“นั่งรถไฟความเร็วสูงไปปักกิ่ง ตลอดเส้นทางล้วนแต่เป็นทิวทัศน์สวยงาม มันทำให้ความฝันต่อประเทศเกิดของฉันเป็นจริง..”ควบทะยานราวกับสายลม เร็วแปลบปลาบดั่งสายฟ้าแลบ รถไฟเป็นหนึ่งในวิธีการเดินทางที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้โดยสารในจีนตั้งแต่ ปี ค.ศ. 2008 ที่เริ่มมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างเมืองหลวงปักกิ่งไปยังเมืองเทียนจิน จนได้กลายมาเป็นโครงข่ายเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอันมากมายในปัจจุบัน สิบปีมานี้วิถีชีวิตของผู้คนได้เปลี่ยนไปเนื่องด้วยความรวดเร็วและความสะดวกสบายของรถไฟความเร็วสูง สิบปีของรถไฟความเร็วสูง จากศูนย์จนยาวไปถึงครึ่งรอบเส้นศูนย์สูตร จากแรกเริ่มของรถไฟรางเพียง 500 เมตร สู่ โครงข่ายการคมนาคมเส้นทางรถไฟ 8 สายหลักแนวนอน และ 8 สายหลักแนวตั้งประวัติพัฒนาการของการรถไฟจีนเป็นตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการพัฒนาอันมากมายของจีนในช่วงหนึ่งร้อยปี และในทศวรรษที่ผ่านมานี้ การสร้างรถไฟความเร็วสูงที่เริ่มจากศูนย์จนปัจจุบันสามารถวนรบเส้นศูนย์สูตรได้ครึ่งรอบ ได้กลายเป็นหน้าประวัติศาสตร์ที่สำคัญหน้าหนึ่งของจีน ช่วงที่จีนใช้นโยบายการสร้างตนเองให้เข็มแข็ง (Self  Strengthening Movement) 1ในตอนนั้นมีรถไฟรางสายแรกชื่อ รถไฟสายถังซวี(????) ผ่านมาถึงสมัยก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีการปรับปรุงและก่อสร้างทางรถไฟอีกหลายสายสำคัญอาทิรถไฟสายเฉิงอวี๋ว์ (Chengdu-Chongqing Railway) สายเป่าเฉิง (Baoji-Chengdu Railway) สายหลงไห่ (Lanzhou-Lianyungang Railway) สายจิงจิ่ว (Beijing-Jiulong Railway) รวมไปถึงสายชิงจั้ง (Qinghai-Tibet Railway) ซึ่งเป็นเส้นที่ก่อสร้างยากล้วนแสดงให้เห็นถึงพัฒนาการของการรถไฟจีนที่ผ่านช่วงเวลาอันยาวนานและยากเย็นแสนเข็ญ วันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 2008 จีนได้สร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างเมืองหลวงปักกิ่งและเมืองเทียนจีน นับเป็นรถไฟความเร็วสูงรางแรกในสมัยนั้นและนับแต่นั้นมา ประเทศจีนจึงได้ใช้ “การทำอะไรรวดเร็วแบบจีน” (Chinese speed) นำพาให้รถไฟความเร็วสูงของจีนไปสู่ยุคการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด และได้กลายเป็น “นามบัตรใบใหม่ของประเทศ” ที่ทำให้โลกจดจำและรู้จัก สิบปีที่ผ่านมานี้ มีรถไฟสายปักกิ่ง -เทียนจิน ปักกิ่ง - เซี่ยงไฮ้ ฮาร์บิน - ต้าเหลียน ปักกิ่ง - กวางเจา เป็นต้น