หมอแจง” จับมือกับ “ดร.อานนท์” และ ฟาร์มสุขใจ เตรียมนำการวิจัยและพัฒนากัญชามาผสมผสานกับ เห็ดกระด้าง สร้างตำรับยาตามศาสตร์แพทย์แผนไทย “กัญชาเห็ดกระด้าง” “หมอแจง” จับมือกับ “ดร.อานนท์” และ “ฟาร์มสุขใจ” เตรียมนำการวิจัยและพัฒนากัญชามาผสมผสานกับ “เห็ดกระด้าง” ซึ่งเป็นยาดีของไทยเพื่อสร้างตำรับยาตามศาสตร์แพทย์แผนไทยเพื่อรักษาผู้ป่วยโรคชนิดต่าง ๆ ภายใต้แบรนด์ “กัญชาเห็ดกระด้าง” วันนี้(15 ตุลาคม 2562) ณ เลดี้มัชรูมฟาร์ม หมู่ที่ 6 ต.ไทยสามัคคี อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา หัวหน้าคณะวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา นำ ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานสมาพันธ์วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย และ คณะเยี่ยมชมอาคาร "หมอแจงคลินิกการแพทย์แผนไทย" ที่ได้รับอนุญาต "หนังสือสำคัญจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5" เตรียมพัฒนาสู่การวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย ซึ่งหนังสือสำคัญฉบับนี้เป็นหนังสือสำคัญให้จำหน่ายยาเพสติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชาเท่านั้น และ จำหน่ายยาเพสติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชาให้แก่ผู้ป่วย ในการสั่งจ่ายยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชา ต้องสั่งจ่ายโดยผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือ หมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้ตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่จากกระทรวงสาธารณสุข หรือหลักสูตรที่กระทรวงสาธารณสุข หรือสภาวิชาชีพการแพทย์แผนไทยให้การรับรอง และ ต้องดำเนินการภายใต้สถานพยาบาลของรัฐ หรือสถานพยาบาลเอกชนตามกฎหมาย ว่าด้วยสถานพยาบาล (ยกเว้นหมอพื้นบ้าน) และตำรับที่สั่งจ่ายต้องเป็นตำรับตามที่ระบุในประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเพสติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้เท่านั้น ผศ.ดร.นิภาพร อามัสสา หัวหน้าคณะวิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน นครราชสีมา ได้เปิดเผยว่า นอกจากคลินิกรักษาผู้ป่วยแล้ว ที่นี่ยังเป็นศูนย์เรียนรู้และอบรม “เห็ดเยื่อไผ่” และ “เห็ดกระด้าง” นอกจากนั้นที่ผ่านมาได้สนับสนุนทุนการวิจัย "โครงการพัฒนาเห็ดสมุนไพรเพื่อเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารในผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV" ตั้งแต่ปี 2550 เป็นเงินกว่า 1.7 ล้านบาท ซึ่งเป็นการต่อยอดงานวิทยานิพนธ์ของตนที่ทำไว้ โดยงานวิจัยดังกล่าวได้คัดเลือกเห็ดสมุนไพร 2-3 ชนิด ได้แก่เห็ดบด เห็ดลม หรือ เห็ดกระด้าง (Lentinus polychrous Lev.) และเห็ดหลินจือ (Ganoderma lucidum (Fr.) Karst.) โดยพิจารณาจากเห็ดสมุนไพรที่มีศักยภาพทั้งด้านสรรพคุณและด้านการตลาด การวิจัยเห็ดสมุนไพรดังกล่าว ได้ทำการวิจัยเบื้องต้นทางคลินิก โดยทดสอบประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของสารสกัดจากเห็ดสมุนไพร ในการลดไขมันในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า สามารถลดไขมันทั้งคอลรสเตอรอล (Cholesterol) และไขมันเหลว (Triglyceride) ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน และผู้ป่วยติดเชื้อ HIV ที่มีไขมันสูงได้ดี "ผู้ป่วยเบาหวานไม่ได้มีปัญหาแค่ปริมาณน้ำตาลในเลือดสูง แต่ไขมันก็มีส่วนสำคัญ เช่นเดียวกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV หากปริมาณไขมันในเลือดสูงจะทำให้มีโรคอื่นรุมเร้า เนื่องจากผู้ป่วยมีภูมิต้านทานบกพร่อง ซึ่งสารสกัดจากสมุนไพรเห็ดนี้จะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวต่อไปได้อีก ผศ.ดร.