ย้อนกลับไปเมื่อเป็นช่วงเช้าของเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2018 ประมาณหกโมงเศษ สนามบินนานาชาติกรุงปักกิ่งคราคร่ำไปด้วยผู้คนมากมาย จากภาพที่ผมเห็นทำให้รู้สึกราวกับว่าตนเองกำลังเดินเข้าสู่สถานีรถไฟ ผู้เดินทางเหล่านี้บางคนเดินทางเพื่อไปทำงาน บางคนเดินทางไกลเพื่อไปหาญาติมิตร และบางคนก็เดินทางเพื่อไปท่องเที่ยวส่วนตัว มีทั้งผู้คนที่โดยสารด้วยเที่ยวบินภายในประเทศ และก็มีอีกมากมายที่โดยสารด้วยเที่ยวบินระหว่างประเทศ เมื่อปี ค.ศ. 2017 จำนวนผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินนานาชาติกรุงปักกิ่งมีมากถึง 95.79 ล้านครั้ง มากที่สุดในเอเชีย ซึ่งในปี ค.ศ. 1978 ที่เป็นปีที่จีนเริ่มดำเนินนโยบายเปิดและปฏิรูปประเทศนั้นมีผู้ใช้บริการเพียง 1.03 ล้านครั้งเท่านั้น ความเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการเดินทางและขอบเขตกิจกรรมของผู้คนที่หลากหลายขึ้น ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงผลสำเร็จของการเปิดและปฏิรูปประเทศจีนในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา และถือเป็นผลสรุปของการที่จีนยึดมั่นแนวคิดลัทธิมาร์กในการปฏิรูปประเทศ มุ่งมั่นแสวงหาระบบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์ของจีน และไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจตลาดในแบบสังคมนิยม แนวคิดมาร์กซิสต์เป็นแนวคิดที่ชี้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นคู่มือแนวทางที่ทำให้การเปิดและปฏิรูปประเทศของจีนประสบความสำเร็จ แต่ก่อนที่จะเริ่มเปิดและปฏิรูปประเทศมีบางคนเข้าใจแนวคิดมาร์กซิสต์ว่าเป็นลัทธิที่เน้นคำพร่ำสอนตามตำรา คุ้นชินกับการศึกษาจากการอ่านหนังสือ และเรียนรู้ระบบสังคมนิยมจากบันทึกคำพูดของผู้นำ เช่น คิดว่าระบบสังคมนิยมคือระบบคอมมูนที่มีขนาดใหญ่และทรัพย์สินทุกอย่างต้องเป็นของส่วนรวมเท่านั้น ซึ่งแท้จริงแล้วแนวคิดแบบนี้ต่างจากสภาพความเป็นจริง ติดอยู่กับรูปแบบเกินไป และหลงลืมความสำคัญของการพัฒนากำลังการผลิต ความสำเร็จของการเปิดและปฏิรูปประเทศจีนมีรากฐานมาจากการทำความรู้จักและเข้าใจแนวคิดมาร์กซิสต์อย่างถ้องแท้ เมื่อ ปี ค.ศ. 1978 เกิดการอภิปรายในวงกว้างในจีนเกี่ยวกับความหมายของ มาตรฐานของสัจธรรมŽ ซึ่งท้ายที่สุดได้ข้อสรุปว่า การปฏิบัติจริงคือมาตรฐานเดียวในการพิสูจน์ว่าอะไรคือสัจธรรม ภายหลังจากนั้นในช่วงการเปิดและปฏิรูปประเทศ จีนได้ค่อยๆ ทำความเข้าใจแนวคิดมาร์กซิสต์อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และนำวิธี การหาความจริงจากข้อเท็จจริงŽ (seek truth from facts) มาเป็นแนวคิดหลักในการดำเนินงานต่าง ๆ เช่น เมื่อฤดูหนาวของปี ค.ศ. 1978 ชาวบ้าน 18 คนของหมู่บ้านเสี่ยวกังในตำบลเฟิ่งหยาง มณฑลอันฮุย ได้เสี่ยงชีวิตทำสัญญาลับฉบับหนึ่งที่ระบุว่า จะแบ่งปันที่ดินของหลวงเพื่อทำการเพาะปลูก และจะเก็บผลผลิตส่วนเกินไว้กับครัวเรือน ซึ่งเป็นเรื่องขัดกับนโยบายของรัฐบาลจีนในเวลานั้น ที่กำหนดให้ทุกครัวเรือนต้องส่งผลผลิตทั้งหมดให้รัฐบาล ทั้งนี้ เมื่อปฏิบัติตามสัญญาลับจนถึงปีที่สอง ชาวบ้านได้พบว่าพวกเขาสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้จำนวนมากเท่ากับผลผลิตปี ค.