ทั้งนี้ยังทยอยเปิดอีกหลายโครงข่ายซึ่งแสดงให้เห็นได้ชัดถึงความสำเร็จของรถไฟความเร็วสูงในจีน วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017 จีนได้เปิดใช้รถไฟความเร็วสูงที่มีความยาวที่สุดในโลก จากเมืองปักกิ่งไปยังคุนหมิง ระยะทางรวม 2,760 กิโลเมตร วันที่ 21 กันยายน ในปีเดียวกันนั้น จีนได้เปิดใช้รถไฟเชิงพาณิชย์เส้นทางจากปักกิ่งไปเซี่ยงไฮ้ที่มีความเร็วถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีชื่อว่า ฟู่ซิงฮ่าว ซึ่งเป็นรถไฟเชิงพาณิชย์ที่มีความเร็วที่สุดในโลก ทั้งนี้ยังมีความเร็วสูงกว่ารถไฟชิงคันเซนของญี่ปุ่นและรถไฟTGVของฝรั่งเศสที่เคยมีสถิติบันทึกไว้ที่ 320 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนอกจากนี้ ประเทศจีนยังเป็นประเทศที่สามต่อจากญี่ปุ่นและฝรั่งเศสที่มีผู้โดยสารรถไฟความเร็วสูงสะสมแตะหนึ่งพันล้านเที่ยวซึ่งในปัจจุบันตัวเลขผู้โดยสารของจีนอยู่ที่เกือบหนึ่งพันห้าร้อยล้านเที่ยวต่อปี ในปลายปี ค.ศ. 2017 เส้นทางรถไฟของจีนรวมระยะทางทั้งหมด 127,000 กิโลเมตร ในจำนวนนี้ประกอบไปด้วยเส้นทางของรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ 25,000 กิโลเมตร คิดเป็น 63.3% ของรถไฟความเร็วสูงที่มีอยู่ทั่วโลก หากนำหัวท้ายของความยาวรถไฟมาเชื่อมต่อกันเป็นเส้นเดียว ก็จะสามารถวิ่งได้ยาวกว่าครึ่งหนึ่งของเส้นศูนย์สูตรเลยทีเดียว แต่ความยาวยังคงไม่หยุดเพียงเท่านี้ ตามแผนการแล้ว ในปี ค.ศ.2020 ระยะทางของเครือข่ายรถไฟในจีนจะเพิ่มขึ้นเป็น 150,000 กิโลเมตร ซึ่งจะประกอบด้วยความยาวของเส้นทางรถไฟความเร็วสูง 30,000 กิโลเมตร ครอบคลุมหัวเมืองใหญ่กว่า 80% จากรายงานพบว่า ในปัจจุบันจีน สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย เป็นต้น ได้มีการวิจัยและพัฒนาโมเดลการขนส่งเสมือนจริงทางอากาศ โดยหวังว่าในอนาคตรถไฟความเร็วสูงจะทำลายขีดจำกัดของความเร็วในระบบราง ให้มีความเร็วได้สูงถึง 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วแบบจีนทำให้การเดินทางเปลี่ยนเป็นความเพลิดเพลิน ฟรี Wi-Fi ที่นั่งแสนสบาย ความรวดเร็วที่มากยิ่งขึ้น ... ในเขตพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศจีนรถไฟความเร็วสูงได้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางของผู้โดยสารจำนวนมาก “ตอนนี้มีรถไฟความเร็วสูงฟู่ซิงฮ่าว เพียงสี่ชั่วโมงครึ่งก็สามารถเดินทางจากปักกิ่งไปเซี่ยงไฮ้ได้แล้ว กินข้าวเย็นเสร็จก็ไปขึ้นรถไฟ เวลาเดินทางเหมาะสมดี ทั้งยังมีฟรี