หมายเหตุ : “สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์” สัมภาษณ์พิเศษ “ศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม” สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรระบบบัญชีรายชื่อพรรคพลังท้องถิ่นไท ถึงความเห็นต่อการจัดสรรงบประมาณ ในร่างพรบ.งบประมาณ ประจำปี 2563 ในกรอบวงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท -การจัดสรรงบประมาณ ในร่างพรบ.งบประมาณ ประจำปี 2563 ในกรอบวงเงิน 3.2 ล้านล้านบาท พบว่ามีการจัดสรรงบประมาณตาม 7 ยุทธศาสตร์ อาทิ ด้านการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางสังคม มากที่สุด กำลังสะท้อนอะไรได้หรือไม่ ใน 7 ยุทธศาสตร์ ตอนนี้ถ้าดูก็จะเห็นว่ายุทธศาสตร์ในการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมจัดสรรงบประมาณไว้เป็นจำนวน 765,000 กว่าล้านบาท ผมคิดว่าน่าจะถูกต้อง เพราะว่าประเทศเรามีปัญหาเรื่องศักยภาพของมนุษย์ ก็ไปรองรับสังคมที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นที่มันมากก็เพราะว่างบส่วนหนึ่งทิ้งไปที่ผู้สูงอายุ ซึ่งก็ถูกต้องเพราะว่าเราจะทำให้คนจำนวนหนึ่งได้มีโอกาส อีกส่วนหนึ่งคือเป็นพวกหลักประกันความเป็นธรรมลดความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมันเป็นปัญหาของสังคมไทยอยู่ เช่น การกระจายการถือคลองที่ดิน การเข้าถึงทรัพยากร หรือการสร้างหลักประกันทางสังคมอะไรพวกนี้ที่จะทำให้ทุกเพศ ทุกช่วงวัย ทุกกลุ่มได้มีโอกาส ซึ่งถ้าดูแบบนี้งบประมาณด้านนี้จากจำนวนงบประมาณทั้งสิ้น 3.2 ล้านล้านบาท ทิ้งไปที่ยุทธศาสตร์สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมถึง 23% กว่า อันดับ 2 จะไปเรื่องยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งด้านนี้ 571,000 กว่าล้าน เป็นอันดับ 2 ก็ประมาณ 17% กว่า ถ้าดูแบบนี้รัฐบาลก็น่าจะให้น้ำหนักสิ่งที่เป็นปัญหาของประเทศ เช่น ความเหลื่อมล้ำ การสร้างโอกาสความเสมอภาค การทำให้คนไทยมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ พัฒนาทรัพยากรในเรื่องของคุณภาพคนในทุกช่วงวัย ตั้งแต่เด็กประถมวัยเด็กวัยเรียนเด็กวัยหนุ่มสาววัยแรงงาน ผมว่ามันไปได้อยู่ ซึ่งก็ถูกต้องในหลักการจัดสรรงบประมาณแบบนี้ 17% + เป็น 23% ก็เกือบครึ่งหนึ่ง 40% ในการจัดสรรงบประมาณ ผมว่ามันคล้ายคลึงกันกับยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์และยุทธศาสตร์สร้างโอกาสทางสังคมของก็คนในสังคมให้น้ำหนักไปตรงนั้นมากเกือบครึ่งหนึ่งคือ 40% -การจัดสรรงบประมาณจำแนกเป็นรายกระทรวง 5 อันดับแรกคือ ศึกษาฯ -มท.-คลัง-กลาโหม -คมนาคม การจัดสรรงบดังกล่าว สะท้อนอะไรได้บ้าง เพราะตอนนี้มีเสียงโจมตีไปที่งบ ก.