เป้าหมายในการออกแบบรถยนต์ให้มีความลู่ลมมากๆ สำหรับความประหยัดที่เพิ่มขึ้น ก็อาจจะต้องชดเชยกับพื้นที่ใช้สอยที่ต้องสูญเสียไปจากความโค้งของตัวรถแต่จริงๆ แล้วความลู่ลมจะเหมาะกับพวกรถสปอร์ตความเร็วสูงมากกว่า ซึ่งต่างจากรถยนต์ใช้งานทั่วๆ ไปที่ไม่ได้ใช้ความเร็ว ตัวถังจะโค้งหรือจะเหลี่ยมก็กินน้ำมันไม่ต่างกันนัก ในประเทศญี่ปุ่นจึงยังมีการผลิตรถยนต์ทรงกล่องออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะเป็นแบบ 2 กล่อง ไม่ได้เป็นกล่องเดียวแบบพวกรถตู้ เนื่องจากใช้พื้นที่ของรถยนต์ได้อย่างเต็มที่รถยนต์สไตล์นี้ที่เห็นกันก็จะมี โตโยต้า บีบี คู่แข่งตัวฉกาจของ นิสสัน คิวป์ อีกรุ่นหนึ่งของค่ายโตโยต้าที่ผลิตออกมาในขนาดตัวถังที่เล็กลง ก็จะเป็นโตโยต้า รูมมี่ และโตโยต้า แท๊งค์ ซึ่งทางค่ายทีเอสแอลได้นำเข้ามาขายในเมืองไทย สำหรับโตโยต้า แท๊งค์ ที่มีโอกาสได้ลองขับในครั้งนี้ ค่ายทีเอสแอลนำเข้ามาขายโดยเปิดราคาสำหรับ 10 คันแรกไว้ที่ 1,790,000 บาท ซึ่งเป็นราคามาตรฐานสำหรับรถยนต์นำเข้าที่ต้องเสียภาษีเยอะหน่อยเสียดายที่ค่ายผู้ผลิตไม่สนใจขึ้นไลน์ประกอบรถยนต์สไตล์นี้ เพราะมองว่าตัวเลขไม่น่าจะทำได้เยอะในเรื่องยอดขาย ซึ่งต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างมาเลเซียที่เห็นได้บ่อยๆ เมื่อบริษัทแม่ไม่ผลิต ทางผู้นำเข้าอิสระอย่างทีเอสแอลจึงเห็นช่องทางสำหรับคนที่ชอบรถไม่เหมือนใคร โดยเฉพาะรถยนต์ทรงกล่องที่นิสสัน คิวป์ เคยขายแบบถล่มทะลายมาแล้วตอนสามารถจดประกอบได้ ตัวถังขนาดเล็กคล่องตัว ตัวถังของแท๊งค์ไม่ได้ใหญ่มาก เป็นรถที่เหมาะกับการใช้งานในเมือง เพราะความกว้างของตัวรถมีแค่ 1,480 มม. โดยมีความยาวอยู่ที่ 2,180 มม สามารถจอดหน้าบ้านที่เป็นทาวเฮาส์ หน้ากว้าง 4 เมตรได้อย่างสบาย ตัวรถจะมีความสูงอยู่ที่ 1,355 มม. เพื่อจะได้ออกแบบห้องโดยสารให้สูงจนไม่รู้สึกอึดอัดได้ ภายนอกมีการเสริมความสวยงามให้กับตัวรถด้วยการเลือกใช้ล้อแม็กซ์ ขนาด 16 นิ้ว ถึงจะเป็นรถเล็ก แต่การออกแบบตัวรถก็ยังคงมีความทันสมัยไม่ต่างจากพวกอัลพาร์ด โดยจะมีส่วนของห้องเครื่องยนต์กับห้องโดยสารแยกออกจากกันอย่างชัดเจน ชุดโคมไฟหน้าจะเป็นแบบมัลติรีเฟล็กซ์ หลอดฮาโลเจนท์ ที่ออกแบบให้มีความโฉบเฉี่ยว สอดรับกับชุดกระจังหน้าพร้อมกันชนขนาดใหญ่ใส่ความเป็นสปอร์ตเข้าไป หลังคาทรงเหลี่ยม ด้านท้ายจะออกแบบให้ตัดตรงพร้อมกับติดไฟท้ายแอลอีดีแบบ 3ดี เอาไว้ ส่วนเสาด้านหลังก็ติดไฟเพิ่มเข้าไปเพื่อความชัดเจนในยามใช้งานสะดวกในการเข้าออกสำหรับผู้โดยสารกับประตูเลื่อนไฟฟ้าทั้งสองด้าน ก็แค่ดึงมือจับประตู ประตูก็จะเลื่อนให้อัตโนมัติและจะเลื่อนปิดเมื่อดึงมือจับประตูอีกครั้ง การล็อคหรือปลดล็อคจะมีปุ่มกดตรงมือจับประตูทางฝั่งคนขับ ทำให้สะดวกในการใช้งานไม่ต้องหยิบรีโมทออกมาจากกระเป๋า เห็นตัวถังเล็กๆ แบบนี้ แต่ห้องโดยสารไม่ได้เล็กตามกับตัวถังทรงเหลี่ยม จึงไม่เสียพื้นที่ด้านบนไป ต่างจากรถหลายๆ รุ่น เมื่อมองจากมิติรถอาจจะดูใหญ่ แต่พอเข้าไปนั่งกลับรู้สึกอึดอัดกว่าเยอะในรถรุ่นนี้จะวางเบาะนั่งไว้แค่ 2 แถว จึงไม่รู้สึกอึดอัดเมื่อมีผู้โดยสารเข้าไปนั่งเต็มคัน โดยสามารถทำการปรับเบาะของแถว 2 แบบ แยกพับได้ 60:40 ได้ แผงคอนโซลมีมิติ เบาะหลังพับแยก เมื่อไม่มีเบาะแถว 3 ติดมาด้านหลังเบาะจึงมีที่เก็บของกว้างๆ ใส่สัมภาระได้เยอะ เมื่อพับเบาะลงมาทำให้สามารถวางจักรยานได้ถึง 3 คัน ได้สบายๆ การออกแบบห้องโดยสารจะเน้นประโยชน์ใช้สอย ทำให้มีช่องวางของต่างๆ มากมายตรงแผงคอนโซล ซึ่งจะออกแบบให้ต่างไปจากรถยนต์ทั่วๆ ไป พร้อมติดตั้งก้านควบคุมครูสคอนโทรลมาให้พร้อม สิ่งที่ขาดไม่ได้คือ เรื่องของความเย็น ที่ต้องกระจายอย่างทั่วถึงทั้งคัน แท๊งค์ จึงเลือกระบบปรับอากาศแบบอัตโนมัติมาใช้งาน พร้อมหน้าจอขนาด 4.2 นิ้ว ที่เป็นหน้าจอ ทีเอฟที แบบมัลติฟังก์ชั่นมาใช้งานด้วย เบาะสูงวางบนพื้นเรียบ เหลือไว้ให้เป็นพื้นที่เก็บของ สำหรับเครื่องยนต์ที่วางในรุ่นนี้ จะเป็นขนาด 1.0 ลิตร เท่านั้นเอง แต่จะเป็นเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ที่มีเทอร์โบ พ่วงเข้ามาด้วยกำลังที่ส่งออกมาจึงมีมากถึง 98 แรงม้า ที่ 6,000 รอบต่อนาที พร้อมแรงบิดสูงสุด 140 นิวตัน-เมตร ที่ 2,400 – 4,000 รอบต่อนาทีระบบส่งกำลังจะเป็นเกียร์ ซีวีที ตามสมัยนิยม แต่เป็นเกียร์ที่ส่งกำลังได้ไม่ต่างจากพวกออโตเฟือง รอบเครื่องยนต์กับความเร็วขึ้นสัมพันธ์กัน ไม่วืดมาแต่รอบแบบพวกเกียร์ซีวีทีรุ่นเก่า ลองใช้ความเร็วคงที่ระดับ 90 กม./ชม. ดูตัวเลขอัตราสิ้นเปลืองขึ้นไปถึง 19.2 กม./ชม. ส่วนการใช้งานทั่วๆ ไป ทำได้เกิน 15 กม./ชม. ที่ชอบคืออัตราเร่งทำได้ดี ไม่แพ้เครื่องยนต์ 1.5 ลิตร จึงเป็นรถที่เหมาะทั้งการใช้งานในเมืองและเดินทางไกลได้อย่างสบาย เครื่องยนต์กำลังไม่ต่างจากพวก1.5 ลิตร