Wi-Fiทำให้ไม่น่าเบื่อเวลาอยู่ในรถ” นี่คือความรู้สึกของคุณซุนที่ชมอย่างไม่หยุดปากขณะที่เขาเดินทางจากปักกิ่งไปเซี่ยงไฮ้ด้วยรถไฟความเร็วสูงฟู่ซิงฮ่าว ถ้าวันนี้คุณใช้รถไฟความเร็วสูง เริ่มเดินทางออกจากปักกิ่งตั้งแต่ 7 โมงเช้า คุณสามารถไปกินซาลาเปาที่เทียนจินได้ทันที หรืออาจเป็นอาหารเช้าร้อนๆ สัก 1 มื้อ ถ้าเลือกไปเมืองสือเจียจวง จี่หนาน หรือเจิ้งโจว คุณก็จะได้ลองใช้ชีวิตแบบเร่งรีบของคนในพื้นที่เหล่านั้น ถ้าหากมื้อกลางวันอยากจะลองเปลี่ยนสไตล์อาหาร ลองไปเมืองเจิ้งโจว นานกิง เสิ่นหยาง เซี่ยงไฮ้ อู่ฮั่น ฉางชุน ซีอาน รับรองว่าไม่พลาดของอร่อย ยังมีรถไฟเชื่อมต่อที่กวางเจา เซินเจิ้น ฮ่องกงอีกด้วย อาจกล่าวได้อย่างสบายๆว่า “ย่ำรุ่งจากปักกิ่ง พลบค่ำถึงหาดรีพัลส์ เบย์” นอกจากนี้ การทางรถไฟยังได้พัฒนาระบบการให้บริการผู้โดยสาร อาทิ การสั่งจองอาหารผ่านอินเทอร์เน็ต ระบบนำทางอัจฉริยะ การซื้อตั๋วผ่านมือถือ การเปลี่ยนขบวนรถที่สะดวกขึ้น การเลือกที่นั่งได้เอง ซึ่งล้วนแต่เป็นการบริการรูปแบบใหม่ที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสารในการเดินทาง โครงข่ายรถไฟความเร็วสูง 8 สายหลักแนวนอน และ 8 สายหลักแนวตั้งอันครอบคลุมหัวเมืองใหญ่นี้ ยังรวมไปถึงการบริการที่ดีเยี่ยม ราคาที่ถูกและคุ้มค่า รถไฟความเร็วสูงจะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวพัฒนาไปพร้อมกับเศรษฐกิจตามเส้นทางที่รถไฟนั้นวิ่งผ่าน จากสถิติที่ผ่านมา ในช่วงวันชาติจีน รถไฟสายกวางเจา- ฮ่องกง ที่ได้เปิดใช้งานนั้น ทำให้การค้าปลีกและการท่องเที่ยวในละแวกนั้นคึกคักเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 6 ตุลาคม มีนักท่องเที่ยวที่ไปเที่ยวฮ่องกงกว่า 1,381,000 คน มากกว่าปีที่แล้วถึง 2 เท่าตัว ในจำนวนนี้มีนักท่องเที่ยวกว่า 201,030 ที่เดินทางเข้าฮ่องกงผ่านรถไฟความเร็วสูงสถานีเกาลูนตะวันตก เพราะฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า มีคนจากแผ่นดินใหญ่ถึง 15% เลือกใช้บริการรถไฟความเร็วสูงไปเที่ยวฮ่องกงในช่วงวันชาติจีน ในขณะเดียวกัน รถไฟความเร็วสูงยังสอดคล้องกับนโยบาย One Belt One Road ของจีนที่ต้องการให้ประชากรบนโลกใบนี้รู้สึกถึง “ความฉับไวของจีน” ที่อังการา เมืองหลวงของประเทศตุรกี อุมันกำลังรอรถไฟความเร็วสูงอยู่ที่ชานชาลาของสถานีรถไฟ ด้วยเวลาสั้นเพียงสองชั่วโมงเศษ เขาจึงไม่จำเป็นต้องพกพาสัมภาระใด ๆ อังการาห่างจากอิสตันบูลเมืองหลวงเดิมของตุรกีกว่า 500 กิโลเมตร ระหว่างทางต้องผ่านภูเขาสลับซับซ้อนมากมาย หากว่าขับรถไปต้องใช้เวลาถึง 6-7 ชั่วโมงในปี ค.