กลาโหม ถ้ามาดูรายกระทรวง มหาดไทย 289,000 ล้าน ศึกษา 133,000 กว่าล้าน แรงงาน 56,000 กว่าล้าน กระทรวงทรัพยากร 120,000 กว่าล้าน ซึ่งถ้าดูแบบนี้ก็สอดคล้องนะในความเห็นผมเป็นไปตามหลักหรือไปดูกระทรวงพัฒนาสังคมได้ 17,000 กว่าล้าน ซึ่งเขาต้องดูเรื่องของผู้สูงอายุเรื่องของคุณภาพชีวิตคน สตรี เยาวชน คนพิการ เด็กเยาวชน ผู้สูงอายุ ครอบครัว ซึ่งก็โอเค เทรนด์มันไปอย่างนี้ อันนี้เราดูอย่างหยาบๆนะจากงบประมาณที่เราพูดถึง ก็ทำให้ตอบโจทย์ได้บ้างว่ารัฐบาลก็ยังให้น้ำหนักตรงนี้ อย่างไรก็ตามกระทรวงกลาโหมที่มีคนตั้งข้อสังเกตว่าก็ยังมากอยู่เป็น 100,000 กว่าล้าน อันนี้ก็ต้องตอบสังคมว่ามันมีความจำเป็นเรื่องอะไรบ้างก็ต้องไปดูในเรื่องของรายละเอียด ถ้าผมดูกระทรวงกลาโหมมีกิจกรรมอะไรบ้างที่เขาแตกหน่อออกมา ที่มีงบมาก ยกตัวอย่าง เช่น สำนักงานปลัดกลาโหมก็ 6,000 กว่าล้าน กองทัพบก รวมทั้งหมด 52,000 ล้าน กองทัพเรือ 25,000 ล้าน กองทัพอากาศ 29,000 ล้าน กองทัพไทย 10,000 กว่าล้าน สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ 976 ล้าน ให้น้ำหนักไปที่กองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ ล้วนแล้วเกินหมื่นล้านทั้งสิ้น มันจึงออกมาป็น 120,000 กว่าล้าน ซึ่งเขาก็มีการเตรียมพร้อมในหลายเรื่อง ทั้งความพร้อมการเผชิญกับภัยคุกคามเตรียมไว้ 9,000 กว่าล้าน ความมั่นคง 32,000 กว่าล้าน แต่ถ้ามาดูสัดส่วนงบประมาณ ถ้าแยกตามยุทธศาสตร์ คือยุทธศาสตร์เรื่องการเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์กับยุทธศาสตร์ที่พูดเรื่องกับการสร้างโอกาสความเสมอภาคทางสังคม ที่เกี่ยวข้องกับศักยภาพมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาความเสมอภาคเศรษฐกิจฐานราก หรือความเสมอภาคในเรื่องของการถือครองที่ดิน การสร้างหลักประกันในเรื่องของความเหลื่อมล้ำของประชาชน อันนี้ก็ตอบได้ว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสให้กับคนในสังคม เพราะสองยุทธศาสตร์นี้ก็ 40% กว่า -ในส่วนของพรรคพลังท้องถิ่นไท ที่ชูนโยบายการกระจายอำนาจเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มีอะไรที่อยากสะท้อน หรือตั้งข้อสังเกต การจัดสรรงบประมาณส่วนนี้ หรือไม่ อย่างไร ถ้าดูหยาบๆมันก็ไม่มีความเหมาะสม เพราะเห็นว่ารัฐให้ความสำคัญไปที่ท้องถิ่นน้อย ถึงแม้จะเพิ่มขึ้นแต่ก็เพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยมาก คนท้องถิ่นก็อาจจะน้อยใจว่ารัฐบาลไม่ได้ให้ความสำคัญกับท้องถิ่นและก็มีปัญหาอยู่ตลอดกับการทำให้ท้องถิ่นมีรายได้ ให้เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนที่เขาคาดหวังที่จะได้30 หรือ 35% ซึ่งตอนนี้ยังไม่ถึง 30 ยังอยู่แค่ 29% กว่า มันเพิ่มก็จริงแต่เพิ่มเพียงน้อยนิด แต่งบมันกลับไปกองอยู่ที่กรมฯ ไปแฝงอยู่ที่ยุทธศาสตร์ชาติที่เกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิต การเพิ่มศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ แต่ที่ลงท้องถิ่นจริงๆยังไม่เห็น เพราะว่ายุทธศาสตร์ชาติมันเป็นยุทธศาสตร์ที่แฝงอยู่ในกรอบของยุทธศาสตรการสร้างโอกาส และความเสมอภาคของสังคมอยู่ในแผนงานส่งเสริมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้มา 308,275 ล้าน อันนี้ก็เป็นไปตามแผนที่ทำให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณะจากท้องถิ่น และนำไปใช้ตามอำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นในด้านการศึกษาของนักเรียนในท้องถิ่น ด้านสร้างระบบน้ำ ระบบก่อสร้างประปาหมู่บ้าน ถ้าด้านสังคมก็เป็นการจ่ายเบี้ยผู้สูงอายุผู้พิการ ด้านสิ่งแวดล้อมและระบบกำจัดขยะ ระบบบำบัดน้ำเสียและระบบบริหารจัดการ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็อยู่ในงบ 308,275 ล้าน ซึ่งส่วนนี้คืองบประมาณที่ได้กำหนดมาแล้วว่าท้องถิ่นจะต้องไปทำอะไรบ้าง แต่งบในส่วนที่ท้องถิ่นสามารถไปบริหารจัดการเองยังมีน้อยอยู่ โดยเฉพาะงบประมาณที่ท้องถิ่นได้จากการเก็บภาษี รัฐบาลไม่สามารถปล่อยเรื่องภาษีให้ท้องถิ่นสามารถจัดเก็บได้มากขึ้น ทำให้ท้องถิ่นมีรายได้ลดลงเพราะอัตราภาษีมันไม่ได้โต การจัดสรรก็ยังเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ไม่ได้สัดส่วนเพิ่มขึ้น มันเป็นวิธีคิดที่มองว่ารัฐบาลไทยก็ยังรวมศูนย์อำนาจอยู่ที่ส่วนกลางเยอะ และการกระจายอำนาจก็ยังมีน้อยเพราะเงินตั้ง 3.2 ล้านล้าน แต่ท้องถิ่นได้แค่ 300,000 กว่าล้าน และรวมงบอื่นๆแล้วก็ไม่น่าจะเกินเจ็ดแปดแสนล้านซึ่งดูเหมือนมากแต่ไปทำจริงๆก็น้อยเพราะท้องถิ่นมีหลายประเภท เช่น กทม. เมืองพัทยา อบจ.อบต.เทศบาล ซึ่งงานที่ท้องถิ่นทำก็มีเยอะ อันนี้จึงต้องไปดูว่ามันเป็นธรรมหรือไม่เรื่องการจัดสรรงบประมาณ ในส่วนของพรรคก็ต้องไปอธิบายให้ท้องถิ่นว่าทางพรรคก็พยายามผลักดันในหลายเรื่อง เรื่องงบประมาณก็เป็นเรื่องหนึ่งที่อาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่เราคาดหวังมากนักว่าการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นน่าจะได้มากกว่าเดิมการจัดสรรภาษีก็น่าจะได้มากกว่าเดิม การจัดสรรสัดส่วนงบประมาณตัวน่าจะมากกว่าเดิม แต่ที่ได้มาอาจจะได้มากหรือยังไม่เป็นที่พอใจ เราก็เห็นใจรัฐบาลที่เพิ่งทำงาน ก้าวต่อไปที่จะต้องพูดกันก็คือว่ารัฐบาลต้องมีแนวทางที่ชัดเจนในการพัฒนารายได้ของท้องถิ่นให้เห็นเป็นรูปธรรม เช่น การแก้ไขหรือการพัฒนาระบบภาษีของท้องถิ่นที่จัดเก็บ ให้ท้องถิ่นจัดเก็บให้มากขึ้น อาจจะมีกฎหมายรายได้ท้องถิ่น การพัฒนาให้ท้องถิ่นมีการทำกิจกรรมพาณิชย์มากขึ้น เพราะเราไม่มีกิจการพาณิชย์ที่ทำได้ กิจกรรมร่วมทุนหรือวิสาหกิจชุมชนมันต้องมี ต้องให้อำนาจหน้าที่ของท้องถิ่นให้มากขึ้น สุดท้าย ผมยังบอกว่ารัฐเอางานของท้องถิ่นมาทำเยอะ รัฐเอางานของท้องถิ่นมาทำเอง ไม่ได้ปล่อยอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการเ พราะฉะนั้นคุณภาพชีวิตด้วยการสร้างคน สร้างศักยภาพประชาชนหรือกระทั่ง เศรษฐกิจฐานรากที่เราปล่อยเงินลงไปสู่ชุมชนต้องให้ท้องถิ่นเป็นพระเอกได้หรือไม่ เป็นแม่งานที่จะทำให้เกิดความเสมอภาคลดความเหลื่อมล้ำ รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับท้องถิ่นน้อยในการดูแลเรื่องนี้ ผมคิดว่ารัฐบาล คิดผิดถ้ารัฐบาลเอาใจคนท้องถิ่นต้องคิดเรื่องนี้ ให้มากขึ้น แล้วให้ท้องถิ่นช่วยรัฐทำงานแทนรัฐในบางเรื่องตามยุทธศาสตร์ชาติแล้วรัฐจะได้คะแนนจากคนท้องถิ่น และพรรคพลังท้องถิ่นไทเราตั้งใจแบบนั้นในที่ทำงาน -ปัญหาและทางออกในเรื่องงบประมาณของประเทศไทยคืออะไร มันมีงานวิจัยของที่พระปกเกล้าให้อาจารย์นิด้ามาช่วยวิเคราะห์ว่างบประมาณประเทศไทยจัดแบบขาดดุลทุกปีมายาวนาน แต่ว่าศักยภาพในการเพิ่มรายได้ของเราค่อนข้างจะลดลง ประกอบกับโครงสร้างประชากรเราโตในด้านผู้สูงอายุมากขึ้นเป็น 12% และอาจเป็น15% ในอีก 5ปีข้างหน้า จะทำให้เป็นภาระของรัฐเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเห็นได้ว่างบส่วนหนึ่งที่เราพูดถึงเรื่องยุทธศาสตร์ความเสมอภาคเราทิ้งไปที่ผู้สูงอายุหรือโครงการแบบประชานิยมที่เป็นเศรษฐกิจฐานราก เช่น การลดแลกแจกแถม ใช้เงินตรงนั้นไปเยอะ แต่การหารายได้มีน้อย ประเทศเรายังแกะไม่หลุดจากเรื่องพวกนี้ดังนั้นงบขาดดุลจึงต้องมีต่อไป รัฐจึงต้องสร้างเศรษฐกิจให้มันเติบโตในแง่ของการเพิ่มรายได้ของประเทศให้มาก เพราะเราต้องไปเลี้ยงคน 2 ประเภทที่รัฐทำอยู่ คือ การดูแลประชาชนที่เป็นวัยที่ไม่ได้รองรับหลักประกันสุขภาพ เหมือนกับประเทศอื่นๆ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้พิการ เป็นวัยที่เกิน 60 ไปจำนวนมาก ซึ่งก็ไม่ได้เตรียมความพร้อมเรื่องนี้ และเรื่องโครงสร้างประชากรที่เป็นวัยจะต้องจ่ายภาษีมีน้อย วัยทำงานลดลง ทักษะการทำงานของเราก็อ่อนลงไป การเก็บภาษีจากวัยที่ควรเสียภาษีลดน้อยลงและทำให้รายได้ประเทศลดลง ผมจะคิดว่าต้องหามาตรการซึ่งอ้างงานวิจัยที่สถาบันพระปกเกล้าได้ให้อาจารย์ธรรมศาสตร์และจุฬาทำ มาเป็นวิธีพิจารณาและตั้งข้อสังเกตุ แต่ส่วนนึงผมมองว่าวิธีการหารายได้ของรัฐเราไปเพิ่มภาษีบางตัวไหมยอมที่จะต้องให้คนว่าบ้าง คือการพัฒนารัฐต้องยอมให้คนว่าบ้าง ไม่ต้องเอาใจประชาชนมากเกินไป เพราะการพัฒนาเศรษฐกิจทางด้านเศรษฐกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจที่ให้คนใช้จ่ายคล่องตัวแบบโครงการปัจจุบันที่ให้ 1,000 บาท ชิม ช้อป ใช้ ก็ดีในแง่การกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เราก็ใช้เงินไปมาก กับการทำเรื่องพวกนี้ หรือแม้แต่โครงการอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการให้ชุมชนเป็นผู้ดำเนินการโครงการ โครงการธงประชารัฐอะไรต่างๆ ผมคิดว่ามันสอนประชาชนในทางที่ผิด เราต้องให้ประชาชนรู้จักการจัดการตนเองได้และมีความเข้มแข็ง ผมจึงมองว่าวิธีการที่ทำให้ประชาชนเกิดปัญญาไม่ใช่เอาเงินนำหน้า ผมก็เลยใช้สูตรการบริหารงบประมาณของเรามันบริหารแบบใช้เงินนำหน้าให้ปัญญาตามหลัง ผมคิดว่ามันทำให้สภาพของคนลดลง เราต้องทำให้คนจัดการตัวเองหรือมีความเข้มแข็งในตัวที่จะทำให้มีความมั่นคงในชีวิต ซึ่งอันนี้เราต้องสอนเราอย่าไปจับปลาให้เขากิน แต่เราต้องสอนให้เขาจับปลา จะรอแต่ความช่วยเหลือจากรัฐอันที่เห็นที่ทุ่มไปเยอะมันทำนองจับจ่ายใช้สอยง่ายมาก ใช้แล้วไม่ได้ต่อยอด หมดแล้วหมดเลย ผมไปประชุมมามีข้อเสนอแนะน่าสนใจ เช่น เราเก็บภาษีแวตมากขึ้นได้ไหม เก็บตามเพดานของคนที่มีสตางค์ แรกๆอาจจะมาตรฐานทั่วไปที่เป็นอยู่ แต่เป็นเพิ่มแวตของสินค้าฟุ่มเฟือย สินค้าสำหรับดำรงชีวิตประจำวันก็เก็บธรรมดา จะให้คนที่เป็นคนจน หรือคนหาเช้ากินค่ำให้เขาซื้อของที่คุณภาพมาหล่อเลี้ยงชีวิตแล้วจ่ายแวตปกติ แต่ถ้าคนรวยไปซื้อของฟุ่มเฟือยไปซื้อของที่คนรวยไปซื้ออะไรก็ได้อันนี้เก็บแวตสูงขึ้นได้ไหม อันนี้วิธีที่หนึ่งในการหารายได้เพื่อทำให้ดุลลดลงบ้าง หรือไปหามาตรการเก็บภาษีก้าวหน้าของคน เก็บภาษีมรดกเอาคนมีสตางค์ ของคนรวยเก็บภาษีมรดกของคนที่มีทรัพย์สินเยอะภาษีต่างๆ ซึ่งเรื่องเหล่านี้เราทำไม่ได้ รัฐก็เลยมีแต่จ่าย ผมบอกได้เลยการจัดทำงบประมาณแบบเกินดุลทำให้รัฐต้องแบกรับภาระหนี้สินอยู่เหมือนกัน -การไปขึ้นภาษีอาจไม่เป็นผลดีกับรัฐบาลเพราะเสียฐานคะแนน อันนี้ผมถึงบอกว่ารัฐต้องยอมเจ็บบ้าง ผมเห็นแล้วการเมืองนี่มันก็เป็นการเมืองที่ถูกต้องบ้างได้ไหม แต่ไม่ใช่การเมืองเพื่อเอาอกเอาใจ การเมืองเพื่อหาความนิยมรับประทานคะแนนเสียงมากจนเกินไป แต่การเมืองต้องยึดหลักความถูกต้อง ยึดหลักธรรมาภิบาล สร้างความเสมอภาคกันในการจ่ายภาษี ผมได้ยินว่าบางท้องถิ่นไม่สามารถเก็บภาษีได้ 100% เพราะเกรงใจหัวคะแนนที่เป็นนักธุรกิจ เจ้าของโรงแรม เจ้าของกิจการ มีการชี้แจงรายการภาษีไม่ครบถ้วน มีการหมกเม็ดในบางเรื่อง ซึ่งเรื่องดังกล่าวทำให้รัฐต้องเสียโอกาสเสียสร้างรายได้ของประเทศ ซึ่งบางแห่งแจ้งว่าสามารถเก็บภาษีได้ 800 ล้าน แต่เมื่อไปดูแล้วปรากฏว่าโรงแรมก็เยอะ กิจการผลิตก็เยอะ น่าจะเก็บได้สัก 1,200 ล้าน มันหายไปตั้ง 400 ล้าน ถามไปถามมาปรากฏว่าเจ้าของโรงแรมก็มีส่วนอุดหนุนท้องถิ่นอยู่บ้างนายกฯไปมีเอี่ยวอยู่กับกิจการโรงแรมบ้าง มีการแจ้งห้องพักของโรงแรมน้อยกว่าความเป็นจริง นี่ก็เป็นปัญหา