นิภาพร กล่าวต่อว่า การเลือกชนิดของเห็ดขึ้นมาทำการวิจัย นั้นเนื่องจากในพื้นที่ภาคอีสานจะหาเห็ดบด หรือเห็ดกระด้างได้ง่าย และส่วนหนึ่งมาจากความชอบกินเห็ดจึงทำการศึกษาวิจัย ในส่วนของเห็ดหลินจือ มีผลงานวิจัยหลายชิ้นที่ระบุชัดเจนว่ามีประโยชน์มากมาย ฉะนั้น เมื่อนำเห็ดบดกับเห็ดหลินจือมาสกัดรวมกันจึงได้เป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเห็ดสมุนไพร ที่เป็นประโยชน์กับผู้ป่วยเบาหวาน และผู้ติดเชื้อ HIV สำหรับคุณสมบัติของ เห็ดบด (Lentinus polychrous Lev.) ในตำรายาแผนไทยโบราณ มีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงร่างกาย, บำรุงกำลัง และแก้ไข้พิษ โดยหมอยาแผนไทยจะนำ เห็ดบด ทั้งแบบสดหรือแบบแห้ง ต้มกับน้ำจนเดือดให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงานหรือไม่แข็งแรงเนื่องจากเพิ่งฟื้นจากไข้ สมรรถภาพทางเพศไม่ค่อยจะดี รับประทานทั้งน้ำและเนื้อเห็ดเป็นประจำจะทำให้ร่างกายแข็งแรง กระชุ่มกระชวย และยังใช้เป็นยาแก้พิษไข้ได้อีกด้วย ปัจจุบันมีการศึกษา พบว่า เห็ดบด มีกรดอะมิโนจำเป็น (Essential amino acid) และสารประกอบ Polysaccharides สามารถช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันในร่างกายได้ ทางด้าน ผศ.ดร.อานนท์ แสนน่าน ประธานสมาพันธ์วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย ได้กล่าวว่า เห็ดกระด้าง จัดอยู่ในกลุ่มตำรายาแผนไทยโบราณ “เห็ดกระด้าง” มีสรรพคุณ เป็นยาบำรุงร่างกาย บำรุงกำลัง และ แก้ไข้พิษ ได้เด็ดขาดนัก ในยุคสมัย ก่อนหมอยาแผนไทยจะเอา “เห็ดกระด้าง” ทั้งต้น ไม่ว่าจะเป็นแบบสดหรือแบบแห้ง กะจำนวนตามต้องการ ผสมสูตรสกัดตามโบราณ แล้วนำมาต้มกับน้ำจนเดือดให้ผู้ที่มีร่างกายอ่อนเพลียจากการทำงานหนักทั้งวัน หรือไม่แข็งแรงเนื่องจากเพิ่งฟื้นจากไข้ สมรรถภาพทางเพศไม่ค่อยจะดี รับประทานทั้งน้ำและเนื้อประจำ จะทำให้ร่างกายแข็งแรง กระชุ่มกระชวยและมีพละกำลังขึ้นได้เหลือเชื่อ และยังใช้ เป็นยาแก้ไข้พิษได้อีกด้วย ในยุคสมัยนั้นนิยมกันแพร่ หลาย ปัจจุบันน้อยคนนักจะรู้ถึงสรรพคุณดังกล่าว ส่วน ใหญ่นิยมปรุงเป็นอาหารรับประทาน เฉพาะถิ่นทางภาคเหนือกับภาคอีสานเท่านั้นโดยทั้งดอกของ “เห็ดกระด้าง” ปรุงเป็นอาหารพื้นเมือง ผศ.ดร.อานนท์ กล่าวอีกว่า เห็ดกระด้าง มีลักษณะหมวกเห็ดเป็นรูปกรวยลึก สีขาวนวลหรือสีน้ำตาลอ่อนอมเทา เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 ซม. เหนียวคล้ายหนัง ขอบงอลง ผิวมีขนสั้นๆ สีน้ำตาล ปลายงอขึ้น ดอกอ่อนมีขอบบางและม้วนงอลง ครีบ สีน้ำตาลอ่อนอมเทา บาง และแคบ เมื่อแห้งจะเหนียว แข็งและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง หรือน้ำตาลอมม่วง ครีบมี ความยาวต่างกัน 5 ขนาด ด้านในยาวขนานเรียวเล็กลงไปติดก้าน ด้านนอกเรียวแคบไปติดขอบหมวก ขอบครีบเป็นจักฟันเลื่อยเล็กๆ มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า แต่จะสากมือเวลาลูบก้าน แข็ง เหนียว สีขาวนวลแล้วเปลี่ยนเป็นสีเข้มขึ้นจนเป็นสีน้ำตาลดำ เนื้อในเห็ดเป็นสีขาวหม่น หรือขาวนวลอมเทา “สปอร์” รูปรีโค้ง สีขาว ขยายพันธุ์ด้วย “สปอร์” เกิดตามขอนไม้ผุที่มีความชื้น มีชื่อเรียกอีกคือ เห็ดกระด้าง เห็ดลม หรือ เห็ดบด มีขายแบบดอกสด ตามแหล่งจำหน่ายพืชผักพื้นบ้านทั่วไป ราคาไม่แพงนัก ซึ่ง “เห็ดลม” ถ้าเก็บใหม่ๆใส่ถุงพลาสติก หรือวางในกระจาด จะมีกลิ่นหอม เฉพาะตัว เวลานั่งใกล้ๆจะได้กลิ่นชัดเจน มีประโยชน์ ต้าน และ ป้องกันมะเร็ง ลดไขมัน และ โคเลสเตอรอลในเลือดช่วยล้างพิษที่สะสมในตับ พิษพวกอนุมูลอิสระอัลฟาท็อกซิลทำให้ตับแข็งแรง สามารถทำงานได้ดีขึ้น ทำให้อารมณ์ดี การสร้างเม็ดเลือดแดงดี และ เพิ่มสมรรถภาพทางเพศ ให้แข็งแรง "คุณหมอแจง สมาพันธ์วิจัยและพัฒนากัญชาเพื่อประโยชน์แพทย์ไทย และ บริษัทฟาร์มสุขใจ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด(มหาชน) จะทำการวิจัยและพัฒนากัญชามาผสมผสานกับเห็ดกระด้าง เป็นอีกสูตรยาตามตำรับยาแพทย์แผนไทย เพื่อนำมารักษาผู้ป่วยโรคชนิดต่าง ๆ และพร้อมที่จะนำยื่นขอเป็นตำรับยา “กัญชาเห็ดกระด้าง” ต่อทางกระทรวงสาธารณสุขอีกต่อไป" ผศ.ดร.อานนท์ กล่าว.