ศ. 1955-1970 รวมกัน นี่เป็นตัวอย่างของการกล้าที่จะท้าทายแนวคิดมาร์กซิสต์และระบบคอมมูนแบบดั้งเดิม ท่านเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นนายช่างใหญ่ผู้ออกแบบการเปิดและปฏิรูปจีน เคยพูดไว้ว่า "ถ้าประเทศหนึ่งทำกิจการใดโดยเริ่มต้นจากตำรา ยึดติดทางความคิดและลุ่มหลงกับความเชื่อ ประเทศนั้นก็จะไม่สามารถก้าวหน้าได้ แรงขับเคลื่อนประเทศก็จะหยุดนิ่ง และทำให้ประเทศและพรรคที่ปกครองล่มสลาย" ดังนั้น จีนจะต้องยึดถือการหาความจริงจากข้อเท็จจริง เลิกทำกิจการต่าง ๆ ตามความเคยชินและยึดติดกับความคิดปัจเจกที่ลำเอียง แต่ควรศึกษาสถานการณ์ใหม่ แก้ไขปัญหาใหม่ ท่านเติ้ง เสี่ยวผิง คาดหวังอย่างมากที่จะพัฒนาเศรษฐกิจจีนให้รุดหน้า โดยเสนอ "ทฤษฏีแมว" ที่มีชื่อเสียง "ไม่ว่าจะเป็นแมวดำหรือแมวขาว ขอให้จับหนูได้ก็ถือว่าเป็นแมวที่ดี" รวมทั้งยังใช้แนวคิด "ไม่ถกเถียง" ซึ่งหมายถึง ไม่ควรถกเถียง แต่ควรลงมือทำจริง ลงไปคลุกคลีในพื้นที่ ยึดถือการปฏิบัติเชิงรูปธรรมเป็นลำดับต้น และเคารพประชาชนพื้นฐาน กล้าที่จะทดลองทำ ซึ่งนี่เป็นความหมายของ "การค้นหาข้อมูลจากข้อเท็จจริง" ต้องนำทฤษฎีมาเชื่อมโยงกับการปฏิบัติงาน ใช้หลัก "การเข้าหาประชาชน" เป็นวิธีการดำเนินงาน ภายหลังจากการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 18 จีนได้เข้าสู่ช่วงการเปิดและปฏิรูปประเทศครั้งใหม่ ซึ่งยึดถือการทำงานตามแนวคิดสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีนยุคใหม่ของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และยังคงยึดถือและพัฒนาแนวคิดมาร์กซิสต์ ท่านสี จิ้นผิง เน้นย้ำว่าต้องศึกษาจิตวิญญาณที่น่าเคารพและแนวคิดที่รุ่งโรจน์ของมาร์ก มีความเข้าใจอย่างถูกต้องต่อระบบความคิดและวิธีปฏิบัติงานของแนวคิดมาร์กซิสต์ โดยเฉพาะระบบความคิดด้านประวัติศาสตร์และนวัตกรรมแบบใหม่ และสามารถพูดได้ว่าประธานาธิบดีสีได้พัฒนาแนวคิดมาร์กซิสต์ไปสู่ขั้นใหม่ในโลกของศตวรรณที่ 21 การเปิดและปฏิรูปประเทศเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงเชิงระบอบ อันนำไปสู่การสร้างระบอบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีน ก่อนหน้าที่จะเปิดและปฏิรูปประเทศ จีนดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจแบบวางแผนจากส่วนกลาง (planned economy) ซึ่งมีลักษณะรวมศูนย์ กล่าวคือ หน่วยการผลิตและปัจเจกชนไม่มีอำนาจในการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจในทุกด้าน พ่อของผู้เขียนเป็นคนงานในโรงงานผลิตวัสดุทนความร้อนในมณฑลซานตง ชนิด ปริมาณ และช่องทางการขายสินค้าล้วนถูกกำหนดจากส่วนกลางทั้งสิ้น หน้าที่เดียวของคนงาน คือ การปฏิบัติตามคำสั่งจากหน่วยงานที่อยู่เหนือกว่า นอกจากนี้ อัตลักษณ์ทางสังคมและรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้คนสมัยนั้นขึ้นอยู่กับสถานะของครอบครัวที่ตนเกิดมา การที่จะเป็นกรรมกรหรือเป็นชาวนาล้วนถูกกำหนดแล้วทั้งสิ้น ยากที่จะเปลี่ยนตามใจชอบ การปฏิรูปประเทศของจีนถือเป็นการค้นหาระบอบที่เหมาะสมกับการพัฒนากำลังการผลิตและความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ตัวอย่างเช่น