จากฐานข้อมูลทะเบียนสหกรณ์ที่บันทึกไว้ ในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ มีประชาชนจากหลากหลายสาขาอาชีพ รวมกลุ่มกันจัดตั้ง เป็นสหกรณ์ เป็นจำนวนมาก 99 แห่ง และ สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทางการเกษตร มีรายได้จากการขายผลผลิต ปริมาณผลผลิต และ ผลตอบแทนที่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ รวมทั้งราคาผลผลิตทางการเกษตร ไม่แน่นอน ก่อให้เกิดปัญหาการใช้จ่ายอยู่เสมอ จำเป็นต้องกู้ยืมเงิน เพื่อใช้หมุนเวียน เพื่อการทำกินอยู่เสมอ
การแก้ปัญหาความเป็นอยู่ของประชาชน เท่าที่พบ และ มีตัวอย่างความสำเร็จ ของบุคคลจากหลายอาชีพ ผู้ประสบความสำเร็จโดยส่วนใหญ่ มักจะให้ความสำคัญกับการปฎิบัติ ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยยึดหลักทางสายกลาง ดำรงชีพอย่างพอเพียง พร้อมที่จะรับมือกับผลกระทบต่าง ๆ ทั้งที่เกิดมาจากภายนอก และ ภายใน สร้างภูมิคุ้มกันตนเอง ให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยใช้ความรู้ ความเข้าใจ ก้าวเดินไป อย่างมีคุณธรรม
แท้จริงแล้ว คำจำกัดความของ เศรษฐกิจพอเพียง ไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่คือ การดำเนินชีวิตอย่างชาญฉลาด สามารถอยู่ได้อย่างมั่นคง ภายใต้สภาพการณ์ที่มีการแข่งขัน การใช้เทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ และ นวัตกรรมสมัยใหม่ ผ่านการสื่อสารที่รวดเร็ว ดังนั้น เพื่อความอยู่รอดในสภาวะแวดล้อมปัจจุบัน รวมถึงอนาคต จำเป็นต้องมีหลักยึด เพื่อเป็นแนวทาง สร้างความมั่นคงในชีวิต นั่นก็คือ “เศรษฐกิจพอเพียง”
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีคุณค่า ไม่ล้าสมัย ควรนำไปปฎิบัติ เหมาะสำหรับประชาชน ทุกระดับ ทุกสาขาอาชีพ ทั้งในระดับครอบครัว ชุมชน ถึงระดับประเทศ ถือเป็นปัจจัยสำคัญ นำไปสู่ความสำเร็จ ในการพัฒนาและบริหารประเทศ โดยเฉพาะด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ ควรอยู่บนพื้นฐานแห่งความพอเพียง พอประมาณ มีเหตุผล มีสติ รอบคอบ คำนึงถึงการสร้างภูมิคุ้มกัน เพื่อรองรับผลกระทบ หรือ การเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิด ทำการใดต้องใช้ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง มีการวางแผนดำเนินการ ใช้หลักคิด วีธีการจัดการสมัยใหม่ให้เหมาะสม เท่าทันสถานการณ์ ที่สำคัญ หลักพื้นฐานทางด้านจิตใจ ควรสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร ใช้สติ ปัญญา แก้ไขปัญหาทุกอย่างด้วยความรอบคอบ
นายมาโนช ชลอวงษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการบริหารจัดการสหกรณ์ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ กลล่าวว่า สืบเนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 นับเป็นการสูญเสีย ครั้งยิ่งใหญ่ ของปวงชนชาวไทย ประชาชนต่างพากันแสดงความจงรักภักดี และ ความอาลัย ด้วยการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท เพื่อสืบสานพระราชปณิทานอันทรงคุณค่า นำไปใช้เป็นแนวทางหลักในการดำรงชีวิต
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ จึงได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ไปปรับใช้เพื่อแนะนำส่งเสริมและพัฒนาสหกรณ์ โดยรณรงค์และชวนเชิญ สมาชิกสหกรณ์/กลุ่มเกษตรกร รวมทั้ง ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ และ ประชาชนทั่วไป ให้รู้จักวางแผนทางการเงิน สร้างนิสัยรักการออม โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จากการใช้จ่าย หรือ การบริโภคที่เกินพอดี เป็นการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง รู้จักประหยัด ใช้จ่ายเงินอย่างเหมาะสม ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน เริ่มจากการลดรายจ่ายไม่จำเป็น นำมาเก็บออม และนำเงินออมบางส่วนไปแบ่งปันแก่ผู้ด้อยโอกาส หรือ สร้างประโยชน์สุขแก่ชุมชน และ สังคม เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
การดำเนินกิจกรรมนำร่องเพื่อรณรงค์ส่งเสริมการออม เริ่มต้นจาก การกำหนดให้ทุกคน ที่เข้าร่วมโครงการ ฯ ออมเงินอย่างน้อยวันละ 1 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ รวมทั้งสิ้น 200 คน นอกจากนั้น ยังได้ขยายผลไปยัง สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งสิ้น 81 แห่ง และ นัดหมายกันเพื่อเปิดกระปุกออมสิน ในโอกาสการจัดงาน วันสหกรณ์แห่งชาติ เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา ณ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดศรีสะเกษ
ผลการดำเนินกิจกรรมดังกล่าว ปรากฎว่า มีสมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ข้าราชการ พนักงานราชการ และ ลูกจ้างประจำ จำนวน 989 คน ร่วมกันออมเงินเพื่อถวายเป็นพระราชกุศล โดยเงินออมที่รวบรวมได้จะนำไป บริจาคถวายเป็นพระราชกุศล เป็นเงินรวมทั้งสิ้น 88,889 บาท ในเบื้องต้นจะนำเงิน จำนวน 8,000 บาท มอบทุเป็นนการศึกษา แก่เด็กนักเรียนโรงเรียนธรรมรังสี อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และ ส่วนที่เหลือจะได้นำไปมอบแก่ผู้ด้อยโอกาส หรือ สร้างประโยชน์ ให้ชุมชน และ สังคม ต่อไป
ทิพวรรณ:ภาพ
มาโนช:บทความ
เรวัตร:เรียบเรียง