ศ. 2014 ได้มีการสร้างรถไฟความเร็วสูงผ่านคาบสมุทรอานาโตเลียของประเทศตุรกี มีความยาวของเส้นทางทั้งสิ้น 533 กิโลเมตร โดยส่วนหนึ่งนั้นบริษัทรถไฟจีนได้ช่วยก่อสร้างเป็นระยะทาง 158 กิโลเมตร แม้ว่าจะเป็นเพียงแค่ 1 ใน 3 ของระยะทาง แต่ก็เป็นระยะทางที่เป็นอุโมงค์ใต้ดินรวม 37 แห่ง และสะพานต่างๆ ที่รวมกันยาวกว่า 10 กิโลเมตร การสร้างทางรถไฟในเส้นทางแบบนี้มีความยากเชิงวิศวกรรมสูงมากและต้องการเทคโนโลยีชั้นสูง รถไฟฟ้าความเร็วสูงช่วยยกระดับการเดินทางของผู้คนให้สะดวกสบายขึ้นอย่างมาก ในขณะเดียวกันยังทำให้โครงสร้างพื้นฐานในการคมนาคมเปลี่ยนแปลงไปและดีมากขึ้น ไม่เพียงแต่ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากร แต่ยังสร้างรูปแบบใหม่ทางเศรษฐกิจ กระทรวงคมนาคมจีนและผู้เกี่ยวข้องกล่าวว่า หลายปีมานี้จีนมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะสร้างรถไฟความเร็วสูงอย่างไม่หยุดหย่อน รถไฟความเร็วสูงของจีนจะค่อยๆ ก้าวสู่โลกกว้าง เพื่อคนทั้งโลก บ่มเพาะความรู้ให้กับบุคลากร ปลายเดือนสิงหาคมของปีนี้ จะมีการจัดประชุมความร่วมมือระหว่างจีนและแอฟริกา ในการนี้ประเทศไนจีเรียได้ส่งนักศึกษามาศึกษาดูงานการซ่อมบำรุง ระบบการใช้งานต่างๆ ของรถไฟ ที่บริษัท China Railway Xi'an Group ณ เมืองซีอาน ตามที่ทราบมานั้น ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ประเทศไนจีเรียต้องการใช้เทคโนโลยีการจัดการและระบบการสร้างรถไฟฟ้าให้มีมาตรฐานเหมือนจีน โดยยึดการพัฒนาระบบความเร็วของการคมนาคมโดยรถไฟเป็นแกนหลักในยุคโลกาภิวัตน์ แต่เนื่องจากไนจีเรียขาดบุคลากรที่เชี่ยวชาญทางด้านนี้อย่างมาก จึงกลายเป็นข้อจำกัดของการพัฒนาทางด้านสาธารณูปโภคของประเทศ ปี ค.ศ. 2018 ภายใต้ความช่วยเหลือของการรถไฟจีน ไนจีเรียจึงได้ส่งนักศึกษามา 60 คน โดยแบ่งไปที่มหาวิทยาลัยฉางอันและมหาวิทยาลัยจงหนาน เพื่อเรียนเกี่ยวกับวิศวกรรมโยธาและสาขาเกี่ยวกับการคมนาคมขนส่งโดยเฉพาะ ในอนาคตไนจีเรียจะส่งนักเรียนที่จบชั้นมัธยมและมีผลการเรียนดีมาเรียนที่ประเทศจีน โดยคาดหวังว่าจะได้รับการเรียนรู้ ฝึกฝนในระบบการศึกษาของจีน ช่วยให้ไนจีเรียได้มีบุคลากรที่มีความก้าวหน้าทางวิศวกรรม “ปัจจุบันนี้ ทั่วโลกมีความต้องการระบบรางรถไฟอย่างมาก การพัฒนาบุคลากรด้านรถไฟความเร็วสูงของแต่ละประเทศเป็นเรื่องที่สำคัญ” ซุนหย่งฝู นักวิชาการด้านวิศวกรรมของวิทยาลัยวิศวกรรมแห่งประเทศจีนกล่าว ในอนาคต จีนจะพยายามอย่างถึงที่สุดในการช่วยประเทศต่างๆ พัฒนาผู้เชี่ยวชาญด้านรถไฟความเร็วสูง ผู้เขียน : จื่อ เชียน / ลิ่น จื่อโอว