ชาวบ้านรวมตัว ร้อง สว. ค้านสร้างสนามบินบางระกำ กระทบที่ทำกินและแหล่งพักน้ำขนาดใหญ่ ชาวบ้านรวมตัว ชี้แจงพร้อมส่งหนังสือคัดค้านการก่อสร้างสนามบินบางระกำ ในจังหวัดนครปฐม กว่า 3 ไร่ โดยยืนยันจะทำลายแหล่งทำกินวัฒนธรรมและประเพณี รวมถึงพื้นที่ก่อสร้างเป็นพื้นที่หลักที่รับน้ำไว้ครั้งเกิดอุทกภัยใหญ่เมื่อปี 54 หากการท่าเดินหน้าก่อสร้างก็จะต่อสู้อีก พร้อมระบุ ไม่มีในแผนพัฒนาจังหวัด 20 ปี ไม่มีในแผน 5 ปี ของการท่า สุดท้ายมาเกิดโครงการได้อย่างไร เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา จากโครงการสมาชิกวุฒิสภาพบประชาชน พื้นที่ภาคกลาง ที่ วัดสาละวัน ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม ซึ่งเป็นโครงการที่สมาชิกวุฒิสภาให้ความรู้เกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจวุฒิสภาและภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศ พร้อมทั้งรับความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ หน่วยงานภาครัฐ ระดับอำเภอและจังหวัด องค์กรเอกชนในประเด็นกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ที่ดิน กฎหมายเกี่ยวกับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างและสภาพปัญหาของประชาชน ได้มีกลุ่ม#savebangrakam นำโดยตัวแทนชาวบ้าน นาย นันทวุฒิ อุ่นคำเรือน และ น.ส.ฐิติพร ฉิมมณี ผู้ประสานงานและแกนนำกลุ่ม#savebangrakam ยื่นหนังสือต่อ คณะ ส.ว.พร้อมรายชื่อชาวบ้านผู้คัดค้านและไม่เห็นด้วยกับโครงการสนามบินนครปฐม 1,000 รายชื่อและได้นัดรวมกับชาวบ้านที่ได้รับความเดือดร้อนโครงการทางด่วนมอเตอร์ บางใหญ่-กาญจนบุรี และกลุ่มสมัชชาสุขภาพจังหวัดนครปฐม และกลุ่มองค์กรเครือข่ายลุ่มน้ำท่าจีน ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการสนามบินนครปฐม โดยจะมีการยื่นหนังสือให้คณะ ส.ว.ที่เดินทางมาพบปะประชาชน โดยกลุ่ม#savebangrakam ที่แสดงการไม่เห็นด้วยในการสร้างสนามบินที่จะมาสร้างที่บ้านบางระกำ ชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน จะเสียโอกาสในการประกอบอาชีพ ที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน อีกทั้งชุมชนที่อยู่กับแบบพี่น้องก็จะล่มสลายหายไป ชาวนา ชาวสวนได้นำผลผลิตทางการเกษตรที่ชาวบ้านบางระกำได้ทำจริงๆในพื้นที่ เพื่อไปแสดงที่การจัดโครงการเป็นการแสดงเชิงสัญลักษณ์ว่าผลผลิตจากชาวสวนบางระกำที่อยู่ในพื้นที่ 3,500 ไร่ได้จัดทำผลิตภัณฑ์ใส่กระเช้าพืชผักสวนครัวเพื่อให้เห็นว่าผลผลิตที่ชาวนาชาวไร่ทำอยู่ในพื้นที่ทำมาหากินอยู่อย่างพอเพียง ตามนโยบายของรัฐและกระทรวงเกษตรฯที่จะทำให้ชาวสวน ชาวนา ชาวไร่ เกษตรกรไทยเป็นครัวโลก วันเดียวกันได้มีกลุ่มชาวบ้านในพื้นที่และใกล้เคียงร่วมยืนถือป้ายคัดค้านการสร้างสนามบินบ้านบางระกำ ส่วนประชาชนกลุ่มชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบหากมีการสร้างสนามบินที่บ้านบางระกำ โดยได้แสดงเจตนาว่าสถานที่ที่จะสร้างสนามบินแต่ละตำบล หมู่บ้านต่างมีวิถีชีวิตชุมชนอาศัยอยู่น่วมกับแม่น้ำท่าจีนหลายชั่วอายุคน เปรียบเสมือนรากเหง้าของชุมชน อยู่แบบพึ่งพาอาศัย ฝากบ้าน ฝากเรือนกันได้ ซึ่งอยู่กันเป็นกลุ่มก้อนตามวิถีชุมชน ถ้ามีการสร้างสนามบินที่บ้านบางระกำชุมชนเขาเหล่านี้จะไปอยู่ที่ไหนกัน ญาติพี่น้อง ต้องแตกแยกออกไปคนละทิศ และทาง ซึ่งทางชาวบ้านในพื้นที่บางระกำไม่ได้คัดค้านให้สร้างสนามบิน แต่ให้ทางการท่า ตรวจสอบหาพื้นที่ที่เหมาะสมกว่านี้ ที่มีบ้านเรือน ประชาชนที่น้อยกว่า แต่ก็มีที่จะสร้างสนามบินแห่งใหม่อีกหลายแปลงที่การท่าอากาศยาน ได้มีการสำรวจเอาไว้เช่นกัน ซึ่งเหตุผลโครงการสร้างสนามบินนครปฐม ไม่ได้มีแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีในการพัฒนาจังหวัดนครปฐม และในแผน 5 ปีของกรมท่าอากาศยานก็ไม่มี ถ้าโครงการนี้เกิดขึ้นใครทำร้ายชาวบางระกำ และผู้รับผลกระทบ จะต้องรับอะไรต่อไปในอนาคต เพราะพื้นที่บางระกำเป็นพื้นที่ลุ่ม เหมาะแก่การทำเกษตร ทำไร่ ทำนา ถ้ามีการสร้างสนามบินก็อาจจะต้องถมดินที่สูงมากและอาจจะถมถนนสูงกว่าพื้นถ้าสูงขนาดนี้พื้นที่ใกล้เคียงต้องเป็นที่รับนำอย่างแน่นอน จากนั้นตัวแทน นันทวุฒิ อุ่นคำเรือนฐิติพร ฉิมณี ตัวแทนกลุ่ม#savebangrakam มอบหนังสือให้คณะ ส.ว. พร้อมทั้งมอบของที่ระลึกเป็นผลผลิตด้านเกษตรกรรมของชาวบ้านบางระกำในพื้นที่โครงการสนามบิน นครปฐม กลุ่ม #savebangrakam พร้อมรับฟัง จากพลอากาศตรี เฉลิมชัย เครืองาม และ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล อดีต ผู้ว่า นครปฐม ได้ให้ข้อมูลข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสนามบินให้ตัวแทนและชาวบ้านรับฟังพร้อมชี้นำแนวทางให้ชาวบ้านทางกลุ่ม#savebangrakam ที่ร่วมกันต่อสู้กับโครงการสนามบินนครปฐมด้วยกันมา มีความหวังความมั่นใจในจุดหมายปลายทาง และกลับมามีรอยยิ้มกันอีกครั้งหลังจากรอยยิ้มของคนบางระกำหายไปนาน นายนันทวุฒิ อุ่นคำเรือน ตัวแทนกลุ่มบางระกำบอกว่า ท่านหม่อมหลวงปนัดดาท่านเคยเป็นอดีตผู้ว่านครปฐม เคยทำงานให้ ร.9 เรื่องแก้มลิงท่านหม่อมหลวงปนัดดามาพื้นที่บางระกำท่านสืบสานคำสอนของ ร.๙ ท่านบอกการที่พื้นที่บริเวณตรงนี้เป็นแก้มลิงเมื่อปี 54 เกิดอุทกภัยที่ตรงนี้เป็นที่พักน้ำการที่จะมีสิ่งก่อสร้างใหญ่ๆมาสร้างบริเวณนี้เป็นอะไรที่ไม่สมควรและไม่เหมาะสมเป็นอย่างยิง ท่านยังได้ขอบคุณผู้นำทุกท่านตลอดจนข้าราชการทุกๆคนและประชาชนคนนครปฐมที่มีความร่วมมือที่จะปกป้องมรดกและสืบสานวัฒนธรรมประเพณีความคิดที่จะรักษาสิ่งที่มีอยู่ในอดีตและสืบสานกันต่อมาถึงปัจจุบันและต่อไปด้วย ซึ่งจากนี้ก็จะเดินหน้าต่อสู้เรื่องนี้ต่อไปร่วมถึงดูท่ามีจากกรมท่าอาการยานต่อไปด้วยเช่นกัน