เพจ Mekong Voice เสียงจากลำน้ำโขง ได้โพสต์ข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม เกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาด 3.9 ใกล้กับตัวเมืองเลย ชาวบ้านรับรู้สึกแรงสั่นสะเทือน แม้จะอยู่บ้านชั้นเดียว ระบุเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 5 ปีที่เคยเกิดขึ้น ทำให้คนลุ่มน้ำโขงวิตกกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของเขื่อนไซยะบุรี วันนี้ พวกเราขอนำข้อมูลเกี่ยวกับเขื่อนไซยะบุรีและปัญหาแผ่นดินไหวมาให้รับรู้กันครับ ก่อนอื่นขอบอกก่อนว่า แผ่นดินไหวที่ อ.เมืองฯ จ.เลย เมื่อวันที่ 16 ต.ค.นั้น กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุว่า เบื้องต้นคาดว่าเป็นพลังงานที่เกิดขึ้นใกล้กับรอยเลื่อนเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นคนละกลุ่มกับรอยเลื่อนที่เขื่อนไซยะบุรี สำหรับเขื่อนไซยะบุรีเป็นเขื่อนที่สร้างบนรอยเลื่อนกลุ่มรอยเลื่อนไซยะบุรี ซึ่งกลุ่มรอยเลื่อนนี้อันตรายที่สุด เพราะเป็นกลุ่มรอยเลื่อนที่เชื่อมต่อกับรอยเลื่อนเดียนเบียนฟู และรอยเลื่อนแม่น้ำแดงที่เคยเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในประเทศจีน (ภาพแรก) รอยเลื่อนแห่งนี้ยังเชื่อมต่อกับกลุ่มรอยเลื่อนอุตรดิตถ์ในประเทศไทยที่นักธรณีวิทยาของไทยระบุว่า "ต้องจับตา" ที่ตั้งของเขื่อนไซยะบุรีตั้งบนรอยเลื่อนของเปลือกโลกที่ยังมีชีวิต (active fault) ดูได้จากแผนที่แสดงที่ตั้งของเขื่อนไซยะบุรีบนรอยเลื่อนของเปลือกโลก (สามเหลี่ยมสีเหลืองในภาพที่ 2) ขณะที่รอบๆ เขื่อนไซยะบุรี มีรอยเลื่อนที่ยัง active ในรัศมี 200 กม.(ภาพ 3) สำหรับประวัติแผ่นดินไหวที่ไซยะบุรีก็คือในปี 2011, ขนาด 5.4 เมกนิจูด 4.6 และ 3.9 (ขนาด 3.9 ห่างจากตัวเขื่อน 60 กม.) ในปี 2007 เกิดแผ่นดินไหวที่เขตไซยะบุรีขนาด 6.7 เมื่อตอนเริ่มสร้างเขื่อน ดร.ปัญญา จารุศิริ จากจุฬาลกรณ์มหาวิทยาลัย เคยเตือน โอกาสร้อยละ 30 ที่จะเกิดแผ่นดินไหวระดับกลาง และร้อยละ 10 มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขนาด 7 ริกเตอร์ และไม่ควรเริ่มสร้างเขื่อนไซยะบุรี ในขณะนี้ นอกจากเขื่อนไซยะบุรีจะทำอย่างไรไม่ให้ระบบนิเวศน์แม่น้ำโขงพังพินาศดังที่กำลังเกิดขึ้นแล้ว จำเป็นต้องมีแผนเผชิญเหตุสิ่งแวดล้อมฉุกเฉิน (environmental emergency response plan) ด้วย คำถามก็คือ เขื่อนนี้มี แผน EERP หรือไม่ และถ้ามีช่วยเอามาเผยแพร่ให้คนท้ายเขื่อนรับรู้ด้วยครับ เพราะหากเกิดอะไรขึ้นคนท้ายเขื่อนคือคนที่จะรับกรรม ไม่ใช่นักสร้างเขื่อน. ข้อมูลจากบทความของ Nualkhao et al., 2016. Bulletin of Earth Sciences of Thailand, "Paleoearthquakes Along Xaignabo". Vol. 7, No. 1, 25-32 ข้อมูลประวัติแผ่นดินไหวและคำให้สัมภาษณ์ ดร.ปัญญา จารุศิริ จากลิงค์นี้ https://www.scmp.com/news/asia/article/1469903/experts-renew-quake-fears... ภัทรวินทร์ ลีปาน หนองคาย