เมื่อก่อนเกษตรกรเลือกที่จะใช้ระบบการผลิตที่ส่งผลผลิตให้รัฐและเก็บส่วนที่เหลือไว้ใช้บริโภคหรือขายหารายได้ ซึ่งก็สามารถแก้ปัญหาเรื่องอดอยากได้ แต่พอผู้คนท้องอิ่มแล้วก็มักอยากมีเงินทองไว้จับจ่าย อยากซื้อปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ ยาฆ่าแมลง อยากที่จะให้ผ่อนปรนระบบตลาดเพื่อให้สามารถค้าขายได้อย่างอิสระเสรียิ่งขึ้น ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจก็อยากที่จะผลิตสินค้าได้อย่างอิสระขึ้น เช่น อยากใช้ระบบรับเหมาและเข้าตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งความต้องการเหล่านี้ได้ทำให้เกิดระบบธุรกิจที่ทันสมัยในที่สุด ดังนั้นจะเห็นได้ว่า ระบอบสังคมนิยมที่มีเอกลักษณ์แบบจีนถือเป็นระบอบที่สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และยังสร้างโอกาสให้ผู้คนสามารถเปลี่ยนแปลงชะตาชีวิตของตัวเองให้ดีขึ้น การปฏิรูประบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของจีนก็ช่วยส่งเสริมให้คนที่มีศักยภาพสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม และไม่ต้องถูกจำกัดให้ทำงานแบบเดียวไปตลอดชีวิตเหมือนเมื่อก่อน นอกจากนี้ ระบอบในปัจจุบันของจีนยังให้ความสำคัญกับความยุติธรรมและถูกต้อง รัฐบาลจีนได้ใช้ยุทธศาสตร์การขจัดความยากจนอย่างตรงเป้าเพื่อให้คนจนในจีนมีชีวิตที่ดีขึ้น ตามสถิติของธนาคารโลก ระหว่างปี ค.ศ. 1981-2013 ชาวชนบทจีนได้หลุดพ้นจากความยากจนแล้ว 850 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 70 ของคนทั้งโลกที่หลุดพ้นความยากจนในช่วงเวลาดังกล่าว ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2013 เป็นต้นมา มีคนจีนในชนบทหลุดพ้นความยากจนโดยเฉลี่ย 13.7 ล้านคน/ปี ซึ่งจีนได้ตั้งเป้าหมายว่าภายในปี ค.ศ. 2020 คนจนจะหมดไปจากประเทศ และทุกคนจะมีชีวิตที่กินดีอยู่ดี การเปิดและปฏิรูปของจีนมีจุดเริ่มต้นจากความต้องการที่จะปลดปล่อยและพัฒนากำลังการผลิต โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือคือการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างความเจริญรุ่งเรืองร่วมกัน ท่านเติ้ง เสี่ยวผิง เคยพูดไว้ว่า พวกเรายากจนและล้าหลังเกินไป ซึ่งอันที่จริงก็ต้องขอโทษประชาชน (ที่ทำให้เป็นเช่นนี้) พวกเราต้องพัฒนากำลังการผลิต ปรับปรุงคุณภาพชีวิตของประชาชน Ž การเปิดและปฏิรูปประเทศดำเนินมา 40 ปีแล้ว เศรษฐกิจของจีนพัฒนารุดหน้าอย่างมาก ชาวจีนโพ้นทะเลเคยบอกผู้เขียนว่า ทุกปีที่กลับมาจีนมักจะสัมผัสได้อย่างชัดเจนว่ามาตุภูมิของเราเปลี่ยนแปลงและพัฒนาอย่างรวดเร็ว ปี ค.ศ. 1978 จีนมีตัวเลขจีดีพีที่ 3.6787 แสนล้านหยวน แต่เมื่อถึงปี ค.ศ. 2016 ตัวเลขจีดีพีสูงถึง 74 ล้านล้านหยวน ใช้เวลาไม่ถึง 40 ปีก็เติบโตได้มากถึง 202 เท่า และขนาดเศรษฐกิจของจีนก็ทะยานจากลำดับที่ 15 เป็นลำดับที่ 2 ของโลกในปัจจุบัน ประชาชนจีนทั่วไปทุกคนต่างได้รับความสุขจากการเติบโตนี้ ทั้งนี้ ก่อนหน้าที่จะมีการปฏิรูป ผู้คนมักมีความต้องการทางวัตถุในระดับต่ำ แต่ปัจจุบันผู้คนล้วนต้องการที่จะมีชีวิตที่ผาสุก ความต้องการที่เปลี่ยนไปนี้แสดงให้เห็นถึงระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น เมื่อก่อนดัชนี Engel (อัตรารายจ่ายด้านอาหารต่อรายจ่ายทั้งหมด) ของชนบทจีนอยู่ที่ 68% เขตเมืองอยู่ที่ 59% แต่เมื่อถึงปี ค.