขีดความสามารถของ ทภก.(ท่าอากาศยานนานาชาติภูเก็ต) สูงขึ้นตามลำดับ ทำให้มีการศึกษา ขอให้มีการขยายท่าอากาศแห่งใหม่ 2 แห่ง คือ ภูเก็ต และ เชียงใหม่ ซึ่งทางสนามบินภูเก็ตไม่สามารถขยายสนามบิน ทั้งรันเวย์ และส่วนประกอบของท่าอากาศยานฯ จึงได้เลือกพื้นที่โคกกลอย ซึ่งเหมาะสมต่อการดำเนินการของท่าอาศยานฯ นอกจากนี้ยังต้องมีการศึกษาส่วนที่เกี่ยวข้องอีกหลายด้านเพื่อให้ครอบคลุมปัญหาด้านต่างๆ มีการวางไว้ 2 รันเวย์ มีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารในเฟสแรกจำนวนประมาณ 22.5 ล้านคนต่อปี งบประมาณ 79,518.12 ล้านบาท ส่วนเฟส 2 ขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร 25 ล้านคนต่อปี ใช้งบประมาณ 1,071.07 ล้านบาท ซึ่งทาง ทอท.เตรียมเสนอ ครม. เพื่อดำเนินการต่อไปตามขั้นตอนในการดำเนินการ ใช้พื้นที่ประมาณ 4,000 ไร่ จนถึง 7,000 ไร่ ความ2 รันเวย์ ระยะห่าง ของรันเวย์ทั้ง 2 รันเวย์ 1,500 เมตร กว้าง 2,000 เมตร ยาว 4,000 เมตร รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ มีเที่ยวบินหลายไฟล์ที่ต้องลงสนามบินกระบี่ทั้งที่ผู้โดยสารต้องการเข้าพักอาศัยและท่องเที่ยวที่ ภูเก็ต ซึ่งอยู่ในเขต ต.โคกกลอย ต.หล่อยูง ต.ท่าอยู่ อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา โดยส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทุ่งสงวนเลี้ยงสัตว์ ในพื้นที่ อ.ตะกั่วทุ่ง 8,455 ไร่ ขณะนี้พบมีการสำรวจพื้นที่ในปัจจุบันมีจำนวน 5,500 ไร่ ใน 4 หมู่บ้าน ของ ต.โคกกลอย นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุม แสดงความเห็นเรื่อง การก่อสร้างให้เชื่อมโยงรถไฟรางเบาเชื่อมสนามบินภูเก็ต และสนามบินจังหวัดพังงา ให้สามารถเชื่อมโยงได้อย่างสะดวกต่อไป