ศ. 2017 ดัชนีนี้ลดลงเป็น 29.33% ซึ่งสะท้อนว่าผู้คนสามารถใช้เงินจับจ่ายในด้านอื่นมากขึ้น ยกอีกตัวอย่างในอดีต สำหรับครอบครัวของคนทั่วไปในเขตเมืองระดับกลางของจีน หากพวกเขาได้ยินว่าพรุ่งนี้สำนักงานเขตจะมีเนื้อมาขาย คนในครอบครัวอาจจะต้องผลัดกันไปเข้าแถวรอซื้อเนื้อ แต่ในปัจจุบัน หากได้มีโอกาสเดินเข้าซุปเปอร์มาร์เก็ตในจีนก็จะพบว่ามีสินค้าวางขายมากมายเต็มไปหมด ปัญหาที่ผู้คนใส่ใจมิใช่เรื่องการกินให้อิ่มท้องอีกต่อไป แต่กลายเป็นว่าจะทำอย่างไรให้ได้กินอาหารที่อร่อย ดีต่อสุขภาพและมีรสนิยม อีกตัวอย่างเช่น ครอบครัวสมัยก่อนอาจจะพักอาศัยในอาคารเก่า ๆ ที่มีหลายครอบครัวอยู่ด้วยกัน ครอบครัวไหนทำอาหารก็จะได้กลิ่นอย่างทั่วถึง ควันฟุ้งกระจายไปทั่ว ทางเดินระหว่างที่พักมักจะมีของวางระเกะระกะเต็มไปหมด แต่ในปัจจุบัน แทบทุกครอบครัวย้ายไปอยู่ในตึกอาคารที่กว้างขวาง ระบบเครื่องทำความร้อนที่ติดตั้งในแต่ละอาคารทำให้ทุกคนในบ้านรู้สึกสบายเหมือนในฤดูใบ้ไม้ผลิที่อบอุ่น ถึงแม้จะเป็นผู้คนที่อาศัยในชนบทของภาคเหนือของจีนที่อากาศหนาวเย็น ในปัจจุบันก็ไม่ต้องก่อเตาถ่านบรรเทาความหนาวเหมือนในอดีต เพราะว่ามีระบบทำความร้อนจากส่วนกลางติดตั้งในที่พัก คุณภาพชีวิตและสภาพแวดล้อมของประชาชนจีนในปัจจุบันได้รับการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด ระบบการคมนาคมของจีนก็ได้รับการพัฒนาไปมากตลอดช่วง 40 ปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้คนเดินทางไปมาอย่างสะดวกสบายในทุกภูมิภาค โดยในช่วงต้นของการเปิดและปฏิรูปประเทศ ท่านเติ้ง เสี่ยวผิงได้เดินทางเยือนญี่ปุ่นและได้ทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงระบบแม่เหล็กไฟฟ้า ท่านประทับใจจนพูดออกมาว่า รถไฟนี้ราวกับกำลังผลักดันให้เราวิ่งไปข้างหน้า ตอนนี้พวกเราต้องวิ่งไปให้ได้Ž เมื่อก่อนคนจีนมักจะเดินทางโดยรถไฟขบวนสีเขียวซึ่งทำความเร็วได้ไม่กี่สิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง ผ่านไป 40 ปี รถไฟความเร็วสูงที่จีนพัฒนาเองสามารถวิ่งได้ถึง 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางที่รถไฟความเร็วสูงให้บริการทั่วประเทศมากกว่า 2 แสนกิโลเมตร คิดเป็นระยะทางรถไฟ 40% ของทั้งโลก การเดินทางโดยรถไฟในจีนไม่ทำให้คนเบื่อหน่ายอีกต่อไป แต่กลายเป็นวิธีเดินทางที่น่ารื่นรมย์ 40 ปีที่แล้ว อัตราการเข้าถึงโทรศัพท์ของจีนอยู่ที่ 0.38% ต่อ 100 คน ผู้คนทั่วไปมักใช้การส่งจดหมายเป็นหลัก แต่เมื่อเกิดการปฏิรูปประเทศ การติดต่อสื่อสารของผู้คนก็รวดเร็วขึ้น ไม่ต้องใช้โทรศัพท์บ้านหรือสาธารณะอีกต่อไป ปัจจุบันโดยเฉลี่ยแล้วคนจีนมีโทรศัพท์มือถือ 1.2 เครื่องต่อคน และส่วนใหญ่ก็ล้วนแต่เป็น smart phone คุณภาพชีวิตและรูปแบบการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาเหล่านี้ ทำให้คนจีนในปัจจุบันกำลังมีความสุขกับการใช้ชีวิตที่สมบูรณ์ ผู้เขียน : สู่ ปิน (